เรียน “วิศวะ” กรุงเทพธน 4 สาขาจบมาอนาคตหรู

คณะยอดฮิตติดอันดับตลอดกาลของไทย คงไม่มีใครปฏิเสธ “วิศวกรรมศาสตร์” ว่านี่คือ 1 ใน 5 คณะ/สาขาที่เด็กไทยรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองต่างต้องการเข้าไปเป็น 1 ในวัฏจักรสาขาอาชีพนี้

เหตุผลเชิงประจักษ์ที่สืบทอดกันมา อาชีพ “วิศวกร”  ภาพลักษณ์ไม่เป็นสองรองใคร รายได้ดี ดูเท่ สบาย แต่ซ่อนความเก่งไว้ในทุกอณู จึงเป็นแรงดึงดูดใจให้นักเรียนจำนวนมากใฝ่ฝันที่จะเดินเข้าสู่เส้นทางนี้

แต่การเรียนวิศวกรรมศาสตร์ก็ไม่ใช่ง่าย เพราะมีการประยุกต์ใช้ทั้งวิชาทางด้าน ฟิสิกส์ เคมี คำนวณ คณิตศาสตร์  เพื่อการคำนวน พัฒนา ออกแบบเครื่องมือเครื่องจักรหรือนวัตกรรมอื่น ๆ  มากมาย

ยิ่งในยุคปัจจุบันที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวหน้า การเรียนวิศวะจำเป็นต้องรู้ลึกซึ้งถึงข้อมูลว่าในโลกปัจจุบันและอนาคต ศาสตร์ด้านนี้ยังต้องการบุคลากรเพื่อสนองความต้องการด้านใดบ้าง ต้องศึกษาให้เข้าใจด้วยว่า บางสาขาผลิตคนออกมาล้นตลาดหรือยัง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจเลือกเรียนสาขาใดสาขาหนึ่ง…

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  คือหนึ่งในคณะที่ขอนำมาให้น้อง ๆ พิจารณาในวันนี้ เนื่องจากที่นี่เปิดการเรียนการสอนแค่ 4 สาขาดังนี้

1. สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
2. สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
3. สาขาวิศวกรรมโยธา
4. สาขาวิศวกรรมซ่อมบำรุงรักษาอากาศยาน

หากลองพิจารณาให้ลึกซึ้งและศึกษาข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ ประกอบ จะเห็นได้ว่าทั้ง 4 สาขานี้ คือความต้องการของชาวโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคตทั้งสิ้น เพราะทั้งไฟฟ้า เครื่องกล โยธา และสุดท้ายอากาศยาน เป็นสิ่งที่มนุษยชาติจะขาดไม่ได้ ด้วยเหตุว่ามันกลายเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานไปแล้ว หากไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็จะสร้างความเสียหายในวงกว้างไปทั้งโลกเลยทีเดียว

ส่วนเส้นทางสายอาชีพหลัก ๆ ลองมาดูว่าถ้าเรียนแล้ว จะสามารถเดินไปในเส้นทางใดได้บ้าง…

สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถประกอบวิชาชีพได้อย่างกว้างขวาง หรือ งานราชการ รัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรมธุรกิจ และงานวิจัยต่าง ๆ เช่น

1. วิศวกรในระบบราชการ ได้แก่ การเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย และวิทยาลัย ตลอดจนถึงการเป็นวิศวกรประจำกรม กองของกระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น

2. วิศวกรในระบบรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การเป็นวิศวกรในการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวงการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค องค์การโทรศัพท์ ศูนย์โทรคมนาคมต่าง ๆ และโรงงานอุตสาหกรรมบางอย่างที่รัฐดำเนินการ เป็นต้น

3. วิศวกรในระบบอุตสาหกรรมและธุรกิจ ได้แก่ วิศวกรประจำโรงงานที่ผลิตอุปกรณ์ หรือสิ่งประดิษฐ์ทาง ไฟฟ้า และเป็นวิศวกรประจำบริษัทที่รับปรึกษาปัญหาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า บริษัทผลิตไฟฟ้า และเป็นผู้ประกอบการ เป็นต้น

สาขาวิศวกรรมซ่อมบำรุงรักษาอากาศยาน

จุดเด่นของหลักสูตร

ในอุตสาหกรรมการบิน ‘อาชีพช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน’ เป็นอีกหนึ่งสายงานที่มีความต้องการแรงงานสูงมาก ซึ่งทำหน้าที่ดูแลและซ่อมบำรุง รวมถึงระบบของเครื่องบิน และเครื่องยนต์ของอากาศยาน หลักสูตรนี้จึงเปิดขึ้นมาเพื่อผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมสาชาวิชาวิศวกรรมซ่อมบำรุงรักษาอากาศยานในระดับปริญญาตรี ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมมีความสามารถในการทำงาน วิจัย พัฒนา และควบคุม ในสาขาวิชาวิศวกรรมซ่อมบำรุงรักษาอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรสามารถตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) ที่ส่งเสริมการลงทุนที่เน้นการวิจัยและ พัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและอวกาศเพื่อรองรับการเติบโต ของอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวข้องโดยยกระดับบริการซ่อมบํารุงอากาศยาน และการผลิตชิ้นส่วน อากาศยาน ซึ่งจะต่อยอดไปยังชิ้นส่วนยานอวกาศในที่สุด และสนับสนุนการลงทุนด้านบริการดูแลรักษา และซ่อมแซมอากาศยานเพื่อขยายตลาดบริการดูแลรักษาและซ่อมแซมอากาศยาน ตลอดจนพัฒนา เทคโนโลยีสําหรับการบินและอวกาศ การส่งเสริมและพัฒนาการขนส่งรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับบริบทของไทยในอนาคต พร้อมทั้งการผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ

สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. วิศวกรเครื่องกล โดยสามารถออกแบบ ควบคุม และซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ควบคุมการผลิตและกระบวนการต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม ออกแบบและควบคุมงานระบบต่างๆ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบกลไกในโรงงาน ระบบที่เกี่ยวข้องกับของไหล รวมทั้งการวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงงาน อาคาร และหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น

2. นักวิจัยในสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น พลังงาน อากาศยาน หุ่นยนต์ ยานยนต์ เป็นต้น

3. ครู อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. วิศวกรโยธา ในหน่วยงานภาคเอกชน

2. วิศวกรโยธา ในหน่วยงานภาครัฐ

3. อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาภาครัฐหรือเอกชน

4. ประกอบอาชีพอิสรด้านวิศวกรรมโยธา

5. นักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

รายละเอียดหลักสูตร https://bkkthon.ac.th/home/th/faculty/faculty-15

…………………………..

5 สิ่งที่เด็กวิศวะต้องเจอในการเรียน


1. สาขาสุดโหด ‐ แต่ละสาขาของคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นเป็นการเตรียมความพร้อมวิชาชีพวิศวกร ที่เน้นทั้งทฤษฎี การปฏิบัติ และสร้างงานจริง ซึ่งต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีผสมกับวิทยาศาสตร์ และอาศัยการคำนวณในการออกแบบ


2. การสอบที่นับครั้งไม่ถ้วน ‐ ขึ้นชื่อว่าวิศวะก็ต้องฟิตทั้งกายทั้งใจ หนังสือเยอะแค่ไหนก็ต้องอ่านให้หนักเข้าไว้ ด้วยความที่เนื้อหาของวิศวะมีเยอะมากมายและค่อนข้างละเอียด รวมถึงเป็นอีกคณะหนึ่งที่มีการสอบบ่อยมากๆ การอ่านหนังสือและทบทวนบทเรียนจึงต้องตั้งใจอย่างถี่ถ้วน


3. เรียนไฟฟ้าต้องซ่อมไฟเป็น ‐ บอกก่อนว่าการซ่อมทีวีหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นงานฝีมือของการเรียนช่าง ซึ่งเด็กวิศวะก็อาจมีบ้างที่ซ่อมเป็น แต่หลักๆ ของการเรียนวิศวกรรมไฟฟ้านั้นจะเกี่ยวกับการออกแบบ การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า รวมทั้งการแปรผันพลังงานไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


4. เรียนเครื่องกลต้องซ่อมรถเป็น ‐ นี่ก็เป็นความเข้าใจผิดเหมือนข้างต้น เพราะการเรียนวิศวะเครื่องกลนั้นไม่ใช่พื้นฐานเดียวกับการเรียนสายอาชีพ ซึ่งจริงๆ แล้วเรียนเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เพื่อนำมาผลิตและดูแลรักษาระบบเชิงกล


5. เรียนโยธาต้องออกแบบบ้าน ‐ ตรงนี้อาจเป็นความสับสนระหว่างวิศวะโยธากับสถาปนิก ซึ่งจริงๆ แล้วเรียนกันคนละศาสตร์เลย โดยวิศวะจะต้องคำนวณสิ่งที่สถาปนิกคิดไว้ ตั้งแต่คำนวณโครงสร้าง คำนวณระบบการวางเสา คาน และอื่นๆ

ที่มา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี – BTU

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *