เปิดหลักสูตรผู้บริหารด้านการแพทย์และสุขภาพ “เวฬา” รุ่นที่ 2

เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๒๕๖๗

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร Lifelong Learning ด้านสุขภาพและการแพทย์ พร้อมเปิดตัวหลักสูตรผู้บริหาร
ด้านการแพทย์และสุขภาพ เวฬา รุ่นที่ 2 หรือ Vitality Enhancement & Longevity Academy (VELA)” Batch 2 เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่สนใจ บุคคลในภาคธุรกิจการบริการด้านสุขภาพ และ การแพทย์ กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และ บุคลากรด้านสาธารณสุข ณ เรือนจุฬานฤมิต

เมื่อปี 2566 เคยจัดงานแถลงข่าว หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการแพทย์และธุรกิจสุขภาพ “เวฬา” (Vitality Enhancement & Longevity Academy – VELA) รุ่นที่ 1 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ณ ห้องประชุมบานเย็น อาคารมหาวชิรุณหิศ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีผู้เข้าอบรม ประมาณ 80 คน มาแล้ว

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี รวมถึงการต่อยอดองค์ความรู้ หรือ การ Up-skill และ Re-skill ทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือกันจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)โดยการเปิดหลักสูตรผู้บริหารด้านการแพทย์และสุขภาพหลักสูตร “Vela รุ่นที่ 2

เตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย ในด้าน Medical Hub และมุ่งผลลัพธ์เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดี ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ด้าน Good Health and Well-being

ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมการเรียนรู้  จากความสำเร็จของหลักสูตร “เวฬา” รุ่นแรกซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง  การลงนามความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขและเปิดตัวหลักสูตร Lifelong Learning ด้านสุขภาพและการแพทย์ หลักสูตร “เวฬา” รุ่นที่ 2 ในครั้งนี้เป็นอีกก้าวสำคัญในการต่อยอดองค์ความรู้ในเรื่องนี้ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์ระดับโลก Medical Hub ของโลก

พญ.นงนุช ภัทรอนันตนพ ผู้ช่วยอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพของคนไทยและมีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาพ การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและบุคลากรในภาคธุรกิจการบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ รวมถึงบุคลากรด้านสาธารณสุขได้เข้าถึงความรู้และเทคโนโลยีล่าสุด

รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย กล่าวว่า บัณฑิตวิทยาลัยได้ดำเนินรูปแบบการเรียนการสอนในระบบการศึกษาตลอดชีวิต ภายใต้โครงการบริการวิชาการ “การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสหวิทยาการ” (CUGS Academy : Lifelong Learning and Interdisciplinary, Graduate School, Chulalongkorn University) การลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการร่วมมือกันจัดการความรู้ พัฒนาหลักสูตร Lifelong Learning ในด้านสุขภาพและการแพทย์

ภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข  มีการเปิดตัวหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการแพทย์และธุรกิจสุขภาพ หลักสูตร “เวฬา” รุ่นที่ 2

 ศ.ดร.สถิรกร พงศ์พานิช ผู้ช่วยอธิการบดีงานด้านกิจการพิเศษ จุฬาฯ ประธานอำนวยการหลักสูตร “เวฬา”  กล่าวว่า หลักสูตรนี้พัฒนาขึ้นสำหรับผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลและการดูแลสุขภาพในระยะยาว เป็นหลักสูตรของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ในโครงการ Lifelong Learning เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต หลักสูตร “เวฬา” 2 จะมีความแตกต่างจากหลักสูตร “เวฬา” 1 ที่ความหลากหลายของเนื้อหาหลักสูตรมากยิ่งขึ้น ในจุฬาฯ  หวังว่าในอนาคตหลักสูตร “เวฬา” จะเป็น Grand Slam ของประเทศไทยที่ช่วยพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต ทำให้สุขภาพของคนไทยดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ผู้ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร “เวฬา” ยังสามารถสะสม Credit ไว้สำหรับต่อยอดเพื่อที่จะศึกษาต่อที่จุฬาฯ ในอนาคตได้

ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านนาโนชีวเวชศาสตร์ จุฬาฯ  ประธานดำเนินการหลักสูตร “เวฬา”  กล่าวว่า “หลักสูตร “เวฬา” มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแพทย์เพื่อการดูแลสุขภาพ รวมถึงเรื่องวิทยาศาสตร์สุขภาพซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว สามารถนำไปใช้ได้จริง มีผลอ้างอิงทางงานวิจัย เมื่อผู้เข้าอบรมนำไปปฏิบัติจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพ และการดูแลร่างกายให้มีสุขภาพที่ดี  เป้าหมายของหลักสูตรนี้ทางจุฬาฯ และ กรมอนามัยมองเห็นร่วมกันว่าการที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีไม่ใช่เรื่องของยาหรืออาหารเสริม แต่เป็นเรื่องของการปรับพฤติกรรม เป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิต (Lifestyle Modification) ให้ดีขึ้นเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต หลักสูตรนี้จัดอบรมระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2567 เฉพาะวันพุธบ่าย รวม 16 ครั้ง

รศ.นพ.ปรีดา วาณิชยเศรษฐกุล แพทย์โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ผู้เข้าอบรมหลักสูตร “เวฬา” รุ่นที่ 1 กล่าวถึง ความประทับใจที่มีต่อหลักสูตรนี้ว่า หลักสูตร “เวฬา” ไม่เพียงแต่เพิ่มความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องสุขภาพของตัวเองแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อคนรอบข้าง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติอีกด้วย ความรู้ทางสุขภาพนั้นเป็นความรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง การเข้าอบรมแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์และผู้เข้าอบรมด้วยกัน  ช่วยตอบคำถามในสิ่งที่อยากรู้

 

ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดหลักสูตรและสมัครเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้บริหารด้านการแพทย์และสุขภาพ “เวฬา (VELA)” รุ่นที่ 2  ได้ที่

เว็บไซต์ : https://lifelong.chula.ac.th/vela

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่

กองนวัตบริการสุขภาวะ กรมอนามัย โทร. 0-2590-4564

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *