เทคนิคการติวออนไลน์ในยุค New Normal

สวัสดีคร้าบบบบ น้องๆ ที่น่ารักทุกคนกับมาพบกันอีกครั้งกับเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับการศึกษาในยุค New Normal ในบ้านเรากัน
โดยแอดมินมีโอกาสไปสัมภาษณ์ติวเตอร์ชื่อดังในโครงการ Sahapat Admission ครั้งที่ 23 นั้นก็คือครูพี่หนู – กฤติกา ปาลกะวงศ์ และครูพี่เกศ – เกศจิรา บุญตระกูล เกี่ยวกับการปรับตัวสำหรับการติววิชาต่างๆ ในยุค New Normal ว่าควรจะทำอย่างไร และทางพี่ๆ ติวเตอร์มีการวางแผนและปรับตัวอย่างไรบ้าง เราไปเจอบทสัมภาษณ์แบบ Exclusive พร้อมกันได้เลยครับ

การติวแบบใหม่ของติวเตอร์แต่ละท่านมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม จากเมื่อก่อนอย่างไรบ้าง ?

ครูพี่หนู – คือตอนนี้ ในปีนี้เลยที่โควิดระบาดการที่จะให้เด็กนั่งรวมกันที่หอประชุม ก็เป็นการยากนะคะ เพราะว่า ด้วยมาตรการป้องกันต่าง ๆ ทางโครงการก็เลยปรับรูปแบบให้กลายเป็นติวออนไลน์ อยู่ไหนก็ติวได้ ซึ่งถามว่าสะดวกไหม ก็สะดวกกับเด็กแล้วก็สะดวกกับคุณครูด้วยนะคะ เพราะว่าเราก็จะเป็นการติว ถามว่ามันต่างจากแบบเดิมไหม ปรับมากไหม ก็คือน้องก็จะสามารถส่งคำถามร่วมสนุกหรือว่าอะไรกับเราได้ทาง Live แชทค่ะ

ครูพี่เกศ – ปกติแล้วเด็กก็จะเจอครูหรือว่าติวเตอร์แบบตัวต่อตัว เด็กส่วนใหญ่ชอบเรียนสดคือสมัครคอร์สเรียนมา จะได้มาเจอตัวเป็น ๆ มีข้อสงสัยอะไรจะได้ถามเราได้เลย เขาจะรู้สึกว่าอินกับบรรยากาศในการเรียนมากกว่า แต่ว่ายุคใหม่นี้มันเปลี่ยนเป็นออนไลน์ ถามว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ตอนแรกเด็กก็จะรู้สึกว่าไม่เข้าใจ รู้สึกว่ามันต้องไม่ดีแน่ ๆ เลย เรียนกับสื่อ เรียนกับวิดีโอ เพราะไม่ได้เจอติวเตอร์ตัวเป็น ๆ แต่พอเด็กได้มาลองเรียนจริง ๆ แล้ว จะพบว่าการถามตอบมันยังคงเดิม เปลี่ยนจากการพูดถามเป็นการพิมพ์ถาม แล้วบางครั้งมันอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ อย่างเช่น บางวิชาเด็กสามารถถ่ายรูปส่งมาได้ เพราะว่าโปรแกรมทุกวันนี้มันมีหลากหลาย บางครั้งไม่ต้องพิมพ์ถามก็ได้นะ อย่างโปรแกรมบางอันที่สามารถเปิดไมค์แล้วพูดออกมาได้เลย แล้วติวเตอร์ก็สามารถตอบไปได้เลยะ ก็ไม่ได้แตกต่างมากสุดท้ายแล้วเด็กก็รู้สึกว่ามันสนุกไปอีกแบบ

                                                                                           ครูพี่หนู – กฤติกา ปาลกะวงศ์

การที่น้องอาจจะไม่เห็นหน้าเรา เราพอจะมีวิธีการเทคนิคอย่างไรช่วยให้น้องทำได้ดีกว่าเดิม ?

ครูพี่หนู – สำหรับหนูเองนะคะ หนูใช้เสียง เสียงจะขึ้น ๆ ลง ๆ ใช้เสียงแหลมตลอดในการติว เพราะว่า 1 ก็จะทำให้น้องตื่นตัวตลอด บางช็อตที่น้องเห็นแต่จอไม่เห็นหน้าเราด้วย ก็จะใช้เสียงในการดึงเด็กแล้วก็เป็นการเล่าเรื่อง บรรยายเรื่อง ให้มันเข้ากับเนื้อหาที่เรากำลังสอนอยู่

ครูพี่เกศ – การเอาสื่อที่น่าสนใจ การเล่นที่สีหน้า น้ำเสียง หรือการจูงใจในเรื่องของเกม การตอบคำถาม ให้เด็กรู้สึกว่าไม่ได้มานั่งฟังกับจอเฉย ๆ แต่เป็นการที่มีอะไรร่วมสนุกได้ พิมพ์ตอบได้นะ จะมีการส่งของรางวัลไปที่บ้านนะ เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าเราสามารถมีปฏิกิริยากับติวเตอร์ได้เหมือนอยู่ในสถานการณ์ห้องจริง ไม่ได้มีความแตกต่างเหลื่อมล้ำทุกคนมีความเท่าเทียมกันหมด ก็สนุกไปอีกแบบ

คิดว่าการติวแบบนี้มีข้อดีอย่างไรบ้าง ?

ครูพี่หนู – ถามว่ามันดีไหม ก็คือมันดีสำหรับน้อง ๆ ทุกคน เพราะน้อง ๆ อยู่ที่ไหนก็ติวได้ อยู่ไกลแค่ไหนก็ติวได้ สำหรับพื้นที่ห่างไกลขอแค่มีสัญญานอินเตอร์เน็ต น้องก็สามารถติวได้หรือว่าน้องก็สามารถดูย้อนหลังได้ ดูซ้ำได้ เป็นการดีสำหรับน้อง ๆ ค่ะ

ครูพี่เกศ – ข้อดีคือเด็กเก็นหน้าเราชัด เห็นใกล้ เห็นเสียงเราชัด สื่ออลัง ปกติถ้าเด็กนั่งติวในหาประชุมหรือในโรงเรียน หรือไกล ๆ แบบนี้ เขาก็จะมองเอคติ้งเราไม่ค่อยถนัด โปรเจกเตอร์บางทีเด็กหลัง ๆ มองไม่เห็น การติวแบบนี้คือจอมันชัด เลยรู้สึกว่าสุดท้ายแล้วมันน่าสนใจกว่าด้วยซ้ำ พอเรามาลองจริง ๆ แล้วภาพก็ชัด สื่อก็ชัด เสียงอะไรแบบนี้ได้เลยเต็มที่ ไม่ค่อยแตกต่างขนาดนั้นสุดท้ายแล้วอยู่ที่ความสนใจ

ในปัจจุบันนี้เด็กก็จะเปลี่ยนไปหลายยุค แล้วเด็กยุคก่อนกับยุคนี้มีความสนใจในการติวแตกต่างกันอย่างไร ?

ครูพี่หนู – ด้วยความสนใจน่าจะไม่ได้แตกต่างกัน แต่รูปแบบในการติวในการเข้าถึงสื่ออาจจะเปลี่ยนไป เพราะว่าตอนนี้มีสื่อฟรีเยอะ มีสื่อออนไลน์เยอะ ก็จะสามารถเข้าถึงสื่อพวกนี้ได้มากกว่าเด็กรุ่นเก่า ๆ ที่ยังไม่มีสื่อเข้าถึง ต้องรอติวเตอร์ไปติว หรือว่าต้องเข้ามาเรียนพิเศษ

ครูพี่เกศ – เด็กสมัยก่อนคิดว่า จำเป็นต้องแข่งขัน จำเป็นต้องสอบ ต้องใส่ใจอ่านหนังสือมาก ๆ เพื่อจะเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงให้ได้ แต่เด็กทุกวันนี้มีความรู้สึกว่าเรียนี่ไหนก็ได้ ไม่ต้องแข่งขัน รู้สึกว่าไม่จำเป็น ขอแค่มีเงินแล้วก็ไปเรียนเอกชนก็ได้ แนวคิดนี้มันอันตรายนะ คือเรามีหน้าที่สร้างความเข้าใจให้เด็ก ไม่ใช่ว่าเรียนที่ไหนมันเหมือนกัน เพราะถ้าเหมือนกันจริงคงไม่ต้องมาติว ถ้าเหมือนกันจริงคงไม่ได้มากวดวิชา เรียนพิเศษ เพราะสุดท้ายปลายทางมันไม่เหมือนกัน เราก็มีหน้าที่ในการบอกเด็กว่ามันต่างกันอย่างไร แล้วทำไมต้องมีการสอบเข้า ทำไมต้องมีการแข่งขัน เราต้องสร้างความเข้าใจให้เขา เขาแค่ไม่เข้าใจว่าทำไมมันถึงสำคัญ เด็กไม่เข้าใจว่าทำไมต้องแข่ง แข่งกันทำไม สอบเข้าไปแล้วมหาวิยาลัยนี้ กับมหาวิทยาลัยนี้มันต่างกันอย่างไร

                                                                                                ครูพี่เกศ – เกศจิรา บุญตระกูล

ปัจจุบันนี้ น้อง ๆ เลือกติวเป็นแต่ละวิชาหลัก ๆ เน้น ๆ บางคนเลือกที่จะทิ้งบางวิชาเพื่อจะไปทุ่มกับอีกวิชา พี่ๆ มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ?

ครูพี่หนู – ความจริงภาษาอังกฤษก็เป็นวิชาที่เป็นหัวใจหลักอยู่แล้ว ทั้งวิทย์ ทั้งศิลป์ เพราะว่าบางทีน้องสายวิทย์อาจจะรู้สึกว่า ตัวเองต้องโฟกัสแต่วิทย์ – คณิตฯ แต่ความจริงแล้วภาษาอังกฤษนี้เป็นตัวที่ตัดแต้มเด็ก ใครทำภาษาอังกฤษได้เยอะจะทำให้คะแนนเขาพุ่งมากขึ้น หรือว่าสามารถมีทางเลือกในการเข้าคณะมากขึ้น แล้วก็จะชูให้เห็นว่า ถ้าน้องได้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น น้องทำได้ดีขึ้น โอกาสทางเลือกของน้องก็จะมากขึ้นกว่าที่น้องได้อยู่แล้ว น้องก็อาจจะมีช้อยส์ มีทางเลือกในคณะที่เพิ่มมากขึ้น มีโอกาสยื่นคะแนนมากขึ้น

ครูพี่เกศ – คำถามนี้ดีมากเลยค่ะ เพราะมันคือโดยเฉพาะวิชานี้เลยพี่เกศสอนวิชาภาษาไทย ภาษาไทยถ้าเป็นเด็กศิลป์จะไม่ทิ้งหรอกค่ะ เพราะเขารู้สึกว่ามันคือภาษา แต่ถ้าเกิดเด็กวิทย์เริ่มปัญหา จะรู้สึกว่าภาษาไทยอ่านเองได้ อ่านออกเข้าใจได้ แต่จริง ๆ อยากจะบอกว่า ภาษาไทยเป็นวิชาโกยคะแนนที่ดีมากเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าดูค่าเฉลี่ยของคะแนนภาษาไทยจะโดมาเป็นอันดับหนึ่งเลย เนื่องจากว่ามันอ่านออกทุกคน แต่ว่าจะทำทันหรือเปล่าเป็นอีกเรื่อง เนื่องจากว่าจำนวนข้อสอบมันเยอะและถ้าเกิดเด็กไม่มีเทคนิคในการทำแต่ละข้อ ด้วยความรวดเร็ว แม่นยำ ยังไงเด็กก็พลาด แล้วบางครั้งเด็กเข้าใจว่าสิ่งที่เขาเข้าใจอยู่มันถูก แต่จริง ๆ แล้วมันผิดมาโดยตลอด อย่างเช่นคำนี้ อ่านแบบนี้ แต่จริง ๆ แล้วอ่านแบบนี้เด็กเพิ่งจะมารู้หลังจากออกจากห้องสอบแล้ว อ้าว! จริงหรอ! คือตอนที่ตอบมั่นใจมากเลยนะ มั่นใจว่าตอนสอบทำได้ทุกข้อ แต่แปลกมากว่าภาษาไทยไม่เคยมีใครได้คะแนนเต็ม เหตุผลเพราะความเข้าใจยังผิด ๆ กันอยู่ เราก็ต้องมาบอกเด็กว่าข้อสอบจะออกแนวนี้นะ แล้วมันจะหลอกเราแบบนี้นะ เราเก็งให้เขาเลยค่ะ เชื่ออย่างหนึ่งว่าอ่านเยอะไม่เท่ากับอ่านตรง เหมือนกันค่ะ ติวเยอะก็ไม่เท่ากับการติวตรง ดังนั้นถ้าเกิดเด็กมาฟังเราจริง ๆ เด็กจะประหยัดเวลาในการอ่านหนังสือเยอะมาก ชั่วโมงหนึ่งเท่ากัน เด็กคนหนึ่งอ่านในสิ่งที่ข้อสอบไม่ออก ในขณะที่อีกคนหนึ่งรู้ว่าข้อสอบจะออกอะไร แล้วใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงนั้นอ่านในสิ่งที่จะออก ผลลัพธ์มันต่างกัน แล้วภาษาไทยอย่าทิ้งค่ะ ยกตัวอย่าง O-NET ในทุกรายวิชาเฉลี่ยรวมกัน 9,000 คำแนน ในสนามสอบ TCAS Admission เขาไม่ได้มาบอกว่าเด็กวิทย์ต้องเก่งวิทย์สุด เด็กศิลป์ภาษาต้องเก่งภาษาอังกฤษสุดประมาณนี้ ในสามารถทำวิชาอะไรก็ได้เพื่อให้ตัวเองเอาตัวรอด และมีคะแนนสูงคะแนนตุนเยอะที่สุดใน 9,000 นั้น เลยอยากเชียร์ให้เด็กเอาภาษาไทยไปเป็นส่วนหนึ่ง ในการตุนคะแนน

สุดท้ายอยากจะให้ฝากเทคนิคการเตรียมตัว สำหรับการสอบทุกวิชา ทุกสนามสอบ ?

ครูพี่หนู – ในส่วนของพี่หนูนะคะ เป็น reading ส่วนใหญ่ reading พี่หนูก็จะให้จับ Keyword แล้วก็จะพยายามไม่ให้น้องแปลเยอะ จะให้น้องแปลคำที่น้องแปลออกแล้วก็ใช้จินตนาการเดาเนื้อเรื่องว่า ที่น้องแปลออก อย่างมีคำว่า มด มีคำว่า สัตว์ แล้วมดเป็นอาหารของสัตว์ตัวนี้ เราก็จะให้น้องเดาต่อว่ามันน่าจะเป็นตัวอะไร ตัวอะไรที่กินมดบ้าง อะไรบ้างแบบนี้ค่ะ จะหา Keyword ให้กับเด็ก จะให้เด็กจินตนาการต่อ ส่วนใหญ่พี่หนูจะไม่ได้สอนให้น้องแปลทั้งเรื่อง เพราว่า พอเขาเข้าห้องสอบจริง ๆ เขาก็จะไม่เจอเรื่องที่พี่หนูสอน เขาก็จะเจอเรื่องอื่นไปอีก แต่เราจะทำให้เขาชินกับระบบความคิดว่า เขาต้องหาคำศัพท์สัก 2 – 3 คำที่เขาแปลออก แล้วก็จินตนาการเนื้อเรื่องไป เพราะว่าเรื้อเรื่องมันก็คือเรื่องรอบตัวของเรา มันไม่ได้หนีห่างหรือว่าไกลตัวน้อง มันเป็นเรื่อง Daily Use Daily Life ตลอด ที่มันอยู่รอบตัวน้อง ๆ อยากให้เขาจินตนาการแล้วก็ค่อย ๆ ไม่อยากให้เขามองว่า เจอศัพท์อ่านไม่ออกแปลไม่ได้แล้วเขาจะทำข้อสอบได้ และอีกอย่างที่ควรทำคือ โหลดข้อสอบเก่ามาทำ เพราะว่าข้อสอบในอนาคตก็จะออกในข้อสอบเดิม เพราะฉะนั้นแนวทางในการออกข้อสอบเขาก็จะออกแนวเดิม มันไม่ได้เปลี่ยนหรือหนีกันมาก แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่น้องไม่ได้ฝึกทำโจทย์ น้องก็จะไม่คุ้นชินกับคำถามหรือว่ากับสไตล์การถาม หรือว่าเนื้อเรื่องที่ผู้ออกข้อสอบเขาเลือก ก็อยากจฝากน้อง ๆ ให้น้อง ๆ ทำข้อสอบเก่าเยอะ ๆ เพราะยังมีเวลาเตรียมตัวอยู่ มีเวลาเพิ่มเติมก็ดูสื่อฟรี ดูช่องฟรีที่พี่ ๆ ติวเตอร์ทั้งหลายก็ได้สอนน้อง ๆ ค่ะ

ครูพี่เกศ – จริง ๆ คือการวางแผน เด็กที่สอบติดเข้าไปไม่ใช่เด็กเก่งทุกคนนะคะ แต่เป็นเด็กที่เรียนรู้หรือวางแผนอะไรมาก่อน อย่างที่บอกว่า scope ในการออกข้อสอบเด็กต้องศึกษาก่อนนะว่าคณะที่ตัวเองจะเข้า เราสอบอะไรบ้าง แล้ววิชานั้นมันสอบแค่หัวข้อไหนประมาณไหน ก็ยังคงยืนยันคำเดิมว่าอ่านเยอะไม่เท่ากับอ่านตรง ขอให้น้องวางแผนการที่จะสอบเข้าก่อน แล้วก็เตรียมตัวอ่านเฉพาะที่จะออกสอบ เพราะว่าในเวลาอันจำกัดนี้เด็กมีหน้าที่ในการอ่านเพื่อไปสอบแล้ว ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าอ่านเพื่อไปเอาคะแนน เพื่อไปสอบให้ติด แล้วทีนี้เด็กจะไปเพิ่มพูนความรูอะไรนอกเหนือจากนี้ ค่อยหลังจากสอบติดก็ได้ เพราะเจาะจงจากสิ่งที่ตัวเองติดเข้าไปแล้ว แล้วค่อยไปต่อยอดเพิ่มเอา แต่ทุกวันนี้เด็กต้องเอาตัวรอดให้ได้ คือ การอ่านในสิ่งที่ข้อสอบจะออกแล้วไปสอบให้ติดก่อน เจาะให้ตรงค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างกับบทสัมภาษณ์ขอพี่ๆ ติวเตอร์ทั้ง 2 ท่าน แอดมินหวังเหลือเกินว่าถ้าหากน้องๆ นำไปปรับใช้แล้วจะช่วยให้สมหวังทุกประการ กับการเรียนต่อในมหาวิทยาลัย หรือคณะที่เราต้องการต่อไปนะครับ แล้วมาพบกันใหม่กับเรื่องราว สารดีๆ แบบนี้ สำหรับวันนี้ สวัสดีและโชคดีกับการสอบทุกคนนนะคร้าบบบบบ

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *