EZ Guide! ย้อนรอยห้างขายยาเก่าแก่ย่านเจริญกรุง ณ พิพิธภัณฑ์ห้างขายยาเบอร์ลิน

หากจะกล่าวถึงบริษัทยาชั้นนำในประเทศไทย หนึ่งในนั้นจะต้องมีบริษัทเบอร์ลินฟาร์มาซูติคอลอินดัสตรี้” ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตยามาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ โดยกว่าจะเติบโตมาได้จนถึงขนาดนี้ ทุกคนสงสัยกันไหมว่าที่นี่ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาได้อย่างไร?

Eduzones จะพาย้อนอดีตห้างขายยาเก่าแก่ที่อยู่คู่ถนนเจริญกรุงมาอย่างเนิ่นนาน กับ “พิพิธภัณฑ์ห้างขายยาเบอร์ลินที่สร้างขึ้นในปี 2559 เพื่อระลึกถึงนายแพทย์ชัย ชัยนุวัติ บุคคลสำคัญที่ทำคุณประโยชน์ทางด้านการแพทย์ให้กับสังคมไทย และเป็นผู้ริเริ่ม “ห้างหุ้นส่วนจำกัดขายยาเบอร์ลิน” ที่ขยับขยายมาเป็นบริษัทเบอร์ลินฟาร์มาซูติคอลจนถึงทุกวันนี้

ส่วนจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์

แม้ตัวพิพิธภัณฑ์เองจะไม่ได้มีขนาดที่ใหญ่มากนัก แต่สถานที่แห่งนี้กลับเต็มไปด้วยเรื่องราวอันทรงคุณค่าแก่ความทรงทรงจำ การเล่าเรื่องภายในพิพิธภัณฑ์จะเรียงตามลำดับเวลาตั้งแต่ช่วงขณะที่คุณพ่อได้อพยพมาจากจีน จนสิ้นสุดถึงการมาเป็นบริษัทขายยาในปัจจุบัน

1. ห้องโถงบอกเล่าประวัติความเป็นมา

เมื่อเดินเข้ามาจะพบกับโถงที่บอกเล่าประวัติความเป็นมาของครอบครัวนายแพทย์ชัย ชัยนุวัติ ตั้งแต่ช่วงที่อพยพมาจากกวางโจว

“ตงหยง แซ่ไช่” ชาวจีนแคะจากเมืองกวางโจว เป็นหนึ่งในชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นยุคที่การล่าอาณานิคมกำลังเผยแพร่ไปทั่วโลก และประเทศจีนก็เป็นหนึ่งในประเทศอันดับต้น ๆ ที่ชาวจีนนิยมอพยพออกนอกประเทศเพื่อลี้ภัยทางการเมืองและหนีออกจากสภาวะลำบาก

ของที่จัดแสดงภายในห้องนี้จึงเป็นข้าวของเครื่องใช้ของนายตงหยงที่นำติดตัวมาเมื่อครั้งที่อพยพเข้ามายังประเทศสยาม ไม่ว่าจะเป็น หมอนสูบฝิ่น หีบฝิ่น ตะเกียงน้ำมัน เชิงเทียนโบราณ และตะกร้า

ต่อมานายตงหยงได้ตัดสินใจลงหลักปักฐานและสร้างครอบครัวภายในประเทศไทย แต่ด้วยพื้นฐานของชาวจีนที่ให้ความสำคัญต่อวิชาความรู้ เขาจึงส่งลูก ๆ กลับไปเรียนที่จีน รวมถึงตัวด.ช. ไช่ เย็นเคียง (ชัย ชัยนุวัติ) ก็ส่งไปเรียนที่นครเซี่ยงไฮ้เช่นกัน

เนื่องด้วยสภาวะที่ยากลำบากของครอบครัว และการที่เขาต้องเห็นพี่ชายจากไปด้วยโรคไทฟอยด์ ทำให้เขามุ่งมั่นที่จะเรียนต่อทางด้านการแพทย์ เมื่อเรียนจบก็ได้กลับมาเปิดคลินิกเป็นของตนเอง และพัฒนามาเป็นบริษัทขายยาดังในปัจจัจุบัน

2. คลินิกคุณหมอ

เป็นคลินิกจำลองของนายแพทย์ชัย ไชยนุวัติ โดยคุณหมอจะใช้บริเวณชั้นสองของอาคารเป็นห้องตรวจคนไข้และห้องทำงาน เมื่อตรวจคนไข้เสร็จก็จะให้คนไข้นำใบสั่งยามาที่บริเวณชั้นล่างเพื่อให้ผู้ปรุงยาจ่ายยาให้

ห้องนี้จะจัดแสดงเอกสารด้านการแพทย์ สูตรตำรายาต่าง

รวมไปถึงอุปกรณ์การแพทย์ในสมัยก่อน ได้แก่ กระบอกฉีดยา หม้อใส่สำลี ที่ใส่สำลีใช้แล้ว และกล้องจุลทรรศน์

3. ห้างหุ้นส่วนจำกัดเบอร์ลิน

ด้วยอายุที่มากขึ้น คุณหมอชัยมีความคิดที่จะสร้างฐานะให้ครอบครัว สืบเนื่องจากกิจการคลินิกที่ทำนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับท่านในฐานะการแพทย์ จึงอาจจบไปพร้อมกับตัวท่านเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคงจะเป็นการส่งต่อสูตรปรุงยาที่ท่านใช้รักษาผู้ป่วยมาเป็นเวลาหลายสิบปีให้กับครอบครัว ภายในห้องจะมีสิ่งของจัดแสดง ดังนี้

  • เคาน์เตอร์จ่ายยาและพื้นที่ปรุงยา  ในส่วนของพื้นที่ปรุงยาจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยา เช่น โกร่งบดยา เครื่องชั่งตวงยา และวัตถุดิบในการปรุงยา นอกจากนี้ยังมีวิดีทัศน์แสดงวิธีปรุงยาในสมัยก่อนให้ได้รับชม

  • ตัวอย่างจำลองเครื่องชักรอกรุ่นแรก เป็นเครื่องที่ช่วยเคลื่อนย้ายสิ่งของ ใช้ในช่วงยุคแรกเริ่มของการผลิตยาที่ชั้นบน

  • เครื่องตอกยา: ยี่ห้อ KORSCH เป็นเครื่องตอกยารุ่นแรกที่สามารถผลิตยาออกมาได้ประมาณ 250 เม็ดต่อนาที โดยมีอัตราการตอกที่ต่ำ เหมาะกับธุกิจขายยาช่วงแรก ๆ ของการดำเนินแบบครอบครัว และสามารถปรับเปลี่ยนขนาดเม็ดยาได้ตามที่ขึ้นทะเบียนยาไว้

เวลาเปิด-ปิดทำการ

08:30-16.30 น. (ปิดวันจันทร์)

อัตราค่าเข้าชม

50 บาท (สามารถนำตั๋วที่ได้มาแลกเป็นส่วนลดค่าอาหาร-เครื่องดื่มภายในคาเฟ่ข้างพิพิธภัณฑ์)

สถานที่ตั้ง

359 ถ. เจริญกรุง แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *