หลักสูตรการแต่งงานและครอบครัว

หลักสูตรการแต่งงานและครอบครัว เรียนอะไรบ้าง เรียนไปเพื่ออะไร

หลายประเทศในเอเชียตะวันออกมีอัตราการแต่งงานและการเกิดลดลงอย่างมาก แต่ชั้นเรียนของมหาวิทยาลัยดงกุกและมหาวิทยาลัยคยองฮีในกรุงโซลของเกาหลีใต้ มีเป้าหมายเพื่อจะแก้ปัญหาเหล่านั้น ในห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยดงกุก ศาสตราจารย์ลีอึนจูสอนอยู่ในหลักสูตร ” การแต่งงานและครอบครัว (marriage and family) ” ชั้นเรียนนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำร่องความสัมพันธ์ช่วยคนหนุ่มสาวซึ่งอาจจะมีสักวันหนึ่งที่กับเจอคนที่เหมาะสม ให้มีประสบการณ์และความรู้ที่จะนำไปสู่การแต่งงานและสร้างครอบครัวในอนาคต ซึ่งชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่ขยายกว้างมากขึ้นในเกาหลี เพื่อแก้ไขปัญหาของคนหนุ่มสาวที่ไม่ได้แต่งงานและคนที่ไม่มีลูก

 

นี่เป็นหัวข้อที่ซับซ้อนในประเทศที่มีบทบาททางเพศแบบดั้งเดิมมายาวนาน ซึ่งเริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อเศรษฐกิจเฟื่องฟูในทศวรรษ 1960

 อัตราการเกิดที่หย่อนคล้อย

มุมมองที่ฝังรากลึกว่า ผู้หญิงเกาหลีมีอาชีพเป็นแม่บ้านเป็นหลัก และผู้ชายเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัวนั้น มีผลกระทบอย่างมากต่อการที่ชายหนุ่มและหญิงสาวในปัจจุบันมองถึงการแต่งงานและการสร้างครอบครัว

ในปี 2560 เกาหลีใต้มีอัตราการเกิดที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ อัตราส่วนการกำเนิดนั้นเท่ากับผู้หญิงต่อเด็ก 1.05 คน ซึ่งต่ำกว่าระดับ 2.01 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่จำเป็นเพื่อให้ประชากรมีเสถียรภาพ แม้ว่ารัฐบาลจะใช้งบประมาณหลายพันล้านดอลลาร์ในการริเริ่ม เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของชาติในทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการให้ระยะเวลาการลาคลอดที่เพิ่มมากขึ้น การจ่ายค่ารักษาภาวะมีบุตรยาก และครอบครัวที่มีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปที่ได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าถึงการดูแลเด็กของประชาชน เป็นต้น

อัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลงเช่นเดียวกันนี้สามารถเห็นได้ในส่วนอื่น ๆ ของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์

ในเกาหลีใต้ มีวลีใหม่ที่เกิดขึ้นนั่นคือ Sampo Generation คำว่า삼포세대 (สัมโป) หมายถึง“ การเลิกทำสามสิ่ง” ได้แก่ การจีบ การแต่งงานและการเลี้ยงลูก นั่นมาจากค่าครองชีพ และแรงกดดันในการทำงานที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลกระทบให้มีการชะลอการแต่งงานและการมีครอบครัว ศาสตราจารย์ลีกล่าวว่า ปรากฏการณ์นี้ได้พัฒนาขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เนื่องจากคนหนุ่มสาวกำลังดิ้นรนเพื่อหางานทำและอยากมีอิสระทางการเงินในระบบเศรษฐกิจที่เติบโตช้าและการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น

การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะสำหรับผู้หญิงหรือผู้ชาย ความกังวลทางการเงินนั้นเป็นตัวขัดขวางการแต่งงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และพวกเขากำลังมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของการเลือกมากกว่าความจำเป็น

ยกตัวอย่าง  Ji-Won Kim วัย 24 ปีนักเรียนคนหนึ่งของ ศาสตราจารย์ลี เธอกล่าวว่า “คนรอบตัวของเธอไม่อยากแต่งงานเพราะต้องใช้จ่ายค่าเลี้ยงดูมากเพื่อดูแลลูกและส่งพวกเขาไปโรงเรียน อีกทั้งเธอยังมีเพื่อนผู้หญิงที่มักจะคิดว่า การจ่ายค่าเช่าด้วยตัวเอง ซื้อของที่ต้องการ เลี้ยงลูกหมาและแค่ไปออกเดทกันดีกว่าการที่ต้องแต่งงานมีลูก”

ความทันสมัยที่ถูกกดทับ

“มีคำกล่าวว่าชีวิตของคุณจะหายไปเมื่อคุณแต่งงานและมีลูก”

Ji-Myeong Kim นักเรียนอีกคนของศาสตราจารย์ลี อายุ 24 ปี ไม่ต้องการที่จะลงหลักปักฐานหรือแต่งงาน แต่แฟนคนปัจจุบันของเขาต้องการความมั่นใจเกี่ยวกับทัศนคติภายในครอบครัวของเขา

โดยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาผู้หญิงเกาหลีที่เพิ่งแต่งงานใหม่ ถูกคาดหวังว่าจะออกจากครอบครัวของตัวเองและเข้าร่วมกับครอบครัวของสามี ซึ่งเทอจะจัดอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำที่สุดในลำดับชั้นของบ้าน ดังนั้น คิมต้องทำให้แฟนสาวของเขามั่นใจว่าครอบครัวของเขา

ไม่ได้ยึดติดกับวิถีแบบเดิม ๆ นั้นดังที่กล่าวมา

Jean Yeung ศาสตราจารย์และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยครอบครัวและประชากรแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ชี้ให้เห็นว่าประเทศต่าง ๆ เช่น เกาหลีและสิงคโปร์มี “ความทันสมัยที่ถูกกดทับ” ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วซึ่งมาพร้อมกับการก้าวไปข้างหน้าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

“การเปลี่ยนแปลงที่อาจต้องใช้เวลาหนึ่งศตวรรษหรือมากกว่านั้นจึงจะเกิดขึ้นในยุโรป ใช้เวลาสองหรือสามทศวรรษจึงจะเกิดขึ้นในเอเชีย ในหลาย ๆ ด้านเศรษฐกิจการศึกษาและบทบาทของผู้หญิงเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วจนสถาบันและบรรทัดฐานทางสังคมไม่สามารถตามทัน”

พื้นที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของครอบครัวสมัยใหม่ได้ คือ โลกขององค์กร ผู้หญิงหลายคนบอกว่า “ ไม่อยากกังวลกับการเลี้ยงดูลูกน้อย ในวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่สามารถรองรับคุณแม่ที่ทำงานได้”

Peter McDonald ศาสตราจารย์ด้านประชากรศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นกล่าวว่า สำหรับนายจ้าง ชีวิตครอบครัวของบุคคลนั้นมีความสำคัญน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย “เอเชียตะวันออกโดดเด่นด้วยความคาดหวังในส่วนของนายจ้างที่มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานมากและการอุทิศตนให้กับงานเป็นอันดับแรกและสำคัญที่สุด” อีกประการหนึ่งที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการแต่งงานสำหรับผู้หญิงคือความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในการแบ่งงานบ้าน จากรายงานของ OECD ในปี 2015 ผู้ชายเกาหลีใช้เวลาทำงานบ้านโดยเฉลี่ยเพียง 45 นาทีต่อวันซึ่งน้อยกว่าหนึ่งในสามของค่าเฉลี่ย OECD

การฝึกส่งข้อความหาคู่

ในหลักสูตรการแต่งงานและครอบครัว นักเรียนจะต้องทำงานร่วมกับคู่หูในแบบฝึกหัดต่าง ๆ นักเรียนเรียกมันว่า “การออกเดทแบบบังคับ” ในขณะที่ศาสตราจารย์ลีเรียกมันว่า “การจับคู่”

คู่รักจะต้องทำภารกิจที่อาจจะต้องเผชิญในความสัมพันธ์จริง ๆ ในภายหลัง เช่น การไปเดทในราคาประหยัดวางแผนงานแต่งงานตามทฤษฎี และทำสัญญาการแต่งงานที่ครอบคลุมทุกอย่าง ตั้งแต่การแบ่งงานบ้านและรูปแบบการเลี้ยงดูซึ่งพ่อแม่

อีกทั้งพวกเขายังต้องกลับไปศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับเพศศึกษา เนื่องจากศาสตราจารย์ลีกล่าวว่า โรงเรียนนั้นมุ่งเน้นไปที่การสั่งสอนนักเรียนว่าอย่าตั้งครรภ์ แทนที่จะให้ความรู้ให้ตรงจุด ดังนั้นการเรียนพื้นฐานเกี่ยวกับเพศศึกษา จะทำให้ข้อมูลที่อาจทำให้พวกเขารู้สึกดีมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องเพศ และควบคุมภาวะเจริญพันธุ์ได้มากขึ้น

นอกจากการเรียนการสอนในห้องแล้ว ผู้ที่เรียนในวิชานี้ยังต้องออกเดทกับคู่เดทอย่างน้อย 3 คนในหนึ่งเดือน และหลังจากที่ได้ทำความรู้จักกันแล้ว พวกเขาจะต้องบอกกับอาจารย์อีกด้วยว่ารู้สึกกับคนไหนเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีการบ้านที่เกี่ยวกับการออกเดทและอภิปรายเกี่ยวกับสถาณการณ์ที่คู่รักต้องเจอ เช่น กรณีทะเลาะหรือมีการหึงหวงกัน ผู้ที่เข้าเรียนจะมีโอกาสได้ทำความเข้าใจวิธีคิดของคนที่ตัวเองคบหา โดยคาดหวังว่าจะนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือการคลี่คลายความขัดแย้งร่วมกันโดยไม่ใช้กำลังหรือความรุนแรง

สิงคโปร์สร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองผ่านโครงการ Baby Bonus ซึ่งมอบของขวัญเป็นเงินสดสำหรับเด็ก และยังจับคู่เงินออมของผู้ปกครองสำหรับอนาคตของบุตรหลาน แต่ห้าปีต่อมาดูเหมือนว่ามาตรการเหล่านี้ไม่ได้มีผลต่ออัตราการเกิดที่เพิ่มขึ้นมากนัก

เกาหลีพยายามริเริ่มการสร้างสรรค์โครงการของตัวเอง ในปี 2010 พนักงานของกระทรวงสาธารณสุขสวัสดิการและกิจการครอบครัวในกรุงโซลได้รับคำสั่งให้กลับบ้านเร็วขึ้น ในวันพุธ หนึ่งครั้งต่อเดือนและใช้เวลาร่วมกับครอบครัว ซึ่งนี่เป็นการริเริ่มที่เรียกว่า “วันครอบครัว”

สำหรับหลักสูตรนี้ จะเป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนทำความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง และเรียนรู้ตนเองให้มาก และที่สำคัญหลักสูตรนี้มีเพื่อเปลี่ยนทัศนคติของผู้หญิงเกาหลี เพื่อให้ผู้หญิงเกาหลีมีทัศนคติที่ดีต่อชีวิตครอบครัว และหลักสูตรนี้อาจจะเพิ่มอัตราการเกิดในอนาคตได้

แปลและเรียบเรียงจาก https://www.bbc.com/worklife/article/20180426-can-classes-help-seouls-marriage-phobic-singles

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *