เพราะแผนการสอนเปรียบเหมือนแผนที่นำทาง…มาดู 6 เทคนิคพัฒนาแผนการสอนสำหรับครู

 

หนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้การดำเนินการเรียนการสอนของครูได้ประสิทธิภาพนั้น ก็คือ แผนการสอนหรือแผนจัดการเรียนรู้ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนในทุกระดับชั้น แผนการสอนนั้นเปรียบเสมือนแผนที่นำทางที่ช่วยให้ครูสามารถดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนได้เหมาะสม ตรงตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ

 

 

istock-154972365

ดังนั้นการที่จะมีแผนที่นำทางที่ดีนั้นก็ต้องเริ่มจากการวางแผนและวาดแผนที่ของคุณ(ครู) ออกมาให้ดีเสียก่อน ซึ่งลักษณะของการเขียนแผนการสอนที่ดีควรมีดังนี้ คือ

 

  1. มีความละเอียด ชัดเจน ครบถ้วน และครอบคลุมทุกองค์ประกอบของการออกแบบแผนการสอน โดยสามารถตอบคำถามได้ว่าสอนอะไร มีจุดประสงค์อย่างไร โดยวิธีไหน และจะวัดผลแบบใด

 

  1. แผนการสอนควรเกิดจากการคิดและสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยตัวครูผู้สอนเอง นอกจากนี้ยังต้องเป็นแผนการสอยนที่คำนึงความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญควบคู่กับสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ตามหลักสูตร และสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับแผนการสอน คือ จะต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

 

  1. มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องสัมพันธ์กัน ระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้จัดทำขึ้น ซึ่งในการจัดทำแผนการสอน จะต้องมีการจัดทำตารางวิเคราะห์หลักสูตรขึ้นมาก่อน เพื่อกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดที่ต้องการวัดในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ จากนั้นจึงนำมาตรฐานและตัวชี้วัดที่ได้ไปกำหนดเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ รวมถึงนำจุดประสงค์การเรียนรู้ระบุในการประเมินผล

 

  1. เป็นแผนการสอนที่มีการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน โดยมีการบูรณาการ ความคิด ทักษะกระบวนการ และการปฏิบัติเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งในการเขียนแบบการสอนนั้นต้องแยกเป็นขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป เพื่อให้เห็นกระบวนการที่ชัดเจน และควรจะต้องออกแบบให้ผู้อื่นสามารถใช้แทนตัวเราได้

 

  1. มีการเลือกใช้สื่อ นวัตกรรม รวมถึงแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย ตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้วางไว้

 

  1. มีการวัดผลและประเมินผลที่ชัดเจน สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งควรมีการจัดทำเครื่องมือในการวัด และระบุเกณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผู้เรียนตามหลักสูตร

 

  1. มีการบันทึกหลังการสอน โดยระบุผลของการจัดการเรียนรู้ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ดีในการออกแบบแผนการสอนในครั้งต่อไป

 

8. มีความสมบูรณ์ถูกต้อง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน

 

 

แม่พิมพ์ของชาติ "วันครู 2561" คุณสมบัติของครู แบบไหนที่เด็กไทยต้องการ?

ซึ่งการจะจัดทำแผนการสอนให้เป็นแผนการสอนที่ดีได้นั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายครูต้องใช้ทั้งเวลาและองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อที่จะพัฒนาแผนการสอนเพื่อลูกศิษย์ให้ออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด วันนี้เราจึงมีเทคนิคดีๆ สำหรับการจัดทำและพัฒนาแผนการสอนของครูมาฝากกันค่ะ

 

  1. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน

 

ก่อนจะลงมือจัดทำแผนการสอนอันดับแรกควรเริ่มด้วยการกำหนดระยะในการวางแผนการสอนที่แน่นอน เพื่อให้มั่นใจว่า ตัวครูจะไม่เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ในช่วงระยะเวลาที่สำคัญนี้

 

  1. ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์

 

ในยุคที่เทคโนโลยีกำลังเติบโตเช่นนี้ ครูสามารถนำเครื่องมือเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น เช่น การบันทึกแผนการสอนไว้ใน “Outlook” ซึ่งสามารถเพิ่มเติมได้ รวมไปถึงการใช้แอปพลิเคชันต่างๆ มาเป็นตัวช่วย เช่น “iDoceo” แอปพลิเคชันที่สามารถนำมาปรับใช้กับเอกสารแผนการสอน และที่สำคัญเพื่อความปลอดภัยของเอกสาร ก็สามารถนำไปฝากไว้ใน “Google Drive” หรือระบบคลาวด์ก็ได้ ยิ่งถ้าหากครูต้องมีการทำงานร่วมกัน ก็ยังสามารถแบ่งปันเอกสารง่ายๆ ผ่านทาง “Google Drive” รวมถึงการฝากไฟล์ในระบบคลาวด์ได้อีกด้วย เพราะเป็นระบบที่สะดวก สบายสามารถเปิดไฟล์เอกสารได้จากทุกอุปกรณ์อีกด้วย

 

  1. ถามตัวเองเพื่อความมั่นใจ

 

ในการวางแผนการสอนนั้น ควรให้การมุ่งเน้นไปที่ว่า เด็กจะได้เรียนรู้อะไรและอย่างไรมากกว่าการมุ่งเน้นไปที่ตัวงาน โดยคำถามต่อไปนี้ จะเป็นตัวช่วยในการวางกรอบแนวความคิดในการพัฒนาแผนการสอนได้

 

– อะไรคือความรู้และทักษะที่สำคัญที่ต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ และจะสร้างสรรค์วิธีการท้าทายได้อย่างไร?

อะไรที่เป็นความเข้าใจผิดที่มักเกิดขึ้น แล้วครูจะป้องกันหรือขจัดออกไปได้อย่างไร?

– ครูจะรู้ได้อย่างไรว่าพื้นฐานความรู้ของเด็กในเรียนในชั้นนั้นมีอะไรบ้าง?

– เมื่อไหร่ที่ครู-อาจารย์สมควรจะแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่จะนำความรู้และทักษะใหม่ๆ ไปใช้?

– คำถามอะไรที่ครูควรใช้ในห้องระหว่างการเรียนการสอน เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนเข้าใจในสิ่งที่กำลังเรียนรู้อยู่ในขณะนั้น

– คำถามอะไรที่จะสามารถใช้ท้าทายนักเรียนได้ เมื่อครูมั่นใจแล้วว่านักเรียนรู้พื้นฐานที่สำคัญแล้ว

– จุดไหนในแผนการสอนที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีการฝึกปฏิบัติโดยใช้ทักษะการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เพิ่งเรียนรู้

 

– เน้นย้ำในช่วงสุดท้ายของบทเรียน ยกตัวอย่างเช่น สิ่งไหนที่นักเรียนคิดว่าเป็นส่วนที่ยากที่สุดในบทเรียน เพื่อที่ว่า ในครั้งต่อไปจะกลับมาทบทวนหรือเน้นย้ำอีกครั้งได้

 

  1. เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นไปด้วยดี

 

ในการจัดทำแผนการสอนก็ย่อมมีการประเมินผลและการจัดการแผนการสอน ซึ่งการประเมินผลและการจัดการแผนการสอนนั้น จะก่อให้เกิดความเครียดน้อยลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากแต่ละบทเรียนนั้นมีข้อเสนอแนะที่สำคัญในสิ่งที่เป็นไปได้ด้วยดีและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ลองใช้ช่วงเวลาท้ายของการประมวลแผนการสอนในการเน้นย้ำในสิ่งที่ควรปรับเปลี่ยนที่ครู-อาจารย์ต้องทำในอนาคต

 

  1. อย่าหมกมุ่นกับแผนการสอนจนเกินไป

 

การวางแผนการสอนนั้น ต้องอาศัยการคิดพิจารณาถึงรายละเอียดแบบแผนเพื่อไห้ถึงเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยในรายละเอียดแต่ละจุดแต่ละข้อนั้น ต้องมีมากพอที่จะสามารถจัดวางอยู่ในเส้นทางที่เหมาะสม โดยที่ก็สามารถให้ความยืดหยุ่นในรายละเอียดเพื่อการปรับเปลี่ยนแก้ไขในจุดที่ไม่เหมาะสมได้ และการวางแผนนั้นต้องอาศัยจุดสำคัญที่น่าสนใจ ซึ่งอาจเปิดเป็นประเด็นคำถามเพื่อกระชับความเข้าใจสำหรับเด็กๆ อีกทั้งควรมีการเตรียมการล่วงหน้าในสิ่งที่เด็กอาจเกิดคำถามหรือไม่เข้าใจ และที่สำคัญจงจำไว้ว่าการวางแผนการสอนนั้น ก็เพื่อเสริมสร้างการเรียนการสอนของครูไม่ใช่มีไว้เพื่อจำกัดความคิดของตน

 

  1. สอนน้อยๆ แต่ย้ำเตือนบ่อยขึ้น

 

บางทีการเรียนการสอนที่ป้อนข้อมูลมากจนเกินไป อาจเกินความสามารถของเด็กที่จะเก็บเกี่ยวหรือรับรู้ได้ ในขณะที่การสอนที่น้อยและมีการให้เด็กๆ ได้มีโอกาสได้ทบทวนบ่อยๆ อาจทำให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้ ดังนั้นการวางแผนแต่ละบทเรียน อาจเพิ่มการเชื่อมโยงไปยังบทเรียนก่อนหน้า และทบทวนอีกครั้งในช่วงปลายเทอม เป็นต้น

 

 

 

การมีแผนการสอนที่ก็เหมือนกับการมีแผนที่และเข็มทิศที่แม่นยำอยู่ในมือ หากครูมีการเตรียมแผนการสอนมาอย่างเต็มที่ก็เชื่อว่าในการดำเนินการเรียนการสอนนั้นจะไปดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องและตรงเป้าหมาย แต่ถึงแม้ว่าแผนการสอนนั้นจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการเรียนการสอนแต่ก็ไม่ควรจะยึดติดกับแผนมากเกินไป แต่ควรจะดูทั้งแผนและตัวผู้เรียนควบคู่กันไปเพื่อให้การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนมากที่สุดค่ะ

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

: http://www.trueplookpanya.com

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

: https://www.sanook.com/campus/1388301/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *