5 ทฤษฎีการเรียนรู้กับการประยุกต์ใช้ในห้องเรียน

 

ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน

ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้นั้นมีด้วยกันหลากหลายทฤษฎี หลายแนวคิด จากหลายนักคิดที่สามารถนำมาเป็นหลักในการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ วันนี้ เราจึงนำ 5 ทฤษฎีการเรียนรู้ จาก 5 นักคิด กับการนำไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนมาฝากกันค่ะ

 

Data Science Machine Learning Tech Pros Job Offer

 

ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ

แนวคิด

พาฟลอฟเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น ซึ่งในธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวันจะไม่ตอบสนองเช่นนั้นเลย 1ดังนั้นการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตมักเกิดจากการวางเงื่อนไข จนนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งสามารถอธิบานเพิ่มเติมได้ว่า เมื่อพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำหลายๆ ครั้ง จนผู้ถูกวางเงื่อนไขเกิดการเรียนรู้ ครั้งต่อไปก็จะเกิดพฤติกรรมตอบสนองโดยอัตโนมัติ เพียงแค่มีสิ่งเร้าเกิดขึ้น โดยไม่ต้องบอกเงื่อนไขซ้ำอีก โดยทฤษฎีของพาฟลอฟนั้น มีด้วยกัน 3 ลำดับขั้น

 

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน

ครูสามารถใช้หลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมมตอบสนองของผู้เรียน อาทิตย์

-การใช้หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี ทำความเข้าใจของพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก  ทั้งทางด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ

-การใช้หลักการเรียนรู้ทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึก เจตคติที่ดีในตัวผู้เรียนต่อเนื้อหาวิชา ตัวครูผู้สอน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่างๆ

 

 

ทฤษฎีการเรียนรู้ของวัตสัน

แนวคิด

วัตสัน ได้นำเอาทฤษฎีของ Pavlov มาเป็นหลักสำคัญ ในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้แนวความคิดของ Watson ก็คือ การวางเงื่อนไข ทำให้เกิดการเรียนรู้กล่าวคือ การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กันคือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCR) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน ดังนั้นกุญแจสำคัญของทฤษฎีการเรียนรู้ของวัตสันคือทุกๆ พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์จะเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม โดยคนเราเกิดมาจะมีปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่ติดตัวมาโดยไม่ต้องเรียนรู้อยู่ 3 อย่าง คือ

–       ความกลัว

–       ความโกรธ

–       ความรัก

 

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน

ครูสามารถที่จะนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้ ไปใช้ในการควบคุมผู้เรียน ครูจะสามารถวางเงื่อนไขให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามที่พึงประสงค์ได้ และยังสามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาด้านความกลัวของเด็กหรือวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการตอบสนองในเรื่องที่ต้องการให้แสดงพฤติกรรมได้อีกด้วย

 

 

ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์

แนวคิด

ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง กล่าวถึง การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน

ครูสามารถใช้ทฤษฎีนี้ในการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว  ครูสามารถที่จะฝึกให้ผู้เรียนนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และการให้ผู้เรียนได้รับผลที่ตัวเองพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียน การสอน ประสบความสำเร็จได้ด้วยเช่นกัน

 

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ classroom vector

 

ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์

แนวคิด

ทฤษฎีของสกินเนอร์เป็นทฤษฎี การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) สกินเนอร์มีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ ซึ่งพฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง เป็นการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับพฤติกรรมตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่จะให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า และยังให้ความสำคัญในเรื่องของการเสริมแรง หรือพูดได้ว่าอัตราการเกิดพฤติกรรมตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำที่เรียกว่า การเสริมแรงหรือการลงโทษทั้งทางบวกและทางลบ

 

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน

ในการเรียนการสอนครู  สามารถที่จะใช้ทฤษฎีนี้ ในการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ ด้วยการเสริมแรงให้กับผู้เรียน เช่น ให้คำชมเมื่อผู้เรียนทำดี และในการลงโทษครูสามารถที่จะลงโทษผู้เรียนในทางบวกได้ด้วยเช่นกัน

 

 

 

ทฤษฎีการเรียนรู้ของเกสตัลท์

หลักการเรียนรู้

เกสตัทส์เชื่อเรื่องการเรียนรู้จากการรับรู้และการหยั่งเห็น กุญแจสำคัญของทฤษฎีคือการเชื่อว่า ผู้เรียนจะมองเห็นความสัมพันธ์ของสถานการณ์ที่เป็นปัญหา แล้วนำความสัมพันธ์นั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ ทั้งนี้ในการแก้ปัญหาในแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสติปัญญา ความสามารถ วุฒิภาวะ และประสบการณ์ที่เคยพบมาในอดีตด้วย

 

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน

สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียน เช่น ครูสามารถที่จะจัดการเรียนการสอนให้มีความยากง่ายให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียนเพราะเด็กแต่ละคนจะมีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ครูยังสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มีความหลากหลายให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน

 

 

ทฤษฎีการเรียนรู้นั้นมีด้วยกันหลากหลายแนวคิดขึ้นกับว่านักเรียนและห้องเรียนของครูแต่ละท่านนั้นเหมาะสมที่จะนำทฤษฎีใดไปใช้ ซึ่งหวังว่าทั้ง 5 ทฤษฎีที่นำมาเสนอในวันนี้ จะสามารถเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

:  http://niatikd27.blogspot.com/p/blog-page_72.html

: https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/gestalt_theory/01.html

: http://405404027.blogspot.com/2012/10/skinner.html

 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

: https://www.freepik.com/premium-vector/vector-illustration-classroom_3663261.htm

: https://insights.dice.com/2020/01/09/student-interest-a-i-machine-learning/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *