สวนสุนันทากันโควิด-19เข้มข้น ระดมเทคโนโลยีทันสมัยรับมือ ยันนักศึกษา-บุคลากรต้องปลอดภัยเต็มที่

ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เรื่อง แนวทางในการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19

(ฉบับที่ ๓)

ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ออกประกาศเรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนในช่วง สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ และตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ ๓) : การปฏิบัติการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโตวิด-19 ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖m ไปแล้วนั้น มหาวิทยาลัยเห็นสมควรออกประกาศแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 เพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและ การสอบวัดผลประเมินผลของมหาวิทยาลัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันและเตรียม ความพร้อมรับสถานการณ์ที่มีแนวโน้มจะเกิดการระบาดรุนแรงในวงกว้างและยาวนาน โดยคํานึงถึงความปลอดภัยในสุขภาพของนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรเป็นสําคัญ จึงเห็นสมควรประกาศแนวทางการเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

(๑) การจัดการเรียนการสอนทุกระดับ ทั้งในมหาวิทยาลัยและศูนย์การศึกษา ให้งดการจัดการเรียน การสอนในห้องเรียน จนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น โดยให้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์เท่านั้น โดยเลือกรูปแบบการสอนแบบออนไลน์ตามความเหมาะสม

(๒) การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์จะต้องสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาได้ โดยพิจารณา นําเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ตามความสะดวกของอาจารย์ผู้สอน โดยมีช่องทางการจัดการเรียนการสอน ออนไลน์ ดังต่อไปนี้

(๒.๑) การสอนผ่าน Website ส่วนตัวของอาจารย์ทุกท่าน ผ่าน SSRU IVloodle สามารถใช้ ในการนําสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ มาจัดเก็บไว้ใน Website พร้อมทั้งสามารถดําเนินการจัดทํา แบบทดสอบและข้อสอบ ผ่าน Website ส่วนตัวของอาจารย์ผู้สอน

(๒.๒) การสอนผ่าน Platform ที่ Google ได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สามารถนํามาช่วยในการเรียนการสอนในรูปแบบ Video Conference คือ Google Hangouts heet” โดยกรณีนี้ให้ อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาเชื่อมต่อกันด้วย e-mail ของมหาวิทยาลัย

(๒.๓) การสอนผ่านโปรแกรม LMS ของมหาวิทยาลัย เช่น ZOCM, Cloud Meeting Moodle, Microsoft Teams, SSRU Academic Search, Facebook Live Group+OBS Studio tuuu ซึ่งอาจารย์ผู้สอนสามารถศึกษาขั้นตอนและวิธีการเข้าใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ได้ที่ http//artitissL.AC th/t/articuncernetit/view/onlinetmedia สอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สานักไทย บริการและเทคโนโลยีสารเทศ

(๓) สําหรับรายวิชาที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้ เช่น วิชาภาคปฏิบัติ หรือวิชาที่ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน ให้อาจารย์ผู้สอนปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอน เช่น Simulation-Based, Project-Based หรือ Research-Based เป็นต้น โดยที่นักศึกษาไม่ต้องเข้ามาเรียนรู้ใน มหาวิทยาลัย แต่ต้องคํานึงถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเป็นสําคัญ

(๔) การจัดการเรียนตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๓ อาจารย์ผู้สอนสามารถนับเป็นภาระงาน และรับค่าตอบแทน การสอน ได้เทียบเท่ากรณีการจัดการเรียนการสอนตามปกติ

(๕) สําหรับรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/สหกิจศึกษา กรณีนักศึกษาอยู่ระหว่างการฝึกงาน อนุญาตให้นักศึกษายกเลิกการฝึกงานด้วยความสมัครใจ และต้องแจ้งต่อหน่วยงาน สถานที่ฝึกงานถึงเหตุผล กรณีสถานการณ์ไม่ปกติของการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ในปัจจุบัน และให้คณะ วิทยาลัย ศูนย์ การศึกษา ปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝึกงานเป็นรูปแบบอื่นที่เหมาะสม เช่น การทําโครงงาน หรือการมอบหมาย งานเพื่อทดแทนจํานวนชั่วโมงการฝึกงานที่ยังขาดอยู่ ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ํากว่าเกณฑ์มาตรฐานที่เคยปฏิบัติ โดยเฉพาะระยะเวลาของการฝึกงาน ให้คณะ วิทยาลัย ศูนย์การศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงาน พิจารณารูปแบบ วิธีการ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

(๖) การจัดการสอบและประเมินผล ให้อาจารย์ผู้สอนปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอบเป็นรูปแบบอื่น ๆ เช่น การเก็บคะแนนระหว่างการเรียนออนไลน์ การส่งรายงาน การจัดการสอบให้เป็นการสอบแบบรายบุคคล โดยให้ทําข้อสอบที่บ้าน หรือการจัดสอบแบบออนไลน์ กรณีการจัดการสอบแบบออนไลน์พร้อมกันทั้งรายวิชา ให้จัดการสอบตามตารางสอบเดิมหรือจัดให้มีการสอบนอกตาราง

(๗) หากมีความจําเป็นต้องจัดการเรียนการสอนและการสอบในมหาวิทยาลัย ศูนย์การศึกษา เช่น วิชา ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและกีฬา คหกรรมศาสตร์ เป็นต้น หรือถ้าหากเป็นรายวิชาในชั้นปีสุดท้าย รายวิชาต่อเนื่องที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอบออนไลน์ได้ ให้ขออนุมัติการจัดการเรียนการสอนผ่านคณะ กรรมการบริหารของคณะ วิทยาลัย ศูนย์การศึกษา และต้องมีมาตรการป้องกันทางด้านสาธารณสุขอย่างเข้มข้นทุกขั้นตอน เช่น การทําความสะอาดลิฟต์โดยสาร การจัดที่นั่งสอบให้ห่างกันเกินระยะ ๒ เมตร ต้องไม่ หน้ากากอนามัย ใช้เจลล้างมือและจัดให้สถานที่สอบมีการระบายอากาศอย่างเหมาะสม

(๘) สําหรับการสอบประมวลความรู้ การสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ การสอบป้องกัน วิทยานิพนธ์ และการสอบการค้นคว้าอิสระ สามารถดําเนินการจัดสอบได้แต่ต้องมีมาตรการป้องกันทางด้าน สาธารณสุขอย่างเข้มข้นทุกขั้นตอน โดยจัดสอบในห้องเรียนเท่านั้น ไม่ใช้ไมโครโฟน ไม่อนุญาตให้มีผู้ติดตาม จัดให้นั่งห่างกันอย่างน้อย ๒ เมตร ต้องใส่หน้ากากอนามัย ใช้เจลล้างมือและฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อทั้งก่อนและหลัง การสอบ กรณีที่นักศึกษาไม่ประสงค์จะเข้าสอบในห้องเรียน ให้ใช้การสอบผ่านระบบออนไลน์ หรือร่วมกับ ระบบการประชุมทางไกล (VDO Conference) โดยสามารถเบิกค่าตอบแทนเทียบเท่ากรณีการสอบแบบปกติ ทั้งนี้ การดําเนินการดังกล่าวข้างต้น ให้เป็นดุลยพินิจของบัณฑิตวิทยาลัย

(๙) การส่งค่าระดับคะแนน ให้เป็นไปตามกําหนดการเดิมในปฏิทินกิจกรรมวิชาการของมหาวิทยาลัย หากมีความจําเป็นต้องส่งค่าระดับคะแนนล่าช้า ให้อาจารย์ผู้สอนบันทึกแจ้งเหตุผลและความจําเป็นเพื่อขอ อนุมัติต่อมหาวิทยาลัยเป็นกรณีไป

(๑๐) ทั้งนี้ หากมีประกาศของรัฐบาลเกี่ยวกับสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอน หลังจาก ประกาศตามที่ระบุข้างต้น ให้ถือตามประกาศหรือมติของรัฐบาลเป็นสําคัญ

มหาวิทยาลัยได้ติดตามและประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 อย่างต่อเนื่อง หากมีความคืบหน้าหรือมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว มหาวิทยาลัยจะแจ้งให้ ทราบต่อไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

(รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์)

รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

………………

ภาพประกอบ Sirilak Ketchaya

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *