BTU : โมเดลความสำเร็จในการสร้างการศึกษาควบคู่การสร้างนักกีฬา
BTU: โมเดลความสำเร็จในการสร้างการศึกษาควบคู่การสร้างนักกีฬา
เขาว่ากันว่ามหาวิทยาลัยเป็นใบเบิกทางชีวิตจริงไหม ? วันนี้ขอมาเอาใจคอกีฬา แอบส่องเบื้องหลังความสำเร็จ มาดูกันสิว่า เหล่านักกีฬาทีมชาติแต่ละคน ว่ามหาวิทยาลัยมีส่วนช่วยก้าวสู้จุดสูงสุดได้แค่ไหน
วันนี้ ขอยกตัวละครเอกให้กับ “มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี” ต้องบอกเลยว่า ที่นี้ของเด็ดของจริง เพราะสร้างนักกีฬาทีมชาติมาแล้วนักต่อนัก เชื่อว่าต้องมีไม่ต่ำกว่า 3 ชื่อที่พูดมาแล้วทุกคนรู้จักอย่างแน่นอน
“เทนนิส พาณิภัค” แชมป์เทควันโดหญิงเดี่ยว
นาทีนี้ คงไม่มีใครไม่คุ้นชื่อ “เทนนิส หรือ เรืออากาศโทหญิง พาณิภัค วงศ์กีพัฒนกิจ” นักกีฬาเทควันโดหญิง ผู้คว้า 2 เหรียญทอง 1 เหรียญทองแดง ให้แก่ประเทศไทย ภาพรวมของเทนนิส คว้าแชมป์กว่า 52 รายการ ถือเป็นแชมป์เวิล์ดกรังด์ปรีซ์ 12 สมัย เยอะที่สุดในโลก
เทนนิส เพิ่งคว้าปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มาสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อสองปีที่ผ่านมา แม้เทนนิสจะไม่ได้เรียน คณะที่เกี่ยวกับทางด้านกีฬาโดยตรง แต่เธอเลือกเรียนคณะรัฐศาสตรเพื่อมาถึงอาชีพการงานในระยะยาว แต่เทนนิสเองก็ยอมรับว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีเป็นอีกหนึ่งเบื้องหลังความสำเร็จของเธอ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เปิดโอกาสให้ เทนนิส ได้มีเวลาซ้อมกีฬา ไปควบคู่กับการเรียนในวิชาเฉพาะที่เธอสนใจ โดยแบ่งเวลาจากการซ้อมมาเรียยนออนไลน์ หรือใช้เวลาวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ชดเชยคลาสเรียน แบบไม่ขาดตกบกพร่อง ได้รับความรู้เต็มรูปบบเทียบเท่าคนอื่น จนเธอคว้ารางวัลนักเรียนดีเด่น กลายเป็นที่ภาคภูมิใจ จนเทนนิสออกปากเองว่าอยากเอารางวัลนี้ไปตั้งโชว์ที่บ้าน
แต่ยังไม่พอ ! คนเก่งต้องได้รับการสนับสนุน มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ยังได้มอบเงินรางวัลถึง 1 ล้านบาท ! พร้อมทุนการศึกษาปริญญาเอก เพื่อเป็นการสนับสนุนคนที่มีความตั้งใจ ล่าสุด เทนนิสเองก็เลือกเรียนต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีอีกครั้ง เลือกเรียนที่เดิมกับปริญญาถึง 2 ใบแบบนี้ ต้องบอกเลยมหาวิทยาลัยธนบุรีเป็นเบื้องหลังความสำเร็จ และเส้นทางของเทนนิส พาณิชภัคจริง ๆ
“วิว กุลวุฒิ” แชมป์แบดมินตันโลกชายเดี่ยว เหรียญเงิน
อีกหนึ่งชื่อที่ตามกันมาติด ๆ ก็สุดหล่อของเรา อย่าง “วิว กุลวุฒิ วิทิตศาสนต์” นักกีฬาแบดมินตันชาย ประเภทเดี่ยว ที่เพิ่งคว้าแชมป์โลกในกีฬาโอลิมปิกปีล่าสุด มาให้คนไทยได้ชื้นชม ได้ชื้นใจ
สำหรับวิวเอง ต้องบอกเลยว่า เป็นเลือดของกรุงเทพธนบุรีที่แท้จริง เพราะตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ชั้นปริญญาตรี ในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ที่ผลักดันให้ วิว ได้แสดงศักยภาได้อย่างเต็มที่จนกลายเป็นประวัติศาสตร์หนน้าใหม่ในรอบ 32 ปีของไทย
ต้นสังกัดของวิว โณงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด มีมุมองในการปั้นนักกีฬาแบบเด่นชัด ถ้าเด็กคนไหนมีศักยภาาพด้านกีฬา ก็ผลักดันอย่างเต็มที่ ให้ “กีฬาเป็นหลัก เรียนเป็นรอง” มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ถึงได้เป็นคำตอบของวิว เพราะการเรียนไม่เคยเป็นอุปสรรคในการซ้อม เขาสามารถเรียนไปพร้อมกับการสอนได้อย่างราบรื่น ไม่เป็นปัญหา และใช้เวลาอย่างคุ้มค่าที่สุด
เพราะมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ไม่ใช่แค่สถานศึกษาโดยทั่วไป เพราะคอยจัดตารางเวลาเรียนพิเศษให้แก่เหล่านักกีฬาที่ต้องเดินทางไปแข่งขัน ไม่ได้ต้องกลัวเลยว่า ระหว่างเวลาที่กำลังไปสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศจะกระทบต่อการศึกษาที่อยากทำ โดยไม่ลดมาตรฐานหลักสูตรแต่อย่างใด แต่จัดเป้นติวพิเศษแทน ไม่มีขาดตดบกพร่องที่ได้เรียนน้อยกว่าเพื่อน ๆ คนอื่น ๆ แน่นอน เพราะทำสองอย่างควบคู่กันได้ในที่แห่งนี้
ยกตัวอย่างมาแค่นี้อาจจะยังไม่เห็นภาพไม่ชัด ยังมีนักกีฬาทีมชาติคนอื่น ๆ ที่ตบเท้า เข้ามาเรียน มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ไม่ว่าจะเป็น “เมย์ รัชนก นักกีฬาแบตมินตัน” “กมลชนก ขวัญเมือง นักกีฬาว่ายน้ำ” “ฉลามจัส ดุลยวัต นักกีฬาว่ายน้ำ” และ “ภูมิพล นักกีฬากรีฑา” ถ้ายังเห็นภาพไม่ชัด สรุปง่าย ๆ คือ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มีนักกีฬาทีมชาติไทยที่เรียนอยู่มากถึง 115 คน !! ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีนักกีฬาทีมชาติไทยเรียนเยอะที่สุด !
- นักกีฑากีฑา 24 คน
- นักกีฬาเทควันโด 14 คน
- นักกีฬาเรือพาย 12 คน
- นักกีฬาแบตมินตัน 11 คน
- นักกีฬาเซปักตะกร้อ 9 คน
- นักกีฑาว่ายน้ำ 8 คน
- นักกีฬาปันจักสีลัต, คิ๊กบ็อกซิ่ง 7 คน
- นักกีฬาคาราเต้ 6 คน
- นักกีฬาเทนนิส 6 คน
- นักกีฬายิงปืน 5 คน
- นักกีฬาวูซู 3 คน
- นักกีฬายูยิตสู 3 คน
- นักกีฬายูโด 2 คน
- นักกีฬาเปตอง 1 คน
- นักกีฬาเทเบิลเทนนิส 2 คน
- นักกีฬาเพาะกาย 1 คน
แล้วแบบนี้ มหาวิทยาลัยกรุงทเพธนบุรี มีส่วนในการสร้างความสำเร็จเหล่านี้อย่างไร ? ถ้าถามขาดอะไรคงจะง่ายกว่า เพราะมหาวิทยาลัยกรุงทเพธนบุรี เตรียมพร้อมจัดเต็มอำนวยความสะดวก ให้เหล่านักศึกษาที่ใฝ่อยากเป็นอยากเป็นกีฬาทีมชาติ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ฝึกและสนามกีฬาต่างๆ, ศูนย์ฝึกศักยภาพนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย, ศูนย์ฝึกสมาคมกีฬาเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทยและอาเซียน, ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและฟิตเนส แบบนี้ ครบจบในรั้วมหาวิทยาลัย จะเรียนหรือจะเป็นนักกีฬาก็สามารถทำควบคู่กันได้
.
เท่านั้นยังไม่พอ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรียังให้ความสนันบสนุนด้านทุนการศึกษา ! ทำดีต้องได้ดีคงไม่เกินจริงเพราะมีทั้งทุนการศึกษาสำหรับนักกีฬาทีมชาติ เกรด a, ทุนการศึกษาสำหรับนักกีฬาเยาวชนทีมชาติ เกรด b และทุนการศึกษาสำหรับนักกีฬา”โครงการเด็กสร้าง”แม้จะได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ขอแค่คัดติด ได้สิทธิ์ เรียนฟรี อยู่ฟรี ดูแลแบบใกล้ชิด ยังไม่รวมถึงเงินอัดฉีด และเงินรางวัลพิเศษเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ตั้งแต่ปริญญาตรีไปจนถึงปริญญาเอก
ส่วน ผลงานความสำเร็จของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ลอกเลยว่า ไม่มีผิดหวัง อั้นมาแน่น ๆ เน้น ๆ ทุก ๆ ครั้งในการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ต้องคว้าเหรียญติดไม้ติดมือกันมาให้ได้ชื่นชมกันตลอด
- ได้แชมป์เจ้าเหรียญทองการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย 6 สมัยติดต่อกัน
- ได้รับเหรียญทองการแข่งขันกีฬาเทควันโด ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
- ได้เหรียญเงินการแข่งขันกีฬาแบดมินตัน ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
- ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อ ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์หลายสมัย 5
- ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ในหลายชนิดกีฬา เช่น กรีฑา ว่ายนำ้ เซปัก ตะกร้อ เทควันโด เทเบิลเทนนิส ฯลฯ
- ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกหลายชนิดกีฬา
- ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน
อ่านมาจนถึงตอนนี้แล้ว จะเรียกได้ว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยของนักกีฬาทีมชาติ ก็คงจะไม่เกินจริง เพราะสิ่งที่ดีที่สุดของการเป็นนักกีฬา ไม่ใช่แค่มีเวลาฝึกซ้อม ต่ต้องได้รับการสนับสนุนที่ดีพอ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ก็คงเป็นอีกหนึ่งเบื้องหลังความสำเร็จของเหล่านักกีฬาทีมชาติไทย