รวม ! มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตพระราชวัง

สวัสดีค่ะ วันนี้พี่ๆ eduzones จะมามัดรวมคร่าวๆมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของพระราชวังหรือพระราชวังเก่า ให้น้องๆได้รู้ถึงประวัติของที่ตั้งมหาวิทยาลัยว่ามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานอย่างไรกันค่ะ

1.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  • ที่ตั้ง ถ. อู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
  • วิทยาเขต กรุงเทพมหานครมหานคร
  • ความเป็นมา
    แรกเริ่ม ของการก่อตั้งเดิมที่มหาวิทยาลัยเป็นส่วน หนึ่งของวังสวนสุนันทา ซึ่งถือเป็น เขตพระราชฐานและเป็นสถานที่ประทับ พักผ่อนของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยมี พระราชประสงค์โปรดเกล้าให้มีการจัดหาดอกไม้นานาพรรณ และจัดตั้งเป็น “สวนสุนันทาอุทยาน” ซึ่งมีชื่อมาจากสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และพระนามของ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสร้างพระตําหนักเพิ่มเติม เพื่อไว้สําหรับเป็นที่ประทับให้แก่เจ้านายฝ่ายใน รวมทั้งเป็นอาคารที่พัก สําหรับข้าราชบริพาร จํานวน 32 ตําหนักโดยพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏปิยมหาราชปดิวรัดดา ได้ทรงโปรดให้จัดตั้ง “โรงเรียนนิภาคาร” ขึ้นภายในสวนสุนันทาเพื่อเป็นโรงเรียนสําหรับกุลสตรี ให้การศึกษา แก่บุตรีของขุนนาง ข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์ และข้าหลวงจากตําหนักต่างๆ กระทั้งในปี พ.ศ. 2475 เกิดการ เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองที่ส่งผลกระทบต่อระบบเจ้านายเป็นอย่างมากทําให้บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ในสวนสุนันทาหวั่นเกรงต่อภัยทางการเมืองจึงต่างพากันทยอยออกจากสวนสุนันทาจนหมด ส่งผลให้วังสวน สุนันทาที่เคยงดงามถูกปล่อยให้รกร้างขาดการดูแลและทําให้โรงเรียนนิภาคารถูกยกเลิกดําเนินการไปโดย ปริยาย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล วังสวนสุนันทาที่ทรุดโทรมได้รับการฟื้นฟู กลับมาสวยงามอีกครั้ง โดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้พื้นที่ของวังสวนสุนันทาให้เกิดประโยชน์โดยแปรจาก ราชสํานักฝ่ายในเป็นสถานศึกษาและได้จัดตั้งเป็นสถานศึกษาของชาติทำให้เกิดพัฒนาการมาเป็นมหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา

2.มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ 

  • ที่ตั้ง ถ. หน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  • วิทยาเขต วังท่าพระ
  • ความเป็นมา
    วังท่าพระ หรือ วังล่าง ตั้งอยู่ข้างพระบรมมหาราชวัง ริมถนนหน้าพระลานทางด้านทิศตะวันตก ใกล้ท่าช้างวังหลวง แต่เดิมวังท่าพระนั้น ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศรีศากยมุนี จากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย มา ประดิษฐานไว้ ณ วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อพระพุทธรูปมาถึงประตูท่าช้าง ปรากฏว่าอัญเชิญเข้ามาไม่ได้เนื่องจากองค์พระนั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะ นำผ่านเข้ามาได้ จึงจำเป็นต้องรื้อทั้งประตูถอนทั้งกำแพงออก จึงได้เรียกขานอดีตท่าเรือนี้แทนว่าท่าพระ วังที่อยู่ใกล้กันนั้นจึงเรียกตามว่า “วัง ท่าพระ ภายหลังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จไปประทับ ตำหนักปลายเนินแล้ว ทายาทของพระองค์จึงขายวังให้กับทางราชการ และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้สร้างสถานศึกษาสำหรับวิชาศิลปะตามแบบยุโรปขึ้น ได้ใช้วังนี้เป็นมหาวิทยาลัย ศิลปากร วังท่าพระ จนถึงปัจจุบัน

3. มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์

  • ที่ตั้ง ราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม นครปฐม
  • วิทยาเขตสนามจันทร์
  • ความเป็นมา
    มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่รู้จัก ในชื่อว่า “ม.ทับแก้ว”ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งเคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพื้นที่ประมาณ 888 ไร่ แต่ใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยเพียง 428 ไร่ โดยเป็นที่ตั้งของคณะอักษรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์(ชั้นปีที่1) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์(ชั้นปีที่ 1-2) และคณะมัณฑนศิลป์(ชั้นปีที่1)นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเปิดให้มีการเรียนการสอนแบบสหศึกษาแก่นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถม ศึกษาปีที่ 1-6และชั้นมัธยมปีที่ 1-6 ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรม ศูนย์วิจัยและพัฒนา ศูนย์วิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการต่างๆ
    สาเหตุที่เลือกจังหวัดนครปฐมเป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เหมาะสม ที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยเหตุผลดังนี้
  • ประการแรก พระราชวังสนามจันทร์เคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์ผู้สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งในทาง โบราณคดีและศิลปะทั้งปวง ทรงเป็นนักโบราณคดีและศิลปินชั้นเยี่ยมโดยเฉพาะ ทาง วรรณศิลป์ ทรงสนับสนุนนาฏศิลป์ตลอดรัชสมัยของพระองค์
  • ประการที่สอง บริเวณพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งของเทวาลัยคเณศ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น นอกจากนี้ พระคเณศยังเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะและเป็นตราของทางมหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่แล้ว
  • ประการสุดท้าย ที่จังหวัดนครปฐมมีพระปฐมเจดีย์ประดิษฐานอยู่ นับได้ว่าเป็น ศูนย์กลางของโบราณคดีและศิลปะที่สำคัญในประเทศไทย ดังนั้นบริเวณพระราชวัง สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม จึงเหมาะที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร

4.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

 

  • ที่ตั้ง ถ. พระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  • วิทยาเขต ท่าพระจันทร์
  • ความเป็นมา
    กำแพงวังหน้า ตำแหน่งพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์แล้ว วังหน้าเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อมีการสร้างพระราชวังหลวงในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ทรงสร้างวังหน้าขึ้นพร้อมกันทางด้านทิศเหนือของพระราชวังหลวง และอยู่ชิดกับฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาประวัติศาสตร์ที่เป็นเรื่องราวของวังหน้านี้ดูจะเป็นลืมเลือนไปจากประชาคมแห่งนี้ ตราบจนกระทั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้สร้างอาคารอเนกประสงค์ ๒ ขึ้นใหม่ จึงมีการขุดพื้นดินต่าง ๆ และเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดแสดงรูปร่างของกำแพงวังหน้าให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ชื่นชมว่า กาลครั้งหนึ่ง พื้นที่บริเวณนี้เป็นสถานที่ตั้งของวังหน้าอย่างไรก็ดี สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยแห่งนี้จำนวนหนึ่ง เชื่อว่าการที่สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ คือ วังหน้า หมายถึง สถานที่แห่งนี้มีจิตวิญญาณของการช่วยเหลือสถาบัน ทางอำนาจ และในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ ถ่วงดุล และตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้นำสูงสุดตลอดมาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งในยามเจริญรุ่งเรืองและในยามที่ต้องประสบด้วยแรงบีบคั้นทางการเมือง ชนิดต่าง ๆ บริเวณที่อยู่ติดกันกับกำแพงวังหน้าคือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะที่มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกมาตั้งแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัย

5. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

 

  • ที่ตั้ง ถ.นครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
  • วิทยาเขต กรุงเทพมหานคร
  • ความเป็นมา
    อาคารพระตำหนักเยาวภา เป็นหนึ่งใน ๓๒ ตำหนักของวังสวนสุนันทา
    ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานภายในบริเวณของพระราชวังดุสิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา1โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นตามแบบอย่างของพระราชวังเบิร์นสตอร์ฟประเทศเดนมาร์กเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนพระอิริยาบถแทนการเสด็จประพาสหัวเมืองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้สวนนี้มีลักษณะเป็นสวนป่า จึงโปรดเกล้าฯให้หาพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลที่ดีและหาได้ยากนานาชนิดมาปลูกไว้ในสวนแห่งนี้ที่มาของชื่อสวนแห่งนี้
    มาจากชื่อสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งมีชื่อว่า”สุนันทาอุทยาน”
    และพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี พระมเหสี อันเป็นที่รักยิ่งของพระองค์ที่ได้สิ้นพระชนม์จากเหตุเรือล่มระหว่างเสด็จประพาสพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพระตำหนักต่างๆในวังสวนสุนันทาและพระราชวังดุสิต ทั้งหมดถูกจัดให้เป็นสถานปฏิบัติงานส่วนราชการต่างๆดัง
    นั้นพระตำหนักหลังนี้ได้ปรับเปลี่ยนให้มีสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานโดยใช้เป็นตึกธุรการ ตึกเรียนและตึกนอน(ชั้นบน)ของนักเรียนโรงเรียนการเรือนที่อยู่ประจำ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๓๔
    ได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารพระตำหนักเยาวภาและเปลี่ยนเป็นสำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏสวนดุสิต หรือ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตในปัจจุบัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *