มทร.ธัญบุรี ร่วมมือมทร.ตะวันออก จัดอบรมหลักสูตร “การยกระดับความเป็นนวัตกรชุมชน ด้วย Watpon.tools” แก่ชุมชนในอ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

#หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (หน่วยวิจัยระดับดีเด่นประจำปี 2567) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ฉลองความสำเร็จด้วยการสานต่องานวิจัยเพื่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง จากงบประมาณหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้กรอบการวิจัย “การขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและแก้หนี้ครัวเรือน” ภายใต้แผนงานย่อยรายประเด็น “การเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตนเองได้และกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น” ประจำปีงบประมาณ 2567

วันที่ 2 – 3 ธันวาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประชุม คำพุฒ หัวหน้าหน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี หัวหน้าเรื่อง “การขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตวัสดุก่อสร้างและตกแต่งจากขยะชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย” ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมทบ สันติเบ็ญจกุล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ตะวันออก และ ดร.วุฒิชัย ยังสว่าง หัวหน้าโครงการวิจัย “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครื่องอัดวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชุมชนในพื้นที่” จัดอบรมเชิงปฏิบัติหลักสูตร “#การยกระดับความเป็นนวัตกรชุมชน ด้วย Watpon.tools” ณ ว.โชคชัย รีสอร์ท แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์ รักษ์ทะเล เสน่ห์บ้านอำเภอ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตวงสิริ สยมภาค ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ตะวันออก เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินนวัตกรจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2 ท่าน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พันทิพา อมรฤทธิ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ประภา พาลพ่าย อีกทั้งนวัตกรชุมชน ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์ รักษ์ทะเล เสน่ห์บ้านอำเภอ (คุณอนุสรณ์ สายนภา) และทีมงานนวัตกรชุมชน ที่ประสบความสำเร็จในด้านการจัดการขยะชุมชนชายทะเล เป็นผู้ฝึกปฏิบัติการอัพไซคลิ่งขยะชุมชนและขยะการเกษตร

ในการนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมนวัตกรชุมชนมากกว่า 60 คน จากชุมชนมากกว่า 16 ชุมชน โดยมุ่งหวังให้นวัตกรชุมชนสามารถประเมินระดับตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีทฤษฎีรองรับ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์และให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อแหล่งทุนอุดหนุนวิจัยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในการยกระดับนวัตกรชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

#บพท. #เทคโนโลยีที่เหมาะสม #นวัตกรชุมชน #หน่วยวิจัยระดับดีเด่น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *