เด็กจบใหม่เครียด เหนื่อยหางานขั้นสุด

เป็นการเปิดเผยที่น่าตกใจ เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมชาติ ที่เรียกกันว่า สภาพัฒน์ ได้เผยรายงาน ภาวะสังคมไทย ระบุวา คนไทยว่างงานเพิ่มมากขึ้น เป็น 4.1 แสนคน เพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ได้รู้มาว่าผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน ส่วนใหญ่ ลาออก ขณะที่กลุ่มที่ไม่เคยทำงานมาก่อน ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาสูงสุดในระดับอุดมศึกษา เป็นตามลำดับ

  • คนจบ ป.ตรี หางานไม่ได้ เด็กจบใหม่เหนื่อยหางานขั้นสุด

นอกจากนี้ ผู้ที่ว่างงานมีระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เพิ่มมากขึ้นเช่นช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยระบุสาเหตุว่า หางานไม่ได้ ขณะที่ 71.3% ไม่เคยทำงานมาก่อน ซึ่งในจำนวนนี้ เกือบ 3 ใน 4 อยู่ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี   

ส่วนสำหรับการว่างงานในระบบอยู่ที่ 1.82% ลดลงมากทีเดียวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 1.93% โดยมีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานทั้งสิ้น 74,000 คน ซึ่งกว่า 95% เป็นแรงงานในภาคการผลิต  สำหรับสาขาที่การจ้างงานหดตัวลง  คือ สาขาขายส่ง/ขายปลีก ซึ่งลดลง 0.8% และสาขาการผลิตลดลง 1.4% โดยเฉพาะในสาขาการผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีผลผลิต ที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566 โดยสาเหตุหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่ทำให้โครงงานการผลิตแบบเดิมไม่ตอบสนองความต้องการของตลาด

  • คนไทยทำงานหนักขึ้น ชั่วโมงทำงานเพิ่มขึ้น

ชั่วโมงการทำงานของเด็กจบใหม่โดยรวมเพิ่มขึ้น แต่บางส่วนยังคงต้องทำงานเพิ่มขึ้นอีก โดย ปี 2567 แรงงานไทยมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยในภาพรวมเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2.0% หรือเพิ่มขึ้นเป็น 43.3 ต่อชั่วโมงต่อสัปดาห์ ขณะที่แรงงานในภาคเอกชนทำงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ๆ 2.7% หรือเพิ่มขึ้นเป็น 47.4 ชั่งโมงต่อสัปดาห์ โดยผู้ที่ทำงานล่วงเวลาเพิ่มมากขึ้นอยู่ที่ 3.8% แต่ก็ยังมีผู้ที่เสมือนว่างงาน และยังมีการว่างงานแฝง ลดลงกว่า 32.9% และ 27.2% ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ทำงานต่ำระดับกลับเพิ่มขึ้นกว่า 15.0% ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน ภาคเกษตรกรรม ขณะที่ในสาขานอกภาคเกษตรกรรมนั้นส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการขายส่ง/ขายปลีก และสาขาก่อสร้าง 

  • ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น เฉลี่ยในภาพรวมเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 15,718 บทต่อเดือน

ซึ่งค่าแรงจ้างงานเพิ่มขึ้นทั้งภาพรวมและภาคเอกชน ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ โดยเมื่อต้นปี 2567 ค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมของกลุ่มแรงงานในระบบ (ตามการจัดเก็บแบบเดิม) จัดอยู่ในที่ 15,718 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสสาม ปี 2566 อยู่ที่ 1.8% แต่ในขณะที่ค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมที่รวมกลุ่มแรงงานอิสระ อยู่ที่ 16,007 บาทต่อคนต่อเดือน ส่วนค่าจ้างเฉลี่ยของภาคเอกชน อยู่ที่ 14,522 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 2.7%  

  • เปิดลิสต์ 3 ประเด็น ด้านแรงงานที่ต้องให้ความสำคัญ 
  • การส่งเสริมการปรับตัวของแรงงาน โยกย้ายจากอุตสาหกรรมเดิมสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่

ในปัจจุบันหลายอุตสาหกรรม เผชิญการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทำให้โครงสร้างการผลิตแบบเดิม ไม่ตอบโจทย์ความต้องการเดิมของตลาด ซึ่งมันส่งผลให้แรงงานในสาขาดังกล่าวตกงานเป็นจำนวนมาก  ยกตัวอย่าง การผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ที่มีแรงงานอยู่จำนวนมากถึง 4.6 แสนคน ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแแปลงความต้องการของผู้บริโภค  เพราะหันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ส่งผลให้ยอดผลิต จำหน่ายรถยนต์ของสถานประกอบการในไทยมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและอาจจะมากขึ้นในอนาคต

ดังนั้น เพื่อที่จะบรรเทาความเสี่ยง ต่อการจ้างงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อาจจะต้องเพิ่มมาตรการในการส่งเสริม การปรับตัวของผู้ประกอบการ สามารถมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานของการผลิตใหม่ หรือ ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงผ่านไปสู่การผลิตอื่น ตลอดจนมีแนวทางให้แก่แรงงานเพื่อให้ความสามารถปรับตัวหรือเปลี่ยนอุตสาหกรรมได้

  • การเตรียมความพร้อมด้านทักษะด้านแรงงาน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ 

– กิจการดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่
– การประกอบและทดสอบเซมิคอนดักเตอร์และวงจร
– การผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
– การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
– การผลิตเครื่องจักรความแม่นยำสูง
– การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

        แต่อย่างไรก็ตามแต่ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านดิจิทัล ปี 2566 ของ IMD สะท้อนให้เห็นถึงบุคลากรของไทยยังมีถึงจุดอ่อน ยังต้องพึ่งพาแรงงานสงจากต่างชาติ ฉะนั้น เพื่อให้แรงงานไทยได้รับประโยชน์จากการลงทุนที่กล่าวมาตลอดจนในอุตสาหกรรมใหม่ๆ และต้องใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้นในอนาคต และพัฒนาทักษะของแรงงานไทยอย่างจริงจังโดยเฉพาะด้าน STEM  ซึ่งปัจจุบันยังมีข้อจำกัดทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ

  • อุทกภัยส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพ ทำสินค้าเกษตรแพงขึ้น

สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่นั้นก็เป็นสาเหตุและการได้รับความเสียหาย ทั้งจากการถูกน้ำท่วมสูง ดินโคลนทับถม และส่งผลต่อการเพาะปลูกของดิน ในระยะถัดไปอาจจะกระทบต่อค่าครองชีพของประชากรไทย เนื่องจากต้นทุนของวัตถุดิบสูงขึ้นด้วยเนื่องการขาดแคลน ซึ่งอยากจะให้กระทรวงพาณิชย์ ตรวจสอบราคาสินค้าไม่ให้มีการปรับเพิ่มสูงจนเกินไป ซึ่งมันจะกลายเป็นการซ้ำเติมภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นผู้ประสบกับปัญหาอุทกภัย

สรุป

ข้อมูลชุดนี้ได้มากจาก สภาพฒน์ และ กรุงเทพธุรกิจ ที่เผยสถิติการตกงานของเด็กจบใหม่ ที่ถึงแม้จะจบปริญญาตรีก็ยังสามารถที่จะหางานได้ยากเหมือนคนหางานทั่ว ๆ ไป เพราะพิษเศรษฐกิจและการปรับตัวใหม่ของเทคโนโลยี  

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *