จิตวิทยาที่สำคัญ สำหรับครู!

หนังสือ “จิตวิทยาสำหรับครู” เป็นหนังสือที่มุ่งเน้นหลักการคิดจิตวิทยาสำหรับคุณครู มาประยุกษ์ในการสอนโดยไปถึงการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน หนังสือเล่มนี้มีเป้าหมายเพื่อช่วยครูเข้าใจพัฒนาการทางจิตวิทยาของนักเรียน รวมถึงการเข้าใจและจัดการกับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อาจจะเสี่ยงเกิดขึ้นในห้องเรียน และความหมายสำหรับจิตวิทยาสำหรับมีความหมายดังข้อความต่อไปนี้

เพราะในสมัยโบราณเชื่อกันว่า จิต หรือ วิญญาณ เป็นสิ่งที่เราสามารถที่จะควบคุมอาการหรือกิริยาบทต่างๆ ของร่างกายและยังเป็นตำกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์จึงเป็นไปตามความเชื่อและความรู้สึก ซึ่งอาจจะได้รับรู้ของมนุษย์มีขีดจำกัดและไม่ได้มีการศึกษาอย่างมีระเบียบแบบแผนและไม่อาจพิสูจน์ได้จริง แต่ต่อมาเมื่อวิทยาการการศึกษาเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าขึ้น และสังเกตุได้จากการทดลองได้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิตวิทยาจึงได้เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นการศึกษาศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์

จิตวิทยาการศึกษา 

จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) เป็นศาสตร์ทางจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการ การเรียนรู้และองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้เพื่อนำหลักการดังกล่าว ไปใช้ในการเรียนการสอนที่ศึกษา เพราะดังนั้นหากนักศึกษาสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ได้เรียนครูก็จะมีการเรียนเรื่องจิตวิทยา ที่สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การดูแลช่วยเหลือและพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียน

จิตวิทยาสําหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ

ความต้องการพิเศษความหมายของคำนี้คือ คนที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเขาไปมีส่วนร่วมทางสัมคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา และการเรียนรู้หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับอุปสรรคในด่านต่าง ๆ ความจำเป็นพิเศษที่ต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเขาไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป

การพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

ผู้ที่เรียนทุกคนที่มีความเป็นมนุษย์และมีความสมดุลของร่างกาย ความรู้ คุณธรรม และมีจิตสำนึก ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพในที่นี่หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ที่ผู้เรียนแสดงออกมาในด้านการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ วางแผนการแก้ไขปัญหาเป็นความสามารถในการทำงานทั้งของตนหรือรวมกันเป็นทีมได้ และถ้าผลงานที่เกิดเป็นที่ยอมรับหรือบรรลุตามเป้าหมายของตนได้เป็นอย่างดี แสดงว่าผู้เรียนนั้นมีศักยภาพที่สูงและจัดการเรียนรู้ที่ตรงตามหลักสูตรแกนกลาง ของกาศึกษาขั้นพื้นฐาน ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

การแนะแนว และการศึกษารายกรณี

คือ การแนะแนวจิตวิทยาประยุกต์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยกระบวนการพัฒนาคนให้รู้จักตนเองอย่าง ถ่องแท้ รู้จักความถนัด ความชอบ สติปัญญา และภูมิหลังของตนเอง วิเคราะห์ตนเองได้ถูกต้อง รู้จักเลือก ได้อย่างเหมาะสมและสามารถดำเนินการชีวิตได้อย่างเป็นสุข พึ่งตนเองได้ ทั้งยังเป็นกระบวกการที่ส่งเสริมให้บุคคลได้มีบทบาทในการเรียนรู้เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพนั้นต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ความพร้อมในการเรียนรู้ ความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน การศึกษารายกรณีเพื่อให้รู้จักบุคคลได้อย่างละเอียดรอบด้านและช่วยเหลือบุคคลในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาตนได้เต็มศักยภาพมากยิ่งขึ้น

การให้คำปรึกษาและการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน

นอกจากครูมีหน้าที่ในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนแล้ว การให้คำปรึกษายังถือเป็นส่วนหนึ่งที่ครู จะต้องให้ความสำคัญ เนื่องจาก ปัจจุบันผู้เรียนหลายคนต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆหลายด้าน ทั้งปัญหาด้านการเรียน ปัญหาครอบครัว รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพจิต ซึ่งตามความจริงในฐานะผู้ที่มีความใกล้ชิดกับผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นในฐานะครูที่ปรึกษา ครูแนะแนว หรือผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ และ ทักษะในการให้คำปรึกษาเบื้องต้น เพราะเพื่อให้การช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม พัฒนาผู้เรียน ผลการปฏิบัติของตนเองและทราบแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาตนเองต่อไปในทางที่ดียิ่งขึ้นไปอีก

การใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา และการแนะแนวในการช่วยเหลือและส่งเสริมผู้เรียน 

หน้าที่ภาระของครู ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีความรู้ทางวิชาการแล้ว ยังมีอีกภารกิจหลักของคนที่เป็นครู คือ การช่วยเหลือผู้เรียนให้รู้จักเข้าใจตนเอง และสิ่งแวดล้อมรู้เท่าทันตนเองและสังคม มีสารสนเทศสอดคล้องกับความต้องการของตนเอง เพื่อที่จะให้ผู้เรียนนั้นสามารถตัดสินใจวางแผนได้ด้วยตนเองและสามารถพัฒนาตนเองให้ประสบความสำเร็จ ดังเป้าหมายของการศึกษา บทเรียนนี้ จึงมุ่งหวังให้นักศึกษาครู สามารถนำความรู้เกี่ยวกับทางจิตวิทยาและการแนะแนวไปใช้ในการช่วยเหลือและส่งเสริมผู้เรียนได้  

ครูกับการสร้างความสัมพันธระหว่างชุมชน และผู้ปกครอง

พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานของผู้เรียนและการพัฒนาการเรียนรู้ของลูก เพราะพ่อแม่นั้นเปรียบเสหมือนครูคนแรกของลูก เป็นผู้อบรมเลี้ยงดูลูกให้มีการพัฒนาอย่างสมวัย ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์และสังคมการจัดการศึกษาให้เกิดผลดี มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครอง จะต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมมาใช้ทั้งนี้เพราะเมื่อพ่อแม่มีการจัดรายการ ก็ยิ่งพัฒนา ส่งผลให้ประชาชนหวงแหนสถานศึกษา และในยุคปัจจุบันโรงเรียนต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทั้งด้านการวางแผน การพัฒนาหลักสูตร การร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียน การบอกความต้องการของชุมชน ขณะเดียวกันพ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชนต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนด้านวิชาการโดยโรงเรียนคือแหล่งวิชาการของชุมชนเป็นศูนย์

 

ขอบคุณข้อมูล และรายละเอียดที่มาของข้อมูลจิตวิทยาสำหรับครู  https://drive.google.com/…/1AfhOt50qQ0ktIAdMfzv…/view…

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *