เจาะลึกเรื่องน่ารู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีชื่ออังกฤษคือ Prince of Songkla University ตัวอักษรย่อ ม.อ. – PSU เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ แห่งที่ 3 ในส่วนภูมิภาคและแห่งที่ 9 ของประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 โดยใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยภาคใต้ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระราชทานนาม “สงขลานครินทร์” เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2510

ในระยะแรกของการเริ่มก่อตั้ง ได้รับนักศึกษาเข้าศึกษาครั้งแรกในคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นสถานที่ศึกษา และปีต่อมา พ.ศ. 2511 ก็เริ่มย้ายนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มาเรียนที่จังหวัดปัตตานี และในปี พ.ศ. 2514 ย้ายนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์มาเรียนที่ วิทยาเขตหาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเป็นวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุด

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตั้งอยู่ที่ไหน?

  • วิทยาเขตหาดใหญ่
  • วิทยาเขตปัตตานี
  • วิทยาเขตภูเก็ต
  • วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • วิทยาเขตตรัง

สีประจำมหาวิทยาลัย

สีน้ำเงิน

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ดอกศรีตรัง

ตราประจำมหาวิทยาลัย

คืออักษร ม.อ. ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฏ และ จักรกับตรีศูล

  • พระมหาพิชัยมงกุฏ คือ ศิราภรณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญแสดงว่าเป็นพระมหากษัตริย์
  • จักรกับตรีศูล คือ ตราเครื่องหมายประจำราชวงศ์จักรี
  • ม.อ. คือ อักษรย่อมาจากพระนาม “มหิดลอดุลเดช” อันเป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก


มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เปิดสอนคณะอะไรบ้าง
?

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เปิดสอนทั้งหมด 31 คณะ 7 วิทยาลัย 1 บัณฑิตวิทยาลัย

กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

  • คณะการแพทย์แผนไทย
  • คณะทันตแพทยศาสตร์
  • คณะเทคนิคการแพทย์
  • คณะแพทยศาสตร์
  • คณะพยาบาลศาสตร์ หาดใหญ่
  • คณะพยาบาลศาสตร์ ปัตตานี
  • คณะเภสัชศาสตร์
  • คณะสัตวแพทยศาสตร์

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • คณะทรัพยากรธรรมชาติ
  • คณะเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • คณะวิทยาการสื่อสาร
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • คณะอุตสาหกรรมเกษตร
  • วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์
  • คณะนวัตกรรมการเกษตรประมงและอาหาร

กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • คณะการบริการและการท่องเที่ยว
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์
  • คณะวิเทศศึกษา
  • คณะวิทยาการจัดการ
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • วิทยาลัยอิสลามศึกษา
  • วิทยาลัยนานาชาติ หาดใหญ่
  • วิทยาลัยนานาชาติ สุราษฎร์ธานี
  • โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน

วันสถาปนามหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2511 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอน 24 โดยเรียกว่า “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2511” และวันที่ 13 มีนาคม เป็นวันที่พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีผลบังคับใช้  จึงได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของมหาวิทยาลัย โดยถือว่าวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันคล้าย “วันสถาปนามหาวิทยาลัย”

วันสงขลานครินทร์

ได้กำหนดให้วันที่ 22 กันยายนของทุกปี เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของมหาวิทยาลัยคือวัน “สงขลานครินทร์” เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการพระราชทานชื่อแก่มหาวิทยาลัยภาคใต้เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2510 ว่า “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” ตามพระนามฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก คือ กรมหลวงสงขลานครินทร์

วันมหิดล

ได้กำหนดให้วันที่ 24 กันยายนของทุกปีเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของมหาวิทยาลัยเรียกว่า “วันมหิดล” เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันเสด็จทิวงคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ จะมีการจัดกิจกรรมวางพวงมาลา หน้าพระบรมรูป ฯ ในทุกวิทยาเขต เพื่อเฉลิมพระเกียรติและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

วันรูสะมิแล

ตอนเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาในปี 2510 มหาวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะแรก และในปี 2511 ก็เปิดรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ โดยอาศัยพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ทำการเช่นเดียวกัน เมื่ออาคารสร้างเสร็จจึงย้ายมาที่วิทยาเขตปัตตานี พร้อมกันเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2511 ดังนั้นในวันที่ 9 พฤศจิกายนของทุกปีจึงเรียกว่าวัน “รูสะมิแล” ซึ่งมีความหมายว่า “สนเก้าต้น”

เว็บไซต์ : https://www.psu.ac.th/welcome/

Facebook : https://www.facebook.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *