รีวิวการเรียน “วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี”

มาแล้วจ้าสำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ชอบเรียนวิชาเคมีและฟิสิกส์ สามารถประยุกต์ความรู้ไปทำงานทางด้านพลังงาน ชีวเคมี สิ่งแวดล้อมและวัสดุได้ ต้องห้ามพลาด วันนี้พี่จะมารีวิวสาขาวิศวกรรมเคมี หนึ่งในคณะวิศวกรรมศาสตร์ อยากรู้ว่าสาขานี้เขาเรียนอะไรกันบ้าง จบแล้วทำงานอะไร ต้องตามมาดูเลย

วิศวกรรมเคมี เรียนอะไรบ้าง ?

จะเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพ การออกแบบอุปกรณ์ และการควบคุมกระบวนการทำงานทางเคมี รวมถึงเรียนรู้หลักการของกระบวนการผลิตเคมีในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ควบคู่กับหลักเศรษฐศาสตร์ไปพร้อม ๆ กันด้วย ทั้งด้านวิศวกรรมเคมีพื้นฐาน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น นาโนเทคโนโลยี เป็นต้น

โดยจะเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงส่วนผสม สถานะ และลักษณะของวัตถุดิบที่กลายไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ตามความต้องการอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ เรายังจะต้องเรียนรู้วิธีการนำความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในการกระบวนการทำงานทางเคมี อีกด้วย

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

การทำงานของคนที่เรียนสาขานี้ก็มีที่น่าสนใจมากมาย ไม่ได้มีแค่การทำหน้าที่เป็นนักเคมีอย่างเดียวเท่านั้น อยากรู้ว่ามีสายงานอะไรบ้างที่คนจบแล้วสามารถทำได้ มาดูกันเลย

  1. งานด้านกระบวนการผลิต

เช่น วิศวกรผลิต มีหน้าที่ในการควบคุม ดูแล และทำการปรับปรุง แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการกระบวนการผลิต ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้ง โรงงานอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติโรงงานสารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น

  1. งานด้านโครงการ

เช่น วิศวกรโครงการ ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลงานโครงการต่าง ๆ ของโรงงานการผลิต ในลักษณะที่เป็นกระบวนการผลิตรวมไปถึงงานด้านการเตรียมความพร้อมของโรงงานก่อนเริ่มการผลิต อีกด้วย ฯลฯ

  1. งานด้านการวางแผน พัฒนาธุรกิจ

เช่น วิศวกรออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิต รวมถึงจะต้องทำการวิเคราะห์ บริหารโครงการ ดูแลงานด้านควบคุม และกระบวนการผลิต เป็นต้น

  1. งานขาย งานตลาด และงานบริการด้านเทคนิค

เช่น การเป็นวิศวกรด้านปรึกษาการขาย งานบริการด้านเทคนิค รวมถึงงานวิจัยและพัฒนาด้วย ในภาคอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์กระดาษ เป็นต้น

  1. งานด้านการวิจัย

เช่น นักวิจัยด้านเคมี ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้งบริษัทเอกชน และรับราชการก็ได้ ฯลฯ

 

คณะ/สาขาแต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.บูรพา
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีมหานคร
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ม.
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร

 

ใช้คะแนนอะไรบ้างในการสอบเข้า

ต้องบอกก่อนเลยว่าแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีเกณฑ์กำหนด ว่าจะต้องใช้สัดส่วนคะแนนไหนเท่าไหร่บ้าง แต่หลัก ๆ แล้วการสอบเข้าก็จะใช้คะแนนตามนี้เลย

  • O-NET
  • 9 วิชาสามัญ
  • GAT ความถนัดทั่วไป
  • PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
  • PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
  • PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: Campus-star.com และ Engineer Job

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *