วิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. ไม่ใช่ครู แล้วเรียนอะไร?

เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังไม่รู้จักคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หรือที่หลายคนรู้จักกันในนาม ศึกษาศาสตร์ มธ.” และมักจะเข้าใจกันว่า ศึกษาศาสตร์ต้องจบไปเป็นครู วันนี้ทาง Eduzones จึงจะพาไปทำความรู้จักกับคณะลำดับที่ 19 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะใหม่ที่เหมาะสำหรับน้องๆที่สนใจอยากเป็นนักการเรียนรู้  และจะพาไปดูกันว่า คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ที่นี่ แตกต่างจากคณะศึกษาศาสตร์อย่างไรบ้าง?

ทำความรู้จักกับคณะ

คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ หรือ LSEd (Faculty of Learning Sciences and Education, Thammasat University) คณะใหม่ที่เป็นเสมือนชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ให้คุณค่าแก่การยอมรับและความเข้าใจระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผ่านทฤษฎีและการปฏิบัติที่เชื่อมร้อยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่หล่อเลี้ยงการเจริญเติบโตทางด้านปัญญาและจิตวิญญาณ

แตกต่างจากคณะอื่นอย่างไร

    • หัวใจสำคัญของคณะคือการสร้างสังคมแห่งการเคารพและเรียนรู้ร่วมกัน ดังนั้น จึงให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน บรรยากาศในการเรียนจึงมีความสนุกสนานและเป็นกันเอง
    • จุดเด่นของการเรียนการสอนในคณะ คือ การเรียนรู้แบบ Active learning นักศึกษาจะได้ลงมือปฏิบัติจริง และได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง

วิสัยทัศน์

    • สถาบันการศึกษาชั้นนำที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยการเรียนรู้ (The leading educational institution driving the society through learning)

เป้าหมาย

    • สังคมตระหนักและให้คุณค่าแก่การเรียนรู้ผ่านปัญญาและการปฏิบัติที่เชื่อมร้อยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ค่านิยม

    • สร้างสังคมแห่งการเคารพและเรียนรู้ร่วมกัน

สมรรถนะหลัก

    • เรียนรู้ด้วยหัวใจ ปฏิบัติด้วยปัญญา บูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์ เพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้

.

ไม่ได้เรียนครู แล้วเรียนเกี่ยวกับอะไร?

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณทิต สาขาวิชาวิทยาการเรียนรู้ เป็นหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ที่บูรณาการองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน ดังนั้น นักศึกษาจะได้เรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในมิติต่างๆ รวมไปถึงการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนสังคม

หลักสูตรการศึกษา 

  • ปีที่ 1 ปูพื้นฐานรายวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยและวิชาพื้นฐานของคณะที่ครอบคลุมเรื่องการเรียนรู้ของมนุษย์ กาบ่มเพาะทักษะการเรียนรู้ รวมถึงประเด็นทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสังคม
  • ปีที่ 2 เป็นปีที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง โดยจะมีวิชาลงชุมชนเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าไปเรียนรู้วิถีชีวิตและลงไปทำงานร่วมกับคนในชุมชน นอกจากนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ยังจะได้คิดค้นและออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม เช่น บอร์ดเกมส่งเสริมการเรียนรู้ หรือ การจัดกระบวนการ Facilitation เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับคนในสังคม
  • ปีที่ 3 จะได้เรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ส่งผลต่อการศึกษา โดยจะได้เรียนวิชาพื้นฐานการวิจัยทางการเรียนรู้และการศึกษา และจะได้เลือกรายวิชาตามตามความสนใจ

โดยในปัจจุบันมี 4 หมวด ได้แก่

  1. หมวดด้านการอำนวยการเรียนรู้
  2. หมวดด้านสื่อและเทคโนโลยี
  3. หมวดด้านหลักสูตรและการสอน
  4. หมวดด้านการศึกษาและสังคม
    *นักศึกษาเลือกรายวิชาในหมวดความมุ่งเน้นใดก็ได้ (โดยสามารถเลือกเป็นรายวิชาในหมวดเดียวกัน หรือต่างหมวดก็ได้)
  • ปี 4 ลงมือทำโครงงานสร้างสรรค์

*หมายเหตุ : หลักสูตรอาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามปีการศึกษา

คลิกอ่านรายละเอียดของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเรียนรู้ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2567) 

.

ไม่ได้เป็นครู แล้วทำงานเกี่ยวกับอะไร?

แม้จะชื่อว่าคณะศึกษาศาสตร์ แต่คณะของเราไม่ได้มุ่งผลิตครูโดยตรง แต่เรามุ่งผลิตคนที่จะเป็นนักการเรียนรู้ ดังนั้น นักศึกษาในคณะจึงสามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย  เรียกได้ว่างานสายการเรียนรู้แทบจะแฝงอยู่ในทุกๆองค์กร เช่น

  1. นวัตกรและผู้ประกอบการสังคม
  2. กระบวนกรหรือวิทยากรกระบวนการ
  3. นักเทคโนโลยีการศึกษาและการเรียนรู้
  4. นักออกแบบสื่อการเรียนการสอน
  5. นักออกแบบและจัดการเรียนรู้
  6. นักวิจัยด้านการเรียนรู้และการศึกษา
  7. นักสื่อสารและประสานองค์ความร

.

อยากเรียนคณะนี้ต้องจบ ม.ปลายสายอะไร?

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากทุกสายการเรียน
  • ปวช.
  • กศน.
  • เป็นผู้เทียบวุฒิความรู้ต่างประเทศ หรือ เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติโรงเรียนในประเทศไทย

*หมายเหตุ : เปิดรับสมัครในระบบ TCAS รอบ ที่ 1 Portfolio และรอบที่ 3  Admission

คลิกอ่านรายละเอียดการรับสมัครเข้าศึกษาต่อ

.

ชวนทุกคนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ด้วยหัวใจ ปฏิบัติด้วยปัญญา และร่วมสร้างนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสังคมไปด้วยกันกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

EZ Review : คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. (youtube.com)

หากสนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Lsed | Thammasat (tu.ac.th)

หรือติดตามข่าวสารได้ที่ Faculty of Learning Sciences and Education – Thammasat University

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *