สมศ. รับนโยบาย รมว.ศธ. มุ่งเป้า สถานศึกษาขนาดเล็ก-ห่างไกล-ขยายโอกาส ยกระดับคุณภาพการศึกษา ทั่วถึงและเท่าเทียม

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. ขานรับนโยบาย รมว.ศธ. เร่งเดินหน้าประเมินคุณภาพสถานศึกษา มุ่งยกระดับคุณภาพสถานศึกษาขนาดเล็ก สถานศึกษาในพื้นที่ห่างไกล และโรงเรียนขยายโอกาส เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ยึดหลักการทำงาน ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด” พร้อมตั้งเป้าประเมินคุณภาพภายนอกปี 2567 รวมกว่า 4,22แห่ง ย้ำการประเมินไม่มุ่งเน้นตัดสิน แต่นำไปสู่การยกระดับและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของชาติ

ดร.นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เข้าตรวจเยี่ยม สมศ. พร้อมมอบนโยบายและให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานในการดำเนินงานด้านการประเมินคุณภาพสถานศึกษาในปี 2567 โดยให้ สมศ. ดำเนินการประเมินคุณภาพภายนอกเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นไปที่การประเมินคุณภาพภายนอกให้กับสถานศึกษาขนาดเล็ก สถานศึกษาในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงโรงเรียนขยายโอกาส โดยต้องกำหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มสถานศึกษาแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและสามารถนำไปใช้พัฒนาได้จริง โดย สมศ.ต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อคัดกรองและประสานรายชื่อกลุ่มสถานศึกษาที่ต้องเร่งพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาภายในปีงบประมาณ 2567

พร้อมกันนี้ รมว.ศธ. ยังได้มอบนโยบายการดำเนินงานภายใต้แนวคิด ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด”  โดย ถูกต้อง คือ ถูกต้องตามแนวนโยบายการศึกษา  รวดเร็ว คือ การดำเนินงานในการประเมินที่ว่องไวทันโลก ทันเหตุการณ์ ประโยชน์ คือ การประเมินที่ต้องเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน สถานศึกษา สังคม  องค์กรและประเทศชาติ ประหยัด คือ การใช้ทรัพยากรและงบประมาณในการประเมินให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่า

“สถานศึกษาขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาสมีลักษณะคล้ายคลึงกันตรงที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและถิ่นทุรกันดาร ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม จึงจำเป็นต้องเร่งประเมินคุณภาพการศึกษาในกลุ่มสถานศึกษาดังกล่าว ซึ่งการประเมินจะทำให้สถานศึกษาทราบถึงจุดเด่น จุดที่ควรปรับปรุง ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษา ทำให้สถานศึกษาสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นได้  อันจะส่งผลให้ระบบการศึกษาไทยมีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นในภาพรวม”

ดร.นันทา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สมศ.ยังคงเร่งเดินหน้าประเมินคุณภาพภายนอกอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าประเมินคุณภาพภายนอกให้กับสถานศึกษากว่า 4,22แห่ง โดย สมศ. ได้ร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดในการพัฒนากรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก และยังคงยึดหลักในการใช้เกณฑ์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาประเภทต่างๆ ใช้ระยะเวลาประเมิน 1  วัน โดยสถานศึกษาแต่ละแห่งจะได้รับการประเมินด้วยจำนวนวันที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทของสถานศึกษา รวมทั้งมีการประเมินแบบ Hybrid  ทั้ง Virtual Visit และ Onsite Visit เพื่อลดภาระของสถานศึกษา นอกจากนั้นวิธีการประเมิน สมศ.ยังคงเน้นการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนในการประเมินตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ มีการพัฒนาศักยภาพผู้ประเมินภายนอกเกี่ยวกับสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) ควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายนอกให้กับสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่ สมศ.เน้นย้ำและให้ความสำคัญที่สุด คือ การส่งเสริมให้สถานศึกษานำผลการประเมินไปปรับใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้ดียิ่งขึ้น โดย สมศ.จะเริ่มเข้าประเมินสถานศึกษาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

“สิ่งที่ สมศ. มุ่งเน้นให้ความสำคัญ คือการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่สถานศึกษาในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความพร้อมก่อนรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยการประเมินในรอบปี 2567- 2571 จะไม่ใช่การประเมินเพื่อตัดสินว่าได้หรือตก แต่เป็นการประเมินเพื่อสะท้อนสภาพความเป็นจริงของสถานศึกษา พร้อมให้ข้อเสนอแนะที่เกิดประโยชน์และสถานศึกษานำไปใช้ได้จริง อีกทั้งมีการติดตามให้สถานศึกษานำผลการประเมินไปใช้ เพื่อเป็นการยกระดับและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของชาติต่อไป” ดร.นันทา กล่าวปิดท้าย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *