ประเด็นดราม่าการศึกษาไทย #ปี2567

ใกล้สิ้นปีอย่างงี้ EDUZONES จะมาสรุปประเด็นที่น่าสนใจและเป็นประเด็นร้อนแรงของการศึกษาในปีนี้กันดีกว่า 

.

ประเด็นแรก การประกาศเลื่อนสอบของ ทปอ. ถือว่าดราม่านี้ เป็นประเด็นร้อนแรงที่เรียกได้ว่า ติดเทรนด์ทวิตข้ามวันกันเลยทีเดียว จากกรณีเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้เลยทำให้วันทีั่ 1 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมาที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศให้เลื่อนสอบ จากกกำหนดการเกิด 7 – 9 และ 14 ธันวาคม เป็นวันที่ 21 – 23 ธันวาคม โดยข้อสอบจะใช้ข้อสอบชุดใหม่ที่แตกต่างจากชุดเดิม เหล่า #DEK68  จึงออกมาเรียกร้องเพราะไม่ยุติธรรม จึงอยากให้เลื่อนไปทั้งประเทศเพื่อความเท่าเทียม และเมื่อ 30 พ.ย. ที่ผ่านมาผลสรุปของข้อเรียกร้องไม่เป็นผลสำเร็จ จึงเป็นที่มาของคำว่า “เอาอนาคตของเด็กมาล้อเล่น” แต่ในทั้งนี้ เรื่องนี้ ยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดแม้ว่าจะใกล้ถึงวันสอบแล้วก็ตาม ซึ่งน้องๆ ในพื้นที่ภาคใต้จังหวัดปัตตานีและสงขลา ขอให้ติดตามข้อมูลในระบบเรื่อยๆ เกี่ยวกับวันสอบและสถานที่สอบใหม่ ส่วนน้องๆ จังหวัดอื่นๆ ที่ไม่ได้รับผลกระทบ ขอให้เตรียมตัวสอบในวันที่ 7-9 ธ.ค.67 นี้อย่างเต็มที่นะคะ

.

ประเด็นสอง ไข่ต้ม “หนังสือภาษาพาที”  แหมะ แค่ไข่ต้ม ก็สามารถเป็นดราม่าได้ด้วยหรองั้นเรามาดูกันว่าทำไมแค่ “ไข่ต้ม” ถึงเป็นดราม่าได้ กลายเป็นประเด็นดราม่าขึ้นมาทันที เมื่อเฟสบุ๊กแฟนเพจ “มาดามแคชเมียร์” ได้โพสต์ภาพหนังสือ “ภาษาไทยพาที” หนังสือเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น ป.5 ที่มีเนื้อหากล่าวถึง “เด็กหญิงใยบัว” เด็กที่บ้านมีฐานะร่ำรวย ซึ่งไม่พอใจที่พ่อแม่ไม่ยอมซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ให้กับเธอ ได้มากินข้าวที่บ้านเด็กกำพร้าของ “เด็กหญิงข้าวปุ้น” และมีโอกาสได้เรียนรู้ชีวิตที่แตกต่างกับเธอ โดยข้อความบางตอนของหนังสือที่กำลังเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ คือการบรรยายการกินของเด็กในบ้านของข้าวปุ้น ที่มีอาหารเป็นผัดผักบุ้งและไข่ต้มครึ่งซีก แต่ถึงแม้จะมีอาหารเพียงน้อยนิด แต่บ้านของข้าวปุ้นก็เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ จนใบบัวน้ำตาคลอ เลยกลายเป็นว่า การศึกษาให้เด็กไทยเรียนอะไรและส่วนใหญ่หยิบยกประเด็นการกินอาหารของเด็ก ที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการที่เด็กควรได้รับ ทั้งตั้งคำถามกับการปลูกฝังทัศนคติเรื่องความพอเพียง รวมไปถึงเรื่องการมองความจนเป็นเรื่องโรแมนติก  และขอยกตัวอย่างความคิดของนักการเมืองมาประกอบ ประเด็นนี้

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร จากพรรคก้าวไกล ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นว่า “ไม่เห็นด้วยอย่างมาก” กับเนื้อหาที่ปรากฏ เนื่องจากการปล่อยให้เด็กกินข้าวกับผัดผักบุ้งและไข่ต้มหนึ่งซีกไม่เพียงพอต่อการเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็ก ไม่เพียงเท่านั้น เนื้อหาดังกล่าวยังสอนให้เด็ก “จำนนต่อโชคชะตายอมรับสภาพกับการกิจเข้าเปล่าราดน้ำปลาบี้ไข่ หรือข้าวเปล่าคลุกกับน้ำผัดผักบุ้ง” พร้อมระบุว่าไทยควรลดงบประมาณในการจัดซื้ออาวุธที่ไม่จำเป็นและแพงเกินจริง เพื่อนำมาจัดสรรเป็นสวัสดิการให้กับเด็ก ๆ 

.

ประเด็นสาม การปรับเวลาเรียน ทุกคนน่าจะรู้กันอยู่แล้วเรื่องเวลาเรียนที่มีการปรับ เพิ่ม หรือ ลด กันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นข้อถกเถียงกันอยู่เตลิดเวลาวันนี้เรามาอ่านสรุปประเด็นนี้กันดีกว่า ว่าทำไม “การปรับเวลา” ถึงมีดราม่าขึ้นมา แน่นอนว่ามาจาก เพจหมอแล็บแพนด้า ได้ทำการแชร์โพสต์จากเพจโรงเรียนแห่งหนึ่ง โดยระบุข้อความว่า  ผู้ปกครองวิพากษ์วิจารณ์หลังโรงเรียนให้เด็กเข้าเรียน 07.30 น. เลิกเรียน 17.10 น. เพื่อคุณภาพการเรียนการสอน จึงทำให้เกิดกระแสร้อนแรงในโลกออนไลน์ มีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก  แต่ทางเพจโรงเรียนก็ได้ออกมาชี้แจงกับประเด็นดังกล่าว โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ มีความมุ่งหวังพัฒนาทักษะและมรรถนะที่จำเป็นแห่งอนาคต ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการยกระดับคุณภาพการศึกษา แต่จากการปรับเปลี่ยนเวลาเรียนดังกล่าวได้ทำให้ ผู้ปกครอง และ นักเรียนเกิดการกังวล และเสียงวิจารณ์จากทั้ง นักเรียน ผู้ปกครอง ว่าสมเหตุ สมผล หรือไม่กับการให้เด็กเลิกเรียน 17 : 00  น.  ดัง สถานศึกษาจึงมีมิตกันดังนี้

  1. ดำเนินกิจกรรมหน้าเสาธงเวลา 07.40-08.30 น.
  2. ปรับเวลาเรียนเป็น คาบเรียนละ 50 นาที เริ่มเรียนคาบเรียนที่ 1 เวลา 08.30 น.
  3. นักเรียนเลิกเรียนตามแผนการเรียน อาทิ 13.40 น. 14.40 น. 15.30 น. และ 16.20 น.นักเรียนสามารถกลับบ้านได้ตามปกติ

 

ประเด็นที่สี่ ครูบ่นเด็กมักง่าย ซ้ำชั้นได้ต้องเข้าใจหลักวัดผล ประเด็นนี้ดุเหมือนคนจะเริ่มสนใจเกี่ยวกับประเด็นนี้มากขึ้น และเป็นที่ถกเถียงกันว่า ควรไหมที่ให้เด็กนักเรียนซ้ำชั้น เนื่องจากมีดราม่า เด็กขี้เกียจส่งการบ้าน มักง่ายทำแบบขอไปทีซึ่งเป็นความคิดเห็นของคุณครูท่านหนึ่ง   สพฐ. จึงออกมาชี้แจงดราม่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่าทำได้แต่ก็ต้องเห็นถึงความเหมาะสมด้วย แต่ทั้งนี้ สำหรับประเด็นที่ครูต้องการให้โรงเรียนประกาศนโยบายเรียนซ้ำชั้นนั้น ข้อเท็จจริงแล้วเป็นอำนาจของสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษานั้นสามารถให้เด็กนักเรียนสามารถซ้ำชั้นได้ หากพบปัญหาที่เกิดกับนักเรียน ในกรณีไม่ผ่านรายวิชาในจำนวนที่มาก และมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาต่อการเรียนในระดับที่สูงขึ้น หรือไม่บรรลุผลการเรียนรู้ใดๆ และครูรวมทั้งผู้บริหารร่วมกันหาแนวทางที่เหมาะสมกับเด็ก เพราะงานที่ให้เด็กทำอาจไม่ตอบโจทย์ความถนัดของเด็ก แต่วิธีอื่น อาจได้เด็กที่มีคุณภาพที่ตัวตนซึ่งต่างวิธีกันแต่คุณภาพที่ติดตัวเด็กเหมือนกัน ถือเป็นความท้าทายของผู้อำนวยการโรงเรียนที่เป็นผู้นำทางวิชาการที่ควรร่วมสร้างเด็กคุณภาพด้วยวิธีการที่หลากหลายร่วมกับคณะครู แต่อย่างไรก็ตาม “สพฐ.ได้กำชับให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และสถานศึกษาทุกแห่ง เร่งทำความเข้าใจ ให้ได้รับรู้รับทราบข้อเท็จจริง ให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องของการวัดและประเมินผลการศึกษา และดำเนินการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งผู้เรียนและผู้สอน เป็นไปตามนโยบาย ‘เรียนดี มีความสุข’ ของกระทรวงศึกษาธิการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม”

.

ทั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ยกมา และ สรุปเนื้อหาของประเด็น ว่าตอนนี้การศึกษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การปรับโครงสร้างของการเรียนการสอน การมองข้ามของการศึกษาของเด็กน้อยที่อาจจะเป็นความหวังของประเทศ จะต้องหมดหวังเพราะการพัฒนาของการศึกษาไทย วันนี้ EDUZONES อยากจะเป็นกำลังใจเล็ก ๆ ให้น้อง ๆ ที่กำลังเรียนอยู่ว่าอย่าหมดหวัง และ เตรียมตัวให้พร้อมกับการสอบเข้ามหาลัยนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *