สกศ.เผยข้อมูลเด็กไทย ทักษะชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์ แนะปรับการเรียนการสอนก่อนกระทบเศรษฐกิจ

วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗

โดย ท่าน ดร.อรรถพล  สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา (สกส.) ออกมาเปิดเผย ถึงยุคโลกปัจจุบันที่บุคคลรุ่นใหม่ ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์ให้มีทักษะปรับตัวเตรียมความพร้อมสำหรับโลกยุคใหม่

เมื่อวันที่ ๒๑ – ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗  ท่าน ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา ได้เป็นตัวแทนหัวหน้าคณะนำทีมประเทศไทยเข้าร่วมประชุมสุดยอดทักษะ (OECD Skills Summit 2024) ณ พระราชวัง palais des Académies กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งมีประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co – operation and Development: OECD) โดยมีสมาชิกทั้ง 38 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุม

ซึ่งได้ชี้แจงถึงกระบวนพัฒนาการปรับปรุง ทักษะ (Up-skills & Re-skills) ที่จำเป็นสำหรับอนาคต และ มาตรการดำเนินงานของประเทศไทยให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงตามทิศทางที่สำคัญของโลก เช่น ทักษะแรงงานที่ต้องมีสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital transition) และ เศรษฐกิจสีเขียว (Green transition)

นอกจากนี้ Harvard Business Review ระบุว่าบริษัทใหญ่ๆ เช่น Google, Delta Airlines และ Accenture กำลังมีนโยบายรองรับโลกยุคใหม่ด้วยการลบข้อกำหนดด้านการรับปริญญาออกจากประกาศรับสมัครงาน เปลี่ยนมาเน้นการจ้างงานตามทักษะความสามารถของสายอาชีพนั้นๆ สามารถช่วยให้องค์กรเข้าถึงกลุ่ม Talent และ บุคลากรที่มีความสามารถพิเศษเข้ามาร่วมงานอย่างไม่จำกัดเปิดโอกาสให้ผู้คนทุกระดับ ที่มีความสามารถแต่ไม่ได้ผ่านการขัดเกลาจากมหาวิทยาลัย เข้าทำงานในองค์กรชั้นนำได้

ซึ่งข้อมูลสถิติ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) พบว่าแรงงานสร้างสรรค์ทั้งหมดกว่า 1 ล้านคน ประมาณ 68.3% ยังคงเป็นลูกจ้างในองค์กรของรัฐ และ เอกชนทั้งในรูปแบบ Full-time หรือ Part-time ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของฝั่งผู้สมัครงาน โดยผลสำรวจของ Gartner พบว่า 75% ของผู้สมัครงานต้องการทำงานแบบ Remote Work ที่ไม่ต้องเข้ามานั่งทำงานที่ออฟฟิศ หรือ การทำงานแบบไฮบริดที่เข้ามาประชุมทีมงานได้ในบางวัน

ในสถานการณ์ของประเทศไทย จากรายงานการสำรวจทักษะ , ความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน (ASAT) ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๕ ธนาคารโลกร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคและหลายหน่วยงาน พบว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตด้านทักษะ พื้นฐานชีวิตที่ “ตํ่ากว่าเกณฑ์” ไม่มีความสามารถในการอ่านหนังสือขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์ และ การคำนวณอย่างง่ายๆ รวมถึงการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นหรือเปิดรับแนวคิดใหม่ ๆ ทำให้ไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ได้ และส่งผลถึงทักษะในการทำงานและเป็นห่วงโซ่กระทบถึงเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศต่อไป

เมื่อเร็วๆนี้ เลขาธิการสกศ. กล่าวถึง เรื่องการประชุมสภาการศึกษา ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๗ โดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีมติเห็นชอบชุดทักษะที่จำเป็น Essential Skills Set สำหรับเด็ก และ เยาวชนไทย ใน 2 กลุ่มชุดทักษะ ได้แก่ 1) ชุดทักษะขั้นพื้นฐาน (Basics Skills) และ 2) ชุดทักษะขั้นสูง (Advanced Skills Set)

จากนโยบายดังกล่าวเบื้องต้น มีความสำคัญที่จะช่วยแก้ไขวิกฤติในครั้งนี้ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้เน้นด้านทักษะเป็นฐานหลัก และ หน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัดต้องหาวิธีเร่งดำเนินการทำความเข้าใจ และ เตรียมผู้สอนเพื่อขับเคลื่อนชุดทักษะที่จำเป็น (Essential Skills Set) สำหรับเด็กและเยาวชนไทย โดยเร็วที่สุดให้ปรับตัวเที่ยงทันต่อสภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันนี้

 

 

ขอขอบคุณข้อมูล และ รูปภาพ จาก.

https://www.dailynews.co.th/news/3202836/

https://www.bangkokbiznews.com/world/1116410

http://www.focusnews.in.th/27943

https://www.matichon.co.th/education/news_3007231

https://otepc.go.th/th/content_page/item/4751-2024-01-08-04-46-30.html

https://thaipublica.org/2024/02/eef-world-bank-joint-report-sees-thailand-faces-crisis-in-life-skills/

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *