มจธ. เร่งพัฒนา “เทคโนโลยีสู่สังคมสำหรับทุกคน (Technology for Inclusive Society)” สุดล้ำ เดินหน้าสร้างความเท่าเทียมเพื่อทุกคนในสังคม

จะดีแค่ไหนหากคนพิการสามารถทำงานเหมือนคนปกติ ตัวอยู่ที่บ้านแต่สามารถบังคับหุ่นยนต์ (Avatar) ที่เปรียบเสมือนร่างกายทำงานแทนได้จากระยะไกล คงเป็นเหมือนภาพฝันที่ไม่น่าเป็นไปได้ แต่ปัจจุบันเรื่องนี้กำลังเกิดขึ้นจริงแล้วที่สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม เจริญเสียง รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการ มจธ. และอดีตผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) กล่าวว่าจากสถิติประชากรในปี 2566 ประเทศไทยมีประชากรกว่า 66 ล้านคน ในจำนวนนั้นมีคนพิการอยู่ถึง 2,180,178 คน เป็นคนพิการที่อยู่ในวัยทำงานอายุ 15 – 59 ปี จำนวน 857,117 คน แต่มีคนพิการเพียงร้อยละ 36 หรือ 311,259…
ข้อมูลสถิติการสมัครสอบ A-Level #TCAS67

ข้อมูลสถิติการสมัครสอบ A-Level #TCAS67

ข้อมูลสถิติการสมัครสอบ A-Level #TCAS67 . จำนวนผู้สมัครสอบ 187,342 คน ชีววิทยา 96,754 คน ฟิสิกส์ 103,810 คน ภาษาไทย 160,955 คน สังคมศึกษา 156,197 คน คณิตศาสตร์ประยุกต์ 146,413 คน คณิตศาสตร์ประยุกต์2 110,932 คน ภาษาอังกฤษ 179,287 คน เคมี 99,017 คน วิทยาศาสตร์ประยุกต์…

ศิลปศาสตร์ ม.รังสิต จัดการประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น

สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ The Komaru-Koutsu Foundation และ Fukuyama City University จัดการประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น ครั้งที่ 1 ในวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12.30 – 17.30 น. ณ ห้องออดิทอเรียม 11-101 อาคารรัตนคุณากร (อาคาร 11) มหาวิทยาลัยรังสิต สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ https://www.facebook.com/RSUJPN

อักษร เอ็ดดูเคชั่น ตอบรับนโยบาย สพฐ. มุ่งสร้างห้องเรียนแบบ Active Learning สู่สมรรถนะ ชวนครูร่วมแบ่งปันแผนการสอนในโครงการ “ร่วมแชร์ 100 แผนฯ สร้างแรงบันดาลใจ”

อักษร เอ็ดดูเคชั่น ผู้นำด้านนวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้เพื่อทักษะผู้เรียนแห่งโลกยุคใหม่  สอดรับนโยบาย สพฐ. และเล็งเห็นถึงความสำคัญในการใช้แผนการสอนที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับธรรมชาตวิชารวมถึงบริบทของผู้เรียน ริเริ่มโครงการแบ่งปันการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สู่สมรรถนะ ในหัวข้อ “ร่วมแชร์ 100 แผนฯ สร้างแรงบันดาลใจ” ชวนครูทุกสังกัดทั่วประเทศส่งแผนการสอนเพื่อร่วมคัดเลือกตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด Active Learning หรือ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ถือเป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นไปที่ “กระบวนการเรียนรู้” มากกว่า “เนื้อหาวิชา” เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นได้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง โดยมีวิธีการเรียนการสอนที่หลากหลาย โครงการ “ร่วมแชร์ 100 แผนฯ สร้างแรงบันดาลใจ”…

เปิด 5 สาขา บัณฑิตราชมงคลพระนคร รับเงินเดือนสูงกว่าค่าเฉลี่ย

ดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ราชมงคลพระนคร) กล่าวว่า ในทุก ๆ ปี จะมีแรงงานจากนักศึกษาจบใหม่ทยอยเข้าสู่ระบบการทำงานจำนวนมาก  แต่หากกลับไปดูตัวเลขของแรงงานเด็กจบใหม่ที่ยังหางานไม่ได้ก่อนหน้านี้ยังเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลจากสำนักสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) ปี 2566 รายงานจำนวนผู้ว่างงานกว่า 4 แสนคน ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้งด้านเศรษฐกิจที่ยังผันผวนทั่วโลก โดยเฉพาะการส่งออกที่ชะลอตัว แต่ปัจจัยบวกจากการท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้นการหางานของเด็กจบใหม่ยังคงต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูง ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในฐานะผู้ผลิตบัณฑิตแห่งอนาคตจึงต้องหมั่นพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการทำงานให้กับนักศึกษาทุกระดับ ทั้งในห้องเรียนและเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับภาคอุตสาหกรรมชั้นนำระดับประเทศ ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและได้ลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลให้เมื่อจบการศึกษาสามารถมีงานทำทันที สะท้อนได้จากข้อมูลการสำรวจภาวะการมีงานทำของนักศึกษาราชมงคลพระนคร ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา…

อธิการบดี มศว ชื่นชม โขนเด็ก รามเกียรติ์ ชุดศึกอินทรชิต สืบสานมรดกชาติ

   โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายประถม) และ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ร่วมกับ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จัดการแสดงโขนเด็กรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นการแสดงประจำปีของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายประถม) ปี 2567 นี้นับเป็นปีที่ 42 โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมได้ร่วมกับทางโรงเรียนฯ และ สมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายประถม) จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 รอบที่ 1 และ 2 โดยมี…

Kitblox สนามเด็กเล่นที่สร้างสรรค์โดยเด็ก

Kitblox สนามเด็กเล่นที่สร้างสรรค์โดยเด็ก สนามเด็กเล่นตามใจจินตนาการกับ Kitblox ตัวต่อของเล่นที่ให้เด็กๆ ได้เล่นสนุก ออกแบบและสร้างสรรค์สนามเด็กเล่นด้วยตัวพวกเขาเอง ไอเดียเจ้าของผลงานโดย ญารินดา บุนนาค และทีมบริษัทออกแบบ Imaginary Objects ที่ต้องการให้ของเล่นชิ้นนี้เป็นหนึ่งในการเสริมสร้างพัฒนาการและทักษะผ่านการเล่นแบบ Unstructured Play ร่วมปันความสุขให้เด็กๆ ได้สร้างสนามของเล่นที่ถูกใจตัวเองได้ที่ Facebook: Kitblox หรือ www.kitblox.net

อธิการบดีใหม่ ม.กรุงเทพ พร้อมนำมหาวิทยาลัยก้าวสู่ยุคใหม่ เน้นกลยุทธ์การปรับตัวบวกความคิดสร้างสรรค์ ปั้นโซลูชั่นสู่การเป็นผู้นำในโลกการศึกษา

“ภูรัตน์ โอสถานุเคราะห์” นั่งเก้าอี้อธิการบดี ม.กรุงเทพ คนล่าสุด ประกาศจุดยืนนำมหาวิทยาลัยเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลักดันศักยภาพมหาวิทยาลัยสู่การเป็นผู้นำในโลกการศึกษา เน้นให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนอย่างคล่องตัวกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์เพื่อปั้นโซลูชั่นใหม่ ๆ แบบไร้ขีดจำกัด นายภูรัตน์ โอสถานุเคราะห์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อย่างเป็นทางการภายหลังร่วมงานกับมหาวิทยาลัยมาเป็นเวลากว่าห้าปี ขณะนี้พร้อมแล้วที่จะนำพามหาวิทยาลัยก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเรียนการสอน โดยยังคงชูเรื่องความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็น DNA ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มาใช้เป็นรากฐานในการบริหารจัดการ การแก้ไขปัญหา และการออกแบบเชิงโครงสร้างต่าง ๆ ในทุกมิติ เพื่อค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ที่ดีและเหมาะสมที่สุด โดยจะนำจุดเด่นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานเข้ากับกลยุทธ์การสร้างความยืดหยุ่นปรับตัวให้ไวเพื่อสร้างโซลูชั่นใหม่…

สสวท. ชวนใช้อีบุ๊ก “DNA Technology การสร้างต้นกุหลาบที่ให้ดอกสีน้ำเงิน”

พูดถึงวันแห่งความรัก หลายคนมักจะนึกถึงดอกกุหลาบ พูดถึงดอกกุหลาบ หลายคนมักจะนึกถึงสีแดง ชมพู หรือสีสันสดใสต่าง ๆ แต่รู้หรือไม่นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนากุหลาบสีน้ำเงินได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีทาง DNA สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดโลกการเรียนรู้ชีววิทยากับ อีบุ๊ก “DNA Technology การสร้างต้นกุหลาบที่ให้ดอกสีน้ำเงิน” สื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่แสดงการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอในการสร้างกุหลาบสีน้ำเงินซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม  โดยแสดงขั้นตอนต่าง ๆ ในการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน พร้อมวีดิทัศน์และแอนิเมชันใช้ประกอบการเรียนรู้ชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คลิกใช้งานที่คลังความรู้ SciMath สสวท. https://www.scimath.org/ebook-biology/item/8203-dna-technology

สาธารณสุขศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง? จบไปทำงานอะไร?

หากจะกล่าวถึงสายงานด้านสุขภาพ หลายคนมักจะนึกถึงอาชีพหมอหรือไม่ก็อาชีพพยาบาลมาเป็นอย่างแรก แต่ก็ยังมีอีกสายงานหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ ‘สายงานด้านสาธารณสุข’ เนื่องจากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโลกเรานั้นต่างก็มีโรคระบาดต่าง ๆ อยู่มากมาย เช่น ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ หรือไม่ก็โรคโควิด-19 ที่เพิ่งระบาดหนักไปเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา และเมื่อมีอาชีพหมอ-พยาบาลที่ทำหน้าที่รักษาคนไข้แล้ว ก็ต้องมีผู้ที่จบด้านสาธารณสุขศาสตร์มาส่งเสริม และป้องกันการเกิดโรคระบาดด้วยเช่นกัน ดังนั้นอาชีพนี้จึงมีความสำคัญต่อสังคมโลกไม่น้อยไปกว่าสองอาชีพที่กล่าวมาข้างต้น   คณะสาธารณสุขศาสตร์คืออะไร คณะสาธารณสุขศาสตร์ (Faculty of Public Health) เป็นคณะที่ว่าด้วยเรื่องการเรียนเกี่ยวกับการดูแล จัดการสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งจะแตกต่างจากการเรียนในสายสุขภาพอื่น ๆ ตรงที่คณะนี้จะเน้นไปที่การดูแลในองค์รวมมากกว่าตัวบุคคล กล่าวคือ…