ทำความรู้จัก TEC-W การทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงาน

ความเป็นมา

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. เป็นหน่วยงานกลาง จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย พัฒนา และให้บริการประเมินผลทางการศึกษาและทดสอบทางการศึกษา รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติและนานาชาติ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ตลอดช่วงชีวิต โดยเฉพาะช่วงวัยแรงงานให้มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21  สทศ. จึงได้พัฒนาเครื่องมือวัดการทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงาน(Test of English Communication in the Workplace : TEC-W) ตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) ผ่านการหาคุณภาพและเทียบเคียงแบบทดสอบภาษาอังกฤษระดับสากล และผ่านการทดสอบกับมหาวิทยาลัยภาครัฐ เอกชน และระดับอาชีวศึกษารวมทั้งสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 63 แห่งทั่วประเทศ และได้ดำเนินการให้บริการการทดสอบด้วยระบบดิจิทัลแก่นักเรียน นักศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และบุคคลที่เข้าทำงานในสถานประกอบการ รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจวัดความสามารถทางภาษาของตนเอง

 

TEC-W (Test of English Communication in the Workplace) การทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงาน

เป็นแบบทดสอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงานของผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล CEFR (The Common European Framework of Reference for Languages) โดยเป็นแบบทดสอบวัดผลที่ครอบคลุมทักษะ 4 ด้าน

  • การฟัง (Listening)
  • การพูด  (Speaking)
  • การอ่าน (Reading)
  • การเขียน (Writing)

 

TEC-W เหมาะสำหรับใคร

นักเรียน นักศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และบุคคลที่เข้าทำงานในสถานประกอบการ รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจวัดความสามารถทางภาษาของตนเอง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะความสามารถด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารต่อไป รวมไปถึงบุคคลที่มีความประสงค์จะเข้าสู่ตลาดแรงงานโดยใช้คะแนนความสามารถทางภาษาอังกฤษเป็นองค์ประกอบในการแสดงความสามารถของตนต่อสถานประกอบการ

 

การพัฒนาแบบทดสอบภาษาอังกฤษ

TEC-W ผ่านการทดลองใช้ กับกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 4,000 คน มีความยากอยู่ระดับปานกลาง และสามารถจำแนกกลุ่มอ่อนและกลุ่มเก่งออกจากกันได้เป็นอย่างดี และเมื่อนำไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง TEC-W และกับคะแนนผลการทดสอบ TOEIC มีค่าความสัมพันธ์สูงเท่ากับ 0.938 ถ้าหากบุคคลใดมีคะแนนผลการทดสอบ TOEIC สูง ก็ย่อมมีคะแนนผลการทดสอบ TEC-W สูงด้วย ความสัมพันธ์นี้ ทำให้ทราบว่า คะแนนผลการทดสอบ TEC-W สามารถใช้เทียบเคียงกับคะแนนผลการทดสอบ TOEIC ได้ แต่การสอบ TEC-W มีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการสอบ TOEIC ดังนั้น การสอบ TEC-W จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการวัดความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ สทศ. ยังได้มีการนำร่องการทดสอบกับนักเรียน นักศึกษา บุคลากรในสถานศึกษา ทั้งมหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน และระดับอาชีวศึกษา จำนวน 63 แห่ง ทั่วประเทศ รวม 4,128 คน

 

ลักษณะเด่นของการทดสอบ TEC-W

  1. ข้อสอบมีความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) เชิงเนื้อหา (Content Validity) และร่วมสมัย (Concurrent Validity)
  2. ข้อสอบมีความเชื่อมั่น (Reliability)
  3. ข้อสอบมีความเป็นปรนัย (Objectivity)
  4. ข้อสอบวัด 4 ทักษะ (ฟัง พูด อ่าน เขียน) ในฉบับเดียวกัน
  5. ข้อสอบ TEC-W ไม่ใช่ข้อสอบวัดความรู้เรื่องไวยากรณ์ หรือคำศัพท์เท่านั้น แต่ต้องประยุกต์องค์ความรู้ ในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงานได้
  6. ลดความเหลื่อมล้ำ (อัตราค่าสมัครสอบที่ทุกคนจับต้องได้)
  7. ทดสอบด้วยระบบ Digital

 

กำหนดการสอบ (สนามสอบทั่วประเทศไทย 77 จังหวัด)

กำหนดการสอบ (สนามสอบ สทศ.)

 

ช่องทางการสมัครสอบ

>> www.niets.or.th

 

ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ

  • ประเภทนักศึกษา 300 บาท
  • ประเภทบุคคลทั่วไป 600 บาท

ช่องทางการชำระเงิน

1.ชำระเงินได้ที่เคาน์เตอร์ธนาคารดังต่อไปนี้ ทุกสาขาทั่วประเทศ ตามวันและเวลาที่กำหนดในใบสมัคร

  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารออมสิน

2.ชำระผ่านแอปพลิเคชั่น Mobile Banking ได้ทุกธนาคาร (ไม่เสียค่าธรรมเนียม)

3.ชำระผ่านแอปพลิเคชั่น True Money Wallet (ไม่เสียค่าธรรมเนียม)

 

ข้อปฏิบัติและระเบียบการสอบ

1.ไม่มีเลขที่นั่งสอบ ไม่มีสิทธิ์เข้าห้องสอบ

2.ไม่มีบัตรแสดงตน ไม่มีสิทธิ์เข้าห้องสอบ

3.ไปผิดสนามสอบ ไม่มีสิทธิ์เข้าห้องสอบ

4.ไปสายเกิน 30 นาที ไม่มีสิทธิ์เข้าห้องสอบ

5.ห้าม นำเครื่องมือหรืออุปกรณ์สื่อสารเข้าห้องสอบ

6.อนุญาต ให้ออกจากห้องสอบได้หลังจากเริ่มสอบไปแล้ว 60 นาที

7.อนุญาต ให้นำนาฬิกาเข้าห้องสอบ (ต้องเป็นนาฬิกาธรรมดาที่ใช้ดูเวลาเท่านั้น)

 

สิ่งที่อนุญาตให้นำเข้าไปในห้องสอบ

1.บัตรและเอกสารยืนยันตัวตน

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • บัตรประจำตัวนักศึกษาที่มีรูปถ่าย
  • บัตรประจำตัวข้าราชการ
  • บัตรประจำตัวพนักงานราชการที่มีรูปถ่าย
  • บัตรที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้โดยมีรูปถ่ายและยังไม่หมดอายุ

2.ปากกา (สำหรับใช้ในการเซ็นชื่อเข้าสอบ)

 

ลักษณะแบบทดสอบ

TEC-W มีแบบทดสอบทั้งหมด 100 ข้อ 4 ตัวเลือก 1 คำตอบ และแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  • ส่วนที่ 1 : การฟังและการพูด (50 ข้อ)
  • ส่วนที่ 2 : การอ่ารและการเขียน (50 ข้อ)

เวลาในการทำแบบทดสอบ 90 นาที

 

 

การเทียบเคียงคะแนน การทดสอบ TEC-W

ข้อสอบ TEC-W มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน สามารถเทียบเคียงกับระดับความสามารถตามเกณฑ์ของ CEFR ในการสมัครเรียนต่อ สมัครงาน หรือเพิ่มความก้าวหน้าในอาชีพโดยมีระยะเวลาในการใช้ผลการทดสอบ 2 ปีนับตั้งแต่วันสอบ และผู้สอบจะได้รับใบรายงานผลการสอบเป็นคะแนนแต่ละส่วนทั้ง 4 ทักษะ โดยคะแนนสอบ TEC-W จะระบุในรายงานผลงาน

ตัวอย่าง ใบรายงานผลการทดสอบ TEC-W

**หมายเหตุ : ผลการทดสอบสามารถใช้ได้ 2 ปี

ดสองสอบด้วยระบบดิจิทัล

>> คลิก 

 

 

#TECW #สทศ #การทดสอบภาษาอังกฤษ #ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงาน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *