กสศ. กำหนดการ Exclusive Seminar ถอดรหัสช่วยเหลือเด็กนอกระบบ ข้อค้นพบจากชีวิตจริง และปมปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันแก้ไข
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หรือ Equitable Education Fund (EEF) กำหนดการ Exclusive Seminar การสัมมนาพิเศษ เพื่อถอดรหัสการช่วยเหลือ เด็กนอกระบบ ข้อค้นพบจากชีวิตจริงและปมปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันแก้ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุมสานพลัง ชั้น 12 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา อาคารเอส.พี. ทาวเวอร์
ดร. ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการ กสศ. กล่าวในหัวข้อ “เพราะมองหา จึงมองเห็น” ว่า ‘ระดับการศึกษา’ เป็นหนึ่งในทุนของมนุษย์ที่ส่งผลสำคัญระหว่างคนต่างรุ่น เช่นเดียวกับความยากจน จากการรวบรวมข้อมูล ณ เดือนธันวาคม ปี 2567 ประเทศไทย มีจำนวนเด็กและเยาวชนที่ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษา รวมทั้งหมดจำนวน 982,304 คน ก่อนการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 279,296 คน อยู่ระหว่างการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 387,591 คน และหลังการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 315,417 คน
การวิเคราะห์ข้อมูลการเลื่อนฐานะระหว่างรุ่นในสังคมไทย ของธนาคารโลก ในปี 2563 พบว่า หากพ่อแม่ได้รับการศึกษาระดับต่ำ ลูกส่วนใหญ่ก็จะมีแนวโน้มได้รับการศึกษาระดับต่ำตามไปด้วย จากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูก 16% ได้รับการศึกษาระดับสูงหรือมหาวิทยาลัย 34% ได้รับการศึกษาระดับกลาง ชั้นประถมฯและชั้นมัธยมฯ และ 49% ได้รับกาศึกษา ต่ำกว่าชั้นประถมฯ ถ้านักเรียนที่อยู่ใต้ข้อจำกัดของความยากจน ได้รับการศึกษาสูงกว่าภาคบังคับ จะช่วยสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (IRR) สูงถึง 9% นอกจากนี้ยังสามารถส่งเสริมการเพิ่มรายได้เฉลี่ยหลังสำเร็จการศึกษาของเยาวชนไทยตลอดช่วงชีวิต ที่ในปี 2564 มีค่าเฉลี่ย 20,920 บาทต่อเดือน
มาตรการ Thailand Zero Dropout หรือ TZD
แนวทางการดำเนินงานเพื่อการค้นหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาผ่านการบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
- ข้อมูลเด็กและเยาวชนในระบบการศึกษาบางกลุ่ม ยังไม่สามารถรวบรวมข้อมูลได้
- นโยบายการช่วยเหลือเด็กเยาวชนนอกระบบกลุ่มที่ไม่มีสัญชาติไทย ?
- เด็กเยาวชนที่มีสถานะอาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านกลาง หรือมีสถานะย้ายไปต่างประเทศ
- เด็กและเยาวชนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนสอนศาสนา
รศ. ดร. ลือชัย ศรีเงินยวง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเด็ก เยาวชนนอกระบบ กสศ. กล่าวในหัวข้อ “หลังฉากของข่าว ชีวิตบนโลกความจริงของเด็กนอกระบบการศึกษา” ว่า ชีวิตของเด็กๆ เสมือนสเปกตรัม แต่ละคนมีขึ้นลงมีความต่อเนื่องมีสีสันต่างกันออกไป ส่วนใหญ่มนุษย์เรามักจะมองภาพเหมารวมก่อน อาจไม่ได้มองลงลึกถึงรายละเอียดภายใน สำหรับมาตรการ Thailand Zero Dropout (TZD) อุปสรรคที่พบเกี่ยวข้องกับทั้งวิธีคิดและวิธีการ
- เข้าไม่ถึงความซับซ้อน (เดี่ยวๆ แยกส่วน เส้นตรง หรือ กลไก)
- เครื่องมือ/วิธีการ (วิทยา) แบบคนนอก มองออก ตัดสิน เข้าไม่ถึงชีวิต ชายขอบ
- ติดอยู่ที่ผิวหน้า/ระดับปรากฏการณ์ (ไม่เชื่อมโยงกับโครงสร้างและวิธีคิดรากเหง้า)
สารพันปัญหาเหล่านี้คือ อาการ (symptoms/ manifestations) ของวิกฤติ ซึ่งมีความเชื่อมโยงเป็นระบบ (systemic) เป็นอาการที่เกิดจากฐานวิกฤติเดียว คือวิกฤติกระบวนทัศน์ (Different facets of a single crisis – crisis of perception of realities/worldview/ paradigm) ที่ไม่อาจแก้ทีละส่วนๆ ด้วยการใช้ทัศนะชุดเดิมๆ
นายพัฒนพงศ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการ กสศ. กล่าวในหัวข้อ “เด็กที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ” เยียวยาบาดแผลเด็กนอกระบบ : สร้างพื้นที่ปลอดภัยในสังคมไทย นำเสนอ ข้อค้นพบจากกรณีศึกษาชีวิตจริงเด็กนอกระบบการศึกษาและวงร่วมแลกเปลี่ยน ว่า 8 มาตรการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่น ได้แก่
- หลักประกันโอกาสทางการศึกษา (สร้างหลักประกันเพื่อป้องกันเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาด้วยทุนเสมอภาค ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน)
- การปรับการเรียนการ 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ (ขยายตัวแบบ 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ ให้ครอบคลุมตามนโยบาย 1 อำเภอ 1 โรงเรียน)
- ศูนย์การเรียน ตาม พ.ร.บ การศึกษา มาตรา 12 (การจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน การจัดการศึกษาตามมาตรา 12)
- ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ สกร.จ. (การดำเนินการเพื่อลดอุปสรรคให้เกิดการจัด การศึกษาที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล)
- ตำบลต้นแบบ การจัดการศึกษาโดยหน่วยงานพื้นที่ร่วมกับสถาบันการศึกษา (สร้าง “ตำบลต้นแบบ” ดึงภาคีหุ้นส่วนในพื้นที่จัดการศึกษากับสถานศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นตำบล Zero Dropout)
- โรงเรียนมือถือ Mobile School (การใช้เทคโนโลยีช่วยอำนวยการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกสถานที่ทุกเวลา)
- การเทียบฌอนหน่วยกิต Credit Bank (พัฒนาระบบ Credit Bank เพื่อรองรับการเทียบโอนวุฒิการศึกษาและคุณวุฒิวิชาชีพ)
- การเรียนรู้และส่งเสริมการสร้างรายได้ Learn to earn (บูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อสร้างการเรียนรู้และส่งเสริมการสร้างรายได้)