PISA เด็กไทยอยู่อันดับ 54 “คะแนนความคิดสร้างสรรค์” ชี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)  ได้เผยข้อมูลตามรายงานวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2567 ถึงผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA (Programme for International Student Assessment) ที่จัดขึ้นเพื่อประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาในแต่ละประเทศ โดยทำการประเมินทุกๆ 3 ปี เพื่อติดตามแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะจัดประเมินกับเด็กอายุ 15 ปี

ในปี 2022 ได้มีการประเมินผลคะแนน PISA ในด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นครั้งแรก โดยการประเมินดังกล่าวได้จัดขึ้นเพื่อประเมินว่าระบบการศึกษาในแต่ละประเทศได้เตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีทักษะด้านการคิดนอกกรอบและพร้อมที่จะปรับตัวให้เท่าทันยุคสมัยได้มากน้อยเพียงใด โดย PISA 2022 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)”  ไว้ว่า เป็นความสามารถในการคิดที่หลากหลาย สามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์และมีความสามารถในการประเมินและปรับเปลี่ยนความคิด นำไปสู่การต่อยอดได้

ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

 

10 อันดับประเทศที่มีคะแนน PISA ด้านความคิดสร้างสรรค์สูงที่สุด ได้แก่

  1. สิงคโปร์ (Singapore)  มีคะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 41 คะแนน
  2. เกาหลี (Korea)  มีคะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 38 คะแนน
  3. แคนาดา (Canada)  มีคะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 38 คะแนน
  4. ออสเตรเลีย (Australia)  มีคะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 37 คะแนน
  5. นิวซีแลนด์  (New Zealand)  มีคะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 36 คะแนน
  6. เอสโตเนีย (Estonia)  มีคะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 36 คะแนน
  7. ฟินแลนด์ (Finland)  มีคะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 36 คะแนน
  8. เดนมาร์ก (Denmark)  มีคะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 35 คะแนน
  9. ลัตเวีย (Latvia)  มีคะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 35 คะแนน
  10. เบลเยียม (Belgium)  มีคะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 35 คะแนน

 

จากผลการประเมิน PISA ด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking ) ประจำปี 2022 ซึ่งค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD อยู่ที่ 33 คะแนน
พบว่า ประเทศที่เด็กมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด 10 อันดับแรกเป็นประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า OECD ทั้งสิ้น ในขณะที่ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 54 จาก 64 ประเทศและมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 21 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่มีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

.

มิติด้านเพศ

จากผลการประเมิน PISA ประจำปี 2022 ของทั้ง 64 ประเทศ เผยว่า เด็กผู้หญิงมีคะแนนเฉลี่ยด้านความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าเด็กผู้ชาย
โดยในประเทศไทย เด็กผู้หญิงมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ย อยู่ที่ 23 คะแนน ในขณะที่เด็กผู้ชายมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ย อยู่ที่ 19 คะแนน

มิติด้านความเหลื่อมล้ำ

จากผลการประเมิน PISA ในมิติด้านความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา พบว่า เด็กที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง เป็นกลุ่มที่มีคะแนนด้านความคิดสร้างสรรค์สูงกว่า  ในขณะที่ประเทศไทยก็เช่นกัน พบว่า กลุ่มเด็กที่ได้รับโอกาสทางการศึกษามีคะแนนความคิดสร้างสรรค์สูงกว่ากลุ่มเด็กด้อยโอกาสถึง 10.5 %

มิติด้านความเชื่อและทัศนคติของนักเรียน

จากค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD พบว่า มีเด็กประมาณ 8 ใน 10 คน ที่เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์สามารถเกิดขึ้นได้ในเกือบทุกวิชา ในขณะที่มีเด็กเพียงประมาณ 1 ใน 2 คนเท่านั้น ที่เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์ของตนเองนั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้

มิติด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียน

สภาพแวดล้อมในโรงเรียนก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ พบว่า เด็กในกลุ่มที่ครูผู้สอนช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ ให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและเปิดพื้นที่ให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น จะเป็นกลุ่มเด็กที่มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ

ทั้งนี้ จากรายงานผลการประเมิน PISA ยังกล่าวถึงการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ในโรงเรียน โดยพบว่าการเข้าร่วมกิจกรรมบ่อยครั้งเป็นการช่วยเสริมสร้างให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้

ผลการประเมิน PISA ประจำปี 2022

PISA 2022 Results Creative Minds, Creative Schools

ทำความรู้จักกับ PISA

การวัดผล PISA คืออะไร สอบไปทำไม

เปิดผล PISA 2022 หลังฝ่าวิกฤตโควิด 19 ระบบการศึกษาทั่วโลกคะแนนเฉลี่ยลด สสวท. ชี้เร่งพัฒนาสมรรถนะครูจัดการเรียนรู้สร้างทักษะที่จำเป็น

น่าห่วง! PISA ต่ำสุดในรอบ 20 ปี เด็กไทยคะแนนสอบ PISA 2022 ต่ำสุดรอบ 20 ปีในทุกทักษะ

หนุนใช้ผลประเมิน PISA 2022 ให้เป็นประโยชน์ เร่งพัฒนาสมรรถนะครูจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะสำหรับอนาคต

สสวท. พาทดลองใช้ระบบข้อสอบออนไลน์ PISA ล่าสุดเพิ่มโจทย์คณิตศาสตร์ 8 เรื่องฝึกทักษะ

สสวท. เชิญครูอบรมใช้ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA ในสถานศึกษา รุ่นที่ 2

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *