“การสร้างครูต้นแบบ” หนึ่งในนวัตกรรมใหม่ ที่มุ่งเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้กลายเป็นสังคมแห่งความร่วมมือ


คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มุ่งสร้างนวัตกรรมใหม่ โดยทำการวิจัยเพื่อค้นหาคุณลักษณะของครูต้นแบบ เพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงสังคมไทยใหม่จากสังคมแห่งการแข่งขันให้กลายเป็นสังคมแห่งความร่วมมือตามสมรรถนะหลักของคณะ “วิจัยพัฒนานวัตกรรมการสอนเพื่อผลิตครูต้นแบบ”    ทั้งนี้ นวัตกรรมจะถูกสร้างขึ้นจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความคิดเห็นหรือความต้องการของทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ครู รวมถึงผู้บริหาร เนื่องจาก
มองว่าไม่สามารถใช้เพียงแค่ทฤษฎีเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะของครูต้นแบบได้

ศาสตราจารย์ ดร.คณิต เขียววิชัย คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับนวัตกรรมการสร้างครูต้นแบบ
ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการทำวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณลักษณะของครูต้นแบบที่ต้องการ โดยทางคณบดีได้กล่าวถึงคุณลักษณะที่สำคัญของครูต้นแบบ
ตามปรัชญาของคณะที่ว่า “ผลิตและพัฒนาครูต้นแบบที่มีความสามารถในการจัดการการเรียนรู้ ทั้งวิชาการและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์”
ดังนั้น  ลักษณะของครูต้นแบบที่ต้องการ คือ ครูที่สอนทุกอย่างเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่สอนเพียงแค่ความรู้เพียงอย่างเดียว และจะเป็นครูที่สร้างอนาคตให้แก่เด็ก” โดยมีเป้าหมายหลัก คือ “ทำอย่างไรให้ความสามารถของเด็กสามารถสร้างอาชีพได้” และ “ทำอย่างไรให้เด็กสามารถพัฒนาตนเองไปสู่จุดสูงสุดได้”

        หลังจากได้ผลการวิจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะของครูต้นแบบที่ต้องการ จะนำไปสู่ขั้นตอนการสร้างนวัตกรรม ซึ่งก็คือการคิดค้นกระบวนการหรือกิจกรรมที่จะนำไปใช้ในการสร้างครูต้นแบบ คาดว่าในภายปีนี้จะสามารถคิดค้นนวัตกรรมการสร้างครูต้นแบบเสร็จเป็นที่เรียบร้อยและจะสามารถนำนวัตกรรมที่เกิดขึ้นไปใช้กับนักศึกษาและอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ในปีหน้า ทั้งนี้ จะมีการเผยแพร่นวัตกรรมเพื่อเป็นประโยชน์ในวงกว้าง เพราะเชื่อว่าการสร้างครูต้นแบบที่ดี จะช่วยสร้างเด็กที่ดีได้ นอกจากนี้ ทางคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรยังคาดหวังอีกว่า
“นวัตกรรมการสร้างครูต้นแบบ” ที่เกิดขึ้น จะช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในอีก  10-15 ปีข้างหน้าให้กลายเป็นสังคมแห่งความร่วมมือที่มีแต่ความร่มเย็น

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หรือ เพจคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *