แอปพลิเคชั่นท่องเที่ยว PlanIT คว้าชัยเวทีประกวดนวัตกรรมชุมชน IDE Competition 2021

         เมื่อเร็วๆนี้เวทีการแข่งขันประกวดนวัตกรรม IDE Competition 2021 จัดโดยศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (IDE Center) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จากผู้ประกอบการร่วมแข่งขันทั่วประเทศไทย ซึ่งปีนี้เป็นการแข่งขันรูปแบบออนไลน์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่าโควิด 19 ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขัน IDE Competition Explore Track ได้แก่ ทีม PlanIT ทำการออกแบบแอปพลิเคชั่นทำงานร่วมกับ AI มาช่วยวางแผนการท่องเที่ยวส่วนบุคคลอัตโนมัติภายในเวลา 1 นาที โดยแก้ปัญหาของผู้ที่อยากเที่ยวแต่ไม่มีเวลาวางแผนเที่ยว สามารถวางแผนเที่ยวที่ตรงใจในเวลาอันรวดเร็ว

คุณณิศวัลย์ เกตุรัตนกุล ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารทีม PlanIT กล่าวว่า “PlanIT เป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้ AI มาช่วยวางแผนการท่องเที่ยวส่วนบุคคลอย่างอัตโนมัติภายในเวลา 1 นาที โดยจะแก้ปัญหาของผู้ที่อยากเที่ยวแต่ไม่มีเวลาวางแผนเที่ยวที่ตรงใจในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งต่างจากผู้ให้บริการรายอื่นๆ ที่ผู้ใช้ต้องเสียเวลาในการค้นหาดูรูปและเลือกสถานที่ที่ชอบมาใส่สร้างแผนเที่ยวเอง รวมถึงต้องสร้างแผนการเดินทางด้วยตนเอง สำหรับ PlanIT ผู้ใช้เพียงแค่ระบุความต้องการ ก็จะได้แผนเที่ยวพร้อมการเดินทางภายใน 1 นาที และเพียงคลิกเดียว ก็จะสามารถจองทริปนั้นๆ ได้ ทีมได้นำความรู้ที่ได้เรียนรู้จากโครงการ IDE Accelerator 2021 เป็นระยะเวลาต่อเนื่องตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา  ไปใช้ปฎิบัติจริงในการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะในการสัมภาษณ์วิเคราะห์กลุ่มลูกค้า เพื่อกำหนดความต้องการและตอบสนองปัญหาของลูกค้า ที่สำคัญได้เรียนรู้การทำงานอย่างเป็นระบบตั้งแต่การสัมภาษณ์ และวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อกำหนดความต้องการและปัญหาของลูกค้า ไปจนถึงกระบวนการหาโอกาสจากปัญหาต่างๆ การคิดวิธีแก้ไขปัญหา การทดสอบกับลูกค้า และการสื่อสารสิ่งที่ทีมกำลังทำให้ผู้อื่นเข้าใจ รวมถึงปูพื้นฐานความรู้ด้านการบริหารการเงินและกฎหมาย รวมถึงการนำคำถามและคำแนะนำที่ได้รับจากโค้ชและกรรมการไปต่อยอดพัฒนาการทำงานและผลิตภัณฑ์ตลอดทั้งโครงการ”

“รู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขัน IDE Competition Explore Track ปีนี้ หลังจากนี้จะทำการต่อยอดศึกษากลุ่ม persona ที่เป็นผู้ป่วยโรคไตมากขึ้น เพื่อประเมินความต้องการของตลาด โดยสมมติฐาน คือ กลุ่มนี้มีความต้องการที่จะท่องเที่ยวแต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากข้อจำกัดที่ต้องได้รับการฟอกไต 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งถ้าหากสมมติฐานเป็นจริง ทางทีมจะสามารถวางแผนการท่องเที่ยวให้คนกลุ่มนี้ได้ โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลในการเพิ่มจุดแวะและการจองให้ผู้ป่วยสามารถไปฟอกไตได้ที่โรงพยาบาลท้องถิ่นตามเวลาที่เหมาะสมในระหว่างการเดินทาง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้สามารถกลับมาเดินทางท่องเที่ยวได้อีกครั้ง ปีหน้าหากใครมีโอกาสได้เข้าร่วมการแข่งขัน อยากให้ใช้โอกาสที่ได้เข้ามาร่วมโครงการให้คุ้มค่า ตั้งใจเรียนทำการบ้านและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ได้จากโครงการนี้ให้ได้มากที่สุด และนำความรู้ไปต่อยอดเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและสังคมต่อไป สุดท้ายอยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยพลิกฟื้นธุรกิจท่องเที่ยวไทยให้กลับมาหลังจากวิกฤติไวรัสโคโรน่า โดยหวังว่าแอพพลิเคชั่นนี้จะทำให้นักท่องเที่ยวจองทริปได้เร็วขึ้น ทำให้เงินหมุนเวียนในระบบ ecosystem เร็วขึ้น รวมถึงมีการท่องเที่ยวที่หลากหลายมากขึ้น จากการแนะนำของแอพพลิเคชั่น ไม่กระจุกอยู่เฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่เป็นเมืองหลักเท่านั้น ทำให้ลดปัญหาการท่องเที่ยวที่แออัดและเกิดการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนมากขึ้น” คุณณิศวัลย์ กล่าวทิ้งท้าย

######

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *