ม.ปลายเรียนต่อสายไหน ต่อยอดมหาวิทยาลัยคณะอะไรได้บ้าง ?
สำหรับน้องๆม.ต้น ที่กำลังเตรียมตัวจะขึ้นม.ปลายแล้วยังไม่รู้ว่า การเรียนม.ปลายนั้นแบ่งแยกสายอย่างไร และแต่ละสายที่จะเรียนนั้นสามารถจะไปต่อยอดการเรียนมหาวิทยาลัยจนถึงการประกอบอาชีพอาชีพอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีสายพิเศษเฉพาะโรงเรียน วันนี้ทาง Eduzones จะพาน้องๆมาทำความรู้จักของสายการเรียนของม.ปลายแต่ละสายกันค่ะ
- ม.ปลาย มีสายการเรียนอะไรบ้าง
1. สายการเรียน วิทย์ – คณิต
สายการเรียน วิทย์ – คณิต เน้นการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ทั้ง ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา โดยจะได้เรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และการเรียนคณิตศาสตร์ ทั้งคณิตศาสตร์พื้นฐานและคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เนื้อหาแน่นๆ ส่วนวิชาอื่นๆ อย่างเช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา ก็จะยังคงมีเรียนอยู่ แต่สัดส่วนไม่มากเท่าวิชาหลักอย่างวิทยาศาสตร์เเละคณิตศาสตร์
ตัวอย่างคณะ
- เป็นสายการเรียนที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ทุกคณะเเละสาขาวิชา
- คณะสายเเพทย์
- คณะวิศวกกรมศาสตร์ เป็นต้น
2. สายการเรียน ศิลป์ – คำนวณ
สายการเรียน ศิลป์ – คำนวณ เป็นสายการที่เป็นตัวเลือกยอดนิยมรองลงมาจากสายวิทย์-คณิต โดยสายนี้จะเน้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานและคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รวมทั้งวิชาภาษาอังกฤษหลักและอังกฤษเสริมสลับกันไป โดยจะได้ทั้งพูด ฟัง อ่าน เขียน อีกทั้ง จะได้อ่านวรรณกรรมอังกฤษหลากหลายเเละฝึกเขียนบทความหลายๆเเบบกัน ส่วนรายวิชาอื่นเช่นภาษาไทย สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ และวิชาอื่นๆ จะยังมีอยู่ตามเดิมแต่สัดส่วนจะน้อยกว่าวิชาหลักของสาย
ตัวอย่างคณะ
- คณะการบัญชี
- คณะพาณิชย์ศาสตร์
- คณะอักษรศาสตร์
- บริหารธุรกิจ
- วิทยาการจัดการ
- นิติศาสตร์
- โลจิสติกส์ เป็นต้น
3. สายการเรียน ศิลป์ – ภาษา
แบ่งได้หลายภาษา เช่น
- อังกฤษ – ญี่ปุ่น
- อังกฤษ – จีน
- อังกฤษ – ฝรั่งเศส
- อังกฤษ – เกาหลี
- อังกฤษ – เยอรมัน
สายการเรียน ศิลป์-ภาษา เป็นสายเฉพาะทาง จะเน้นเรียนวิชาภาษาต่างๆ สำหรับใครที่เลือกสายนี้จะต้องเลือกเรียนภาษา ที่กำหนดมาในสาย ซึ่งเเต่ละโรงเรียนก็จะมีการเเบ่งย่อยเเต่ละภาษาเเตกต่างกันออกไป ในบางโรงเรียนนั้นอาจจะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานด้วย โดนสายการเรียนศิลป์ – ภาษาจะมุ่งเน้นทักษะทางด้านภาษาต่าง ๆ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษเเละภาษาที่ 3 ส่วนวิชาต่างๆ อย่างวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ยังคงต้องเรียน แต่จะเป็นในระดับพื้นฐาน ส่วนวิชาอื่นๆ ที่เป็นความรู้พื้นฐานทางด้านศิลปศาสตร์นั้นจะยังมีครบถ้วน
ตัวอย่างคณะ
- อักษรศาสตร์
- นิเทศศาสตร์
- ศิลปศาสตร์
- มนุษยศาสตร์ เป็นต้น
4 . สายการเรียน ศิลป์ – สังคม
สายการเรียนศิลป์ – สังคม เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีความสนใจใน วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือไม่มีภาษาที่3 ที่สนใจเป็นพิเศษ สามารถเลือกสายการเรียนนี้ได้ โดยสายการเรียนนี้จะเน้นกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เเละสังคมศึกษา โดยจะเน้นเรียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เเละกฎหมาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังจะได้คิด วิเคราะห์ วิจารณ์และมองโลกผ่านมุมมองปรัชญาเเละกฎหมายและสังคม
ตัวอย่างคณะ
- นิติศาสตร์
- รัฐศาสตร์
- สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เป็นต้น
5. สายการเรียน วิทย์ – คอม
สายการเรียน วิทย์ – คอม เหมาะสำหรับคนที่มีความสนใจด้าน ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม และวิทยาการหุ่นยนต์ขั้นพื้นฐานจะเน้นวิชา เช่น คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่การเรียนในคณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยสายการเรียนนี้จะเน้นไปทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้แก่ วิชาคอมพิวเตอร์และการซ่อมบำรุง และ คอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นต้น
ตัวอย่างคณะ
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
- คณะวิทยาการสารสนเทศ
สายการเรียน ม.ปลาย แบบใหม่ ที่เน้นการเรียนแบบเฉพาะทางและเจาะจงสำหรับการเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยแบบปูพื้นฐานของแต่ละคณะ จะมีความเข้มข้นในการเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ
1.โรงเรียนโพธิสารพิทยากรมีแผนการเรียนตัวอย่างดังนี้
- IP EP IEP GP วิทย์-เทคโนโลยี (หุ่นยนต์)
- เตรียมวิทย์ – คอมฯ
- เตรียมแพทย์ – เภสัช
- เตรียมนิเทศศาสตร์
- เตรียมมนุษย์ – ครุศาสตร์
- เตรียมวิศวะ – สถาปัตย์
- เตรียมศิลปกรรม
- เตรียมนิติ – รัฐศาสตร์
- เตรียมบริหารธุรกิจ – บัญชี เป็นต้น
สนใจข้อมูลเพิ่ม www.ps.ac.th
2. โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร โดยจะแบ่งเป็นวิชาเอก มีตัวอย่างดังนี้
- วิชาเอกวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (Engineering Artificial Intelligence Major : E-AI)
- วิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Major : IT)
- วิชาเอกนันทนาการและภาษาเพื่อการท่องเที่ยว(Recreation and Language for Tourism Major : RLT)
- วิชาเอกนวัตกรรมเทคโนโลยีมัลติมีเดีย(Innovative Multimedia Technology Major : IMT)
- วิชาเอกดุริยางคศิลป์ (Music Department Major)
- วิชาเอกออกแบบแฟชัน (Fashion Design Major)
- วิชาเอกวิทยาศาสตร์-ออกแบบสร้างสรรค์ (Art Science) เป็นต้น
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม https://home.spsm.ac.th/
3. โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน
เป็นการใช้ ระบบ Track เป็นระบบที่นำแผนการเรียนวิทย์ – คณิต – ศิลป์ แบบเดิมๆมาแบ่งรายละเอียดเฉพาะทางมากขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียนที่ต้องการเรียนในคณะ/สาขาที่ใฝ่ฝัน และให้นักเรียนได้ค้นหาความชอบความถนัดของตัวเอง โดยเริ่มเรียนจากวิชาพื้นฐานสำคัญที่ต้องใช้ในการสอบของแต่ละคณะ/สาขา เตรียมพร้อมสำหรับระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ปัจจุบันโรงเรียนกรุงเทพคริสเตรียนมี Tracks ดังนี้
- Track แพทยศาสตร์ และกลุ่มสาธารณสุขศาสตร์
- Track วิศวกรรมชีวการแพทย์
- Track วิศวกรรมศาสตร์ (ทั่วไป)
- Track วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน
- Track วิศวกรรมหุ่นยนต์และคอมพิวเตอร์
- Track สถาปัตยกรรมศาสตร์
- Track บริหารธุรกิจ บัญชี เศรษฐศาสตร์
- Track สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์
- Track ศิลปกรรมศาสตร์
- Track อักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์
- Track ดนตรี-นิเทศศิลป์ เป็นต้น
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม https://www.bcc.ac.th/2019/
นอกจากที่ยกมาแล้วยังมีโรงเรียนอีกมากมายที่เป็นการเรียนการสอนแบบใหม่ที่เฉพาะทางมากขึ้น แต่ถ้าน้องๆคนไหนที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองถนัดหรือว่าชอบและไม่ชอบวิชาอะไร อยากรู้ว่าสายการเรียนไหนที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด
eduzone มีแบบทดสอบสำหรับการค้นหาตัวเองมาฝากเผื่อน้องๆสนใจที่จะหาสิ่งที่ตัวเองชอบและสนใจได้แบบทดสอบนี้จะช่วยให้น้องๆได้เจอสายการเรียนที่ใช่และได้ค้นพบการเป็นตัวเองมากขึ้นได้ที่นี่ https://ez.eduzones.com/test/