รู้หรือไม่! มีเด็กและเยาวชนหลุดออกจากนอกระบบการศึกษา 1.02 ล้านคน
จากข้อมูลล่าสุดของทะเบียนราษฎร์รายบุคคล ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาไทย เรามารู้จักกับตัวเลขของ “เด็กและเยาวชนนอกระบบการปรึกษา” มันมาจากไหน ?
.
“1.02 ล้านคน” มาจากไหน มาจากตัวเลขของเด็กและเยาวชนไทย ที่ไม่มีแม้แต่ข้อมูลนระบบการศึกษา ปีการศึกษา 2566 จากจำนวนเด็กในช่วงวัยนี้มีทั้งหมดกว่า 12 ล้านคน
เพราะการมาของตัวเลขดังกล่าวนี้ เกิดจากเป้าหมายของรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญกับอนาคตของเด็กไทยและเยาวชน จึงผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันสรุปจำนวนที่ ชัดเจนว่า ในปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาอยู่เท่าไหร่ เพื่อที่จะได้ ทำการ ค้นหา ช่วเหลือ ส่งต่อ ดูแล ให้กลับเ้าสู่ระบบการศึกษา ได้เรียนรู้ พัฒนาตนเองตามศักยภาพและความสนใจ ตรงตามนโยบาย “Thailand Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” เพื่อให้ได้มาซึ่งของจำนวน
และสาเหตุของการที่เด็กและเยาวชนไทยหลุดออกจากระบบการศึกษาไทย
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เชื่อว่าเด็กบางคนต้องทำงานพาร์ทไทม์เพื่อที่ช่วยเหลือครอบครัวและการเข้ามาเพื่อหมุนการใช้จ่ายในการไปเรียนในแต่ละวัน นอกจากนั้นยังมี
ความไม่พร้อมของระบบการศึกษาไทย ระบบการศึกษาอาจไม่มีการรองรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ หรือไม่มีโครงสร้างที่เหมาะสมกับเด็กบางกลุ่ม
ปัญหาทางสังคมและวัฒนธรรม: สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น การคุกคามจากเพื่อน หรือการเหยียดเชื้อชาติ การศึกษาไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเด็กได้
ขอบคุณภาพจากเพจ กสศ.
และ ปี 2566 ที่ผ่านมา กระทรวงของดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เป็นเจ้าภาพทำ Data Cleansing จัดการพื้นพื้นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการเชื่อมโยงข้อมูลของนักเรียนรายบุคคลใน 21 สังกัดหน่วยการจัดการศึกษา เรามาดูกันดีกว่าว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.)
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บช.ตชด.)
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.)
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
และยังมีหน่วยงานอีกมากมายที่ไม่ได้พูดถึงและเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษา เพราะการจับคู่ข้อมูลเข้ากับฐานทะเบียนราษฎร์รายบุคคล ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ทำให้พบตัวเลขเด็กและเยาวชน อายุ 3 – 18 ปี (เทียบเท่าระดับชั้นอนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6) ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษา จำนวน 1,025,514 คน คิดเป็น 8.4% ของจำนวนประชากรช่วงวัยนี้ที่มีอยู่ทั้งสิ้น 12,200,105 คน
ในจำนวนนี้อยู่ในช่วงวัยการศึกษาภาคบังคับ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือช่วงอายุ 6 – 14 ปี) จำนวนทั้งสิ้น 394,039 คน คิดเป็น 38.42% ของเด็กและเยาวชนที่ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษา อยู่ในช่วงปฐมวัย (ชั้นอนุบาล อายุ 3 – 5 ปี) จำนวน 317,024 คน และช่วงวัยหลังการศึกษาภาคบังคับ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือช่วงอายุ 15 – 18 ปี) จำนวน 314,451 คน
และนี่คือจำนวนเด็กและเยาวชนไทยที่หลุดออกจากระบบการศึกษา กสศ. คาดว่าอีกไม่กี่เดือนจะนำเด็กไทยเข้าระบบการศึกษาได้ทั้งหมด