มิติใหม่ของ “การเรียนรู้” ที่ยืดหยุ่นไปไกลถึงในชุมชน

เมื่อทางเลือกของการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดกรอบอยู่แค่ ภายใน “ห้องเรียน” เพื่อเป็นการสลายปมคำว่า “การศึกษาในระบบ- นอกระบบ” และร่วมกันหาแนวทางใหม่ๆมาช่วยปิดช่องโหว่ของระบบการศึกษาไทย  จึงเกิดเป็นการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ยืดหยุ่นและตอบโจทย์กับทุกคนมากขึ้น

.

รู้จักการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น

การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น (Flexible Learning) คือ หนึ่งในแนวทางการศึกษาที่เปิดช่องทางให้แก่ผู้เรียนได้เลือกรูปแบบการเรียนที่ตอบโจทย์ตนเอง นอกจากจะเป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยลดจำนวนเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาแล้ว การเรียนรู้ยังยืดหยุ่นไปถึงการสร้างองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชน โดยการยกระดับชุมชน หรืออาจจะกล่าวได้ว่า “การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เป็นการลบภาพจำที่ว่า การศึกษา = โรงเรียน” เพราะการศึกษาในยุคใหม่ ต้องช่วยพัฒนาและสนับสนุนผู้เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาและทุกสถานการณ์ ที่สำคัญคือทุกคนต้องสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน

.

จุดมุ่งหมาย

  • เพื่อค้นหาและพาผู้เรียนกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง และลดจำนวนผู้ที่หลุดออกจากระบบการศึกษาลง ให้เหลือ “ศูนย์

.

ช่วยปิดช่องโหว่ได้อย่างไร?

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  ได้กล่าวไว้ว่า “การปิดช่องโหว่ในระบบการศึกษา ไม่ให้เด็กหลุดออกจากระบบและได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น ไม่ได้หมายความว่าเด็กทุกคนจะต้องเข้าสู่มหาวิทยาลัย แต่เด็กต้องมีทางเลือกที่มากขึ้นและยืดหยุ่นมากขึ้น”  นั่นแสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้ในรูปแบบนี้เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

.

การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นในชุมชน

รายการห้องเรียนอารมณ์ดี ชวนทุกคนมาร่วมรับฟังการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น” จากการพูดคุย พบว่าการจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์มากที่สุด คือ การพัฒนาวิชาชีพและร่วมสร้างนวัตกรรมใหม่ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

.

แนวคิดของการจัดการเรียนรู้

  • จะทำอย่างไร? ให้สามารถเพิ่มมูลค่าและยกระดับสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน จนสามารถสร้างได้รายได้ให้แก่คนในชุมชนได้

.

ตัวอย่างชุมชนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น

ชุมชนเมืองบึงกาฟ กับการสร้างแบรนด์ ก.กก บึงกาฬ และกองทุน ก.กก บึงกาฬสานสัมพันธ์ เพื่อยกระดับต้นกกในพื้นที่ให้มีมูลค่ามากขึ้น โดยใช้กระบวนการ “เคาะบ้าน เคาะใจ ไม่ใช่ครู แต่เป็นเหมือนญาติ เพื่อร่วมกันสร้างห้องเรียนธรรมชาติ ตามวิถีชีวิตของคนในชุมชน”

 

ชุมชนตำบลหนองสนิท อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ กับการสร้างแบรนด์ “สหกรณ์การเกษตรพืชอินทรีย์หนองสนิทจำกัด จังหวัดสุรินทร์” เพื่อยกระดับผลผลิตจากการเกษตรในชุมชนให้กลายเป็นเกษตรอินทรย์แบบครบวงจร

.

หัวใจสำคัญ

  • จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
  • สร้างการมีส่วนร่วม โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการแรก
  • ให้ความสำคัญกับความต้องการของคนในชุมชน
  • ไม่ยัดเยียดความต้องการ แต่มาช่วยเสริมสิ่งที่คนในชุมชนต้องการ
  • ให้คนในชุมชนได้ทำในสิ่งที่ตนถนัด เพื่อสร้างความสุขและกระตุ้นกำลังใจ
  • เน้นการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้

.

สิ่งที่ได้รับจากการร่วมเรียนรู้

  • สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน
  • สร้างรายได้
  • ยกระดับฝีมือจากการเรียนรู้
  • สร้างคุณค่าให้กับตนเองและชุมชน

.

จากการพูดคุยทำให้ได้เห็นถึงมุมมองที่น่าสนใจและเห็นถึงผลลัพธ์ที่เชื่อว่าน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้ใครหลายๆคนได้ สำหรับใครที่สนใจ สามารถร่วมรับฟังการสนทนาที่จะพาทุกคนไปค้นพบแนวคิดใหม่ๆที่จะช่วยให้การเรียนรู้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นได้ที่นี่

รายการห้องเรียนอารมณ์ดี ในหัวข้อ “การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *