สมอง 5 ด้านสู่ความเป็นอัจฉริยะ

   

         

              cognitivemind ได้แก่ สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind) สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind) และสมองด้านสร้างสรรค์ (creatingmind) อีก 2 ด้านเป็นพลังด้านมนุษย์สัมผัสมนุษย์ได้แก่ สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind) และสมองด้านจริยธรรม (ethical mind)การเรียนรู้เพื่อ  พัฒนาสมอง 5 ด้าน ไม่ดำเนินการแบบแยกส่วนแต่เรียนรู้ทุกด้านไปพร้อม ๆ กัน หรือที่เรียกว่า เรียนรู้แบบบูรณาการ ครูต้องทำหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้ และช่วยเป็นโค้ชให้ ครูที่เก่งและเอาใจใส่จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ลึกและเชื่อมโยง นั้น  คือ มิติทางปัญญา

               สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind) คำว่า disciplined มีได้ 2 ความหมาย คือหมายถึง มีวิชาเป็นรายวิชาก็ได้   และหมายถึงเป็นคนมีระเบียบวินัยบังคับตัวเองให้เรียนรู้เพื่ออยู่ในพรมแดนความรู้ก็ได้ ในที่นี้ หมายถึงมีความรู้และทักษะ  ในวิชาในระดับที่เรียกว่าเชี่ยวชาญ (master) และสามารถพัฒนาตนเองในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาหลักการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 บอกเราว่า คำว่า เชี่ยวชาญ ในโรงเรียน หรือในการเรียนรู้ของเด็ก ต้องคำนึงถึงบริบท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  บริบทของการเจริญเติบโตทางสมองของเด็ก เป้าหมายคือ การเรียนรู้แก่นวิชา ไม่ใช่จดจำสาระแบบผิวเผิน แต่รู้แก่นวิชา  จนสามารถเอาไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นได้ และสนุกกับมันจนหมั่นติดตามความก้าวหน้าของวิชาอย่างไม่หยุดยั้ง

               สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind) คือ ความสามารถในการรวบรวมสารสนเทศและความรู้ต่างๆ  ที่เกี่ยวข้อง  นำมากลั่นกรองคัดเลือกเอามาเฉพาะส่วนที่สำคัญ และจัดระบบนำเสนอใหม่อย่างมีความหมาย คนที่มีความสามารถสังเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ได้ดีเหมาะที่จะเป็นครู นักสื่อสาร และผู้นำครูต้องจัดให้เด็กได้เรียนเพื่อพัฒนาสมองด้านสังเคราะห์ ซึ่งต้องเรียนจากการฝึกเป็นสำคัญ และครูต้องเสาะหาทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์มาใช้ในขั้นตอนของการเรียนรู้จากการทบทวนไตร่ตรอง (reflection) หรือ AAR การฝึกสมองด้านสังเคราะห์ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ปฏิบัตินำ ทฤษฎีตาม และการสังเคราะห์กับการนำเสนอเป็นคู่แฝดกัน การนำเสนอ อาจเป็นเรียงความ การนำเสนอด้วยสื่อมัลติมีเดีย(multimedia presentation) เป็นภาพยนตร์สั้น  เป็นละคร ฯลฯ

               สมองด้านสร้างสรรค์ (creating mind) คือ ทักษะที่คนไทยขาดที่สุด โดยคุณสมบัติสำคัญที่สุดของสมองสร้างสรรค์คือ คิดนอกกรอบ แต่คนเราจะคิดนอกกรอบเก่งได้ต้องเก่งความรู้ในกรอบเสียก่อน แล้วจึงคิดออกไปนอกกรอบนั้น ถ้าคิดนอกกรอบโดยไม่มีความรู้ในกรอบเรียกว่า คิดเลื่อนลอย คนที่มีความรู้และทักษะอย่างดีเรียกว่า ผู้เชี่ยวชาญ ต่างจากผู้สร้างสรรค์ตรงที่ผู้สร้างสรรค์ทำสิ่งใหม่ ๆ ออกไปนอกขอบเขตหรือวิธีการเดิม ๆ โดยมีจินตนาการแหวกแนวไป และการสร้างสรรค์ต้องใช้สมองหรือทักษะอื่น ๆ ทุกด้านมาประกอบกันการสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ ความสร้างสรรค์นั้นเรียนรู้หรือฝึกได้ ครูจึงต้องหาวิธีฝึกฝนความสร้างสรรค์ให้แก่เด็ก ศัตรูสำคัญที่สุดของความคิดสร้างสรรค์ คือ การ เรียนแบบท่องจำ เปรียบเทียบสมอง 3 แบบข้างต้นได้ว่า สมองด้านวิชาและวินัยเน้นความลึก (depth) สมองด้านการ สังเคราะห์เน้นความกว้าง (breath) และสมองด้านสร้างสรรค์เน้นการขยายหรือฝืน (stretch)

สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind)  คุณสมบัติด้านเคารพให้เกียรติผู้อื่นมีความจำเป็นในยุคโลกาภิวัตน์ที่ผู้คนเคลื่อนไหวเดินทางและสื่อสารได้ง่าย คนเราจึงต้องพบปะผู้อื่นจำนวนมากขึ้นอย่างมากมาย และเป็นผู้อื่นที่มีความ แตกต่างหลากหลายทั้งด้านกายภาพ นิสัยใจคอ  วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ความเชื่อ ศาสนา มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 จึง ต้องเป็นคนที่สามารถคุ้นเคยและให้เกียรติคนที่มีความแตกต่างจากที่ตนเคยพบปะได้ที่สำคัญ คือ ต้องไม่มีอคติ ทั้งด้านลบและด้านบวกต่อคนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา  ต่างความเชื่อ ครูจะฝึกฝนสมองด้านนี้ของเด็กอย่างไร คือ ความท้าทาย หากโรงเรียนของท่านมีเด็กนักเรียนจากหลากหลายวัฒนธรรม การจัดการเรียนรู้น่าจะง่ายขึ้น  แต่ในกรณีที่นักเรียนในโรงเรียนที่ท่านสอนเป็นเด็กจากวัฒนธรรมและชนชั้นเดียวกัน ครูจะจัดให้เด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนา สมองด้านนี้อย่างไรนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง

                 สมองด้านจริยธรรม (ethical mind) คือ ทักษะเชิงนามธรรม เรียนรู้ซึมซับได้โดยการชวนกันสมมติและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่ง สมองด้านจริยธรรมได้รับการปลูกฝังกล่อมเกลามาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เรื่อยมาจนโต และเชื่อว่าเรียนรู้พัฒนาได้จนสูงวัยและตลอดอายุขัย

แนวความคิดเรื่อง 5 ฉลาดนี้ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการพัฒนาทฤษฎี ครูทุกคนมีสิทธิ์ที่จะพัฒนาทฤษฎีขึ้นใช้เอง ทฤษฎีไม่ใช่สิ่งตายตัว หรือมีสิทธิ์สร้างเฉพาะนักวิชาการยิ่งใหญ่เท่านั้น คนที่มุ่งมั่นทำงานด้านใดด้านหนึ่งมีสิทธิ์พัฒนาทฤษฎีขึ้นใช้เป็นแนวทางในการทำงานสร้างสรรค์ของตน ดังนั้น ครูทุกคนควรสร้างทฤษฎีในการทำงานของตน แล้วลงมือปฏิบัติและหาทางเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อพิสูจน์ว่าทฤษฎีของตนถูกต้องหรือมีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงอย่างไร การทำงานแบบนี้คือ การทำงานบนฐานการวิจัยนั่นเอง