มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ก้าวสู่ทศวรรษที่ 7

เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗

ทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดงานแถลงข่าว ก้าวสู่ทศวรรษที่ 7 ด้วยการเป็น AI – UTCC ภายใต้หัวข้อเสวนา “ AI กับ อนาคตการศึกษา และ การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ” สถานที่จัดงาน ณ UTCC EVENT LAB ห้องปฏิบัติการ สาขาวิชาการจัดการอีเว้นท์ อาคาร 23 ชั้น 7

บรรยากาศภายในงาน เต็มไปด้วยนิสิตนักศึกษา คณาจารย์ที่เกี่ยวข้องของทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ เหล่าสื่อมวลชน พิธีกรขึ้นพูดกล่าวต้อนรับทุกๆท่าน ก่อนกราบเรียนเชิญ ท่าน รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ขึ้นเวทีกล่าวเปิดงาน “ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ก้าวสู่ทศวรรษที่ 7 ด้วยการเป็น AI – UTCC ”

AI กับ อนาคตการศึกษา และ การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย โดย ท่าน รศ.ดร. ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการผลิตนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการ ส่งเสริม Lifelong Learning ขณะนี้ประเทศเข้าสู่ยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม มีการนำ AI เข้ามาใช้ระบบงาน และ เป็นเทรนด์ของโลกที่มีพลัง อย่างการส่งงานนักศึกษาก็ใช้ ChatGPT ดังนั้น ทางมหาลัยต้องเปิดกว้าง ผลิตบุคลากรที่แตกต่างจากเดิม และ นักศึกษาต้องมีทักษะ AI ด้านดิจิทัล

รศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวต่อไปว่า ปีนี้ ม.หอการค้าไทยก้าวสู่ทศวรรษที่ 7 โดยการเป็น AI – UTCC เพื่อมีคุณภาพทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก ในการขับเคลื่อนก้าวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัย AI ได้ร่วมมือกับบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในการจัดการเกี่ยวกับข้อมูล และ การใช้ระบบดิจิทัล

มหาวิทยาลัยยกระดับประสบการณ์การเรียนการสอน โดยใช้ AI อย่างการจัดทำห้อง Hyflex Classroom (Smart Classroom) จำนวน 15 ห้อง และ ขยายให้ครบ 50 ห้อง เพื่อนักศึกษาใช้ในการเรียนรู้อย่างเต็มรูปแบบ AI แจก IPad พร้อมแพลตฟอร์ม AI อยู่ที่ไหนก็สามารถเรียนได้ โปรแกรม Canva Pro มาพร้อมฟีเจอร์ AI (Magic Design) ฟรีสำหรับนักศึกษา

โปรแกรม AI UTCC Engine AI พัฒนาขึ้นโดยทีมงาน ม.หอการค้าไทย สามารถเตรียมพร้อมการสอบสัมภาษณ์ และ รับคำแนะนำจาก AI ระบบมีการจัดทำทรานสคริปต์แบบเรียลไทม์ ยังมีการจัดทำ Skill Transcript และ Soft Skill Transcript คาดว่าพัฒนาระบบแล้วเสร็จก่อนนำไปใช้เต็มรูปแบบในเดือนสิงหาคม 2567 นี้ นักศึกษาหอการค้าไทยจะได้ทรานสคริปต์ ทั้ง 3 ประเภท

การจะเป็น AI – UTCC ได้นั้น ต้องทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาท พัฒนาเรื่องของระบบการจัดการข้อมูล ระบบดิจิทัลร่วมกับบริษัท ไมโครซอฟท์ มหาวิทยาลัยต้องมีการอบรม การเทรนทดสอบเครื่องมือ และ ฝึกปฏิบัติกับอาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสร้างประสบการณ์การให้บริการนักศึกษาทุกคณะทุกหลักสูตร

โดย นาย ปรเมศ ส่งแสงเติม รองอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญ ต่อการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการเรียนการสอนระบบ Hybrid Learning System ตั้งแต่ปี 2549 จนตอนนี้เป็นก้าวเริ่มต้นของการเป็น AI – UTCC ระบบ AI เข้ามาเป็นผู้ช่วยสอนแก่คณาจารย์ ทำหน้าที่ตอบคำถาม เสมือนเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา รวมถึงนักศึกษาสามารถเรียนแบบไฮบริด และ เข้าไปเรียนในระบบออนไลน์ย้อนหลังได้ ทั้งหมดนี้ก็จะคำนึงเรื่องสิทธิส่วนบุคคล

ขณะที่ ท่าน ผศ.ดร. อิทธิพงษ์ เขมะเพชร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า AI เป็นเหมือน Industry ความท้าทายอย่างหนึ่ง ซึ่งสิ่งสำคัญ คือ กฏระเบียบ เวลาสร้างหลักสูตรอะไรขึ้นมา สิ่งที่พึงต้องปฏิบัติในกฏระเบียบ ในชีวิตประจำวันโทรศัพท์ และ คอมพิวเตอร์ คือ Data ที่นักศึกษาสร้างขึ้นทุกวัน AI คอยประมวลผลทุกๆอย่าง เพื่อแนะนำสินค้า และ บริการที่สอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงนำ Data มาวิเคราะห์นักศึกษาในด้านที่ถนัด และ เหมาะสมต่อนักศึกษา แต่ทุกกระบวนการขั้นตอนต้องได้รับการอนุมัติยินยอมจากนักศึกษาก่อนทุกครั้งเสมอ

ทางด้าน ดร. มณิสรา บารมีชัย คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า , สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ และ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ เริ่มมีการเพิ่มวิชาเรียน AI ให้นักศึกษา เพื่อช่วยในเรื่องการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ซึ่งนักศึกษาสามารถพัฒนานำไปปรับใช้สถานประกอบการได้ โดยมีวิชาฐานบังคับทั้งหมด 3 วิชา คือ AI , Data Analysis และ IOT ช่วยให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น AI อาจถูกมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ในความเป็นจริงกลับเป็นเรื่องใกล้ตัวที่นักศึกษาทุกคณะทุกหลักสูตรสามารถเรียนเกี่ยวกับ AI ได้ทั้งนั้น

ปิดท้ายที่ ท่าน อ.ดร. ชัชชัย หวังวิวัฒนา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศกล่าวว่า AI เป็นเรื่องของวิศวกรรมศาสตร์ และ นักวิทยาศาสตร์ ซึ่งจริงๆเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ในยุคดิจิทัล ทุกภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม องค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ต่างมีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น นักศึกษาทุกคณะ ทุกหลักสูตร ต้องมีทักษะ AI เพราะ จำเป็นกับทุกสาขาวิชา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจึงไม่ได้เป็นเพียงผู้ประกอบการ ทำธุรกิจเป็น แต่มีทักษะ AI ดิจิทัลที่สามารถทำงานได้จริง

 

กิจกรรมช่วงท้ายของงาน

การบรรยาย หัวข้อ “ การสาธิตใช้ Bot ในการสอนเขียนโปรแกรม ”

โดย ท่าน ผศ.ดร.สิรินดา พละหาญ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า สิ่งที่ทุกๆคนมักประสบพบเจอ คือ ปัญหาการเขียนโปรแกรมผิดพลาด ทำให้นักศึกษาหลายคนไม่อยากเรียนวิชานี้ ซึ่งการหาคอร์สออนไลน์ให้นักศึกษาไปเรียนเอง ทำความเข้าใจด้วยตัวเอง เช่น หลักสูตรออนไลน์ Coursera อาศัยการทบทวนจากผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินโปรแกรม แชทบอทการเขียนโปรแกรมจำนวนมากขาดคุณสมบัติการประเมินโค้ด เราจึงมี PythonPal เป็นครูสอนเขียนโปรแกรมส่วนบุคคลบนแอป Line เสนอการสนทนาแบบมนุษย์ ข้อเสนอแนะแบบเรียลไทม์ และ เป็นส่วนตัวในการส่ง เมื่อแชทบอทพัฒนาจะมีการนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอน Course Integrations 3 รายวิชา คือ

  1. GE154 การคิดเชิงนวัตกรรมทาบดิจิทัลเพื่อธุรกิจ
  2. ST165 การคิดและแก้ปัญหาเชิงตรรกะ
  3. SP108 การโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

พี่ซัน และ พี่เฟิร์น นิสิต 2 คน ตัวแทนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะบริหารธุรกิจ ที่เคยเรียนวิชาเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ ที่ออกแบบสำหรับตัว AI Bot Persona ใช้สำหรับการฝึกภาษาอังกฤษ ออกแบบเขาให้เป็นบาริสต้าอยู่ในร้านกาแฟ เพื่อให้นักศึกษากล้าเข้าไปฝึกพูดคุยสนทนา ได้ 24 ชั่วโมง สามารถฟังซ้ำได้

การบรรยาย หัวข้อ  “ การนำเสนอการใช้ AI Innovation Use Case ในอุตสาหกรรมต่างๆ ”

โดย ท่าน อ.ดร. เดวิด มกรพงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยผู้ประกอบการ กล่าวว่า ผลงานการสร้าง AI ในอุตสาหกรรมของประเทศไทย ใช้ AI การทำ Social Listening ป้องกันผู้กระทำผิดซ้ำจากคดียาเสพติด AI Monitoring เสริมการตรวจจับการเข้าถึงยาเสพติดทางออนไลน์ โปรแกรมโซเชียลที่สร้างได้นำไปใช้ธุรกิจส่วนตัวขายอาหารเสริม Anti-inflammation นอกจากนี้เราทำ Training to support Adoption การจัดกลุ่มที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค เช่น Senovate AI – Market FIT

อีกทั้งมีผลงานจากนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจกับคณะวิศวกรรม ปี 2 สามารถสร้างถุงมือทุเรียน เพื่อวัดความสุก และ ดิบ นำมาประเมิน ซึ่งถูกนำเข้าแข่งขันนานาชาติๆ ประเทศมาเลเซีย ผลงานจากตัวแทนทีมชาติไทย อีกกลุ่มนึง สร้างไม้เท้าแจ้งเตือนการล้มและส่งสัญญาช่วยเหลือสำหรับผู้สูงอายุ และ การสร้างภาพด้วยการเขียน Code ขึ้นเอง ชื่อภาพนามธรรมของการเติบโตเป็นวัยรุ่น และ ธรรมชาติเบื้องลึกของจิตใจมนุษย์ ใช้ระยะเวลา 3 อาทิตย์ การสร้างชิ้นงานนี้ขึ้นมา

การบรรยาย หัวข้อ “ การนำเสนอตัวอย่าง Short Courses ที่เกี่ยวข้องกับ AI ”

โดย ท่าน ผศ.ดร.มยุรี ศรีกุลวงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า หลักสูตรระยะสั้น Smart Companies Win Big with AI มีทั้งหมด 10 หลักสูตร โดยมีหลักสูตรใหม่ 2 ประเภท คือ Generative AI Fundamentals for Business และ Application Development and Data Analytic with Copilot เข้ามาเพิ่มในการเรียนการสอนของหลักสูตรในคณะต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับ AI

 

ผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดหลักสูตรต่างๆ ได้ที่ ม.หอการค้าไทย

โทร : 02-697-6767

เว็บไซต์ : https://www.utcc.ac.th/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *