อยากเรียนคณะแพทยศาสตร์ มีกี่สาขา เรียนอะไรบ้าง ?

น้อง ๆที่สนใจอยากเข้าคณะแพทยศาสตร์ วันนี้เราจะมาบอกว่าคณะแพทยศาสตร์เรียนอะไรบ้าง เพื่อให้น้อง ๆ ได้ศึกษาก่อนที่จะได้สมัครเข้าเรียนจริง ๆ มาดูกันเลย

คณะแพทยศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง

คณะแพทยศาสตร์ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี

ปี 1 เรียนปรับพื้นฐาน

ในปีนี้จะต้องได้เรียนปรับพื้นฐานก่อน วิชาที่เรียนก็จะคล้าย ๆ กับตอนมอปลาย เช่น ฟิสิกส์ทั่วไป (บางสถาบัน), เคมีทั่วไป, ชีววิทยา, แคลคูลัส, ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพแพทย์ เป็นหลัก แต่ว่าจะยากกว่าที่เคยเรียนค่อยข้างเยอะ

ปี 2 เริ่มเข้าเนื้อหาแพทย์

จะเริ่มเข้าเนื้อหาการเรียนเกี่ยวกับหมอแบบจริงจัง ได้เรียนรู้โครงสร้างด้านร่างกายและระบบในร่างกาย เช่น ระบบประสาท ระบบเลือด และวิชาที่จะได้เรียน เช่น วิชาทางกายวิภาค สรีรวิทยา พันธุศาสตร์ ดังนั้นจะต้องปรับตัวจากปี 1  และในปีนี้จะได้พบกับอาจารย์ใหญ่และกล่าวคำปฏิญาณด้วย

ปี 3 เรียนเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์

จะได้เรียนว่าร่ายกายมนุษย์เกิดอาการป่วยได้อย่างไร เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่ทำให้ร่างกายไม่ปกติ เช่น หลักภูมิคุ้มกันวิทยา, ปรสิตวิทยา, พยาธิทั่วไป, เวชศาสตร์ชุมชนฯ จนไปถึงยาต่าง ๆ ในเภสัชวิทยา แต่เป็นยาแบบพื้นฐาน ดังนั้นเราจะเริ่มรู้จักโรคต่าง ๆ และรู้จักเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคด้วย เรียนเกี่ยวกับยารักษาโรค ถึงแม้จะไม่เรียนลึกเท่าเภสัช แต่ก็จะได้เรียนลึกขนาดต้องรู้กลไกการออกฤทธิ์ โครงสร้างของยาบางตัวที่สำคัญ

ปิดเทรมปี 3 ก่อนขึ้นปี 4 ต้องสอบใบประกอบโรคของแพทย์ขั้นที่ 1 (เรียกสั้น ๆ ว่า NL 1 ซึ่งจะมีสอบทั้งหมด 3 ขั้น) และเนื้อหาที่ออกสอบคือ เนื้อหาที่เรียนทั้งหมดในปี 2 และปี 3

ปี 4 ได้เริ่มดูแลคนไข้

ปีนี้ ไม่ได้เป็นเลคเชอร์ในห้องรวมแล้ว แต่จะเป็นการเรียนรู้บนหอผู้ป่วย (วอร์ด) โดยเรียนรู้จักผู้ป่วยโดยตรงเลย โดยจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อไปวนวอร์ดผู้ป่วยต่าง ๆ ตลอดปี แต่ละวอร์ดก็จะมีเนื้อความรู้ที่ต่างกัน เช่น วอร์ดสูติ-นรีเวช ก็จะเน้นไปที่โรคของผู้หญิง วอร์ดเด็กที่จะเน้นโรคของเด็ก

ในตอนที่วนไปแต่ละวอร์ดก็จะได้รับคนไข้ คือต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค และให้แนวทางการรักษาเบื้องต้นได้ โดยอาจารย์บนวอร์ดจะเป็นคนคอยควบคุมดูแล ให้ความรู้ ชี้จุดบกพร่อง กับเราอีกทีหนึ่ง และปีนี้เราจะได้ขึ้นเวรด้วย

ปี 5 คล้ายปี 4 แต่เรียนหนักขึ้น

รูปแบบการเรียนของปี 5 จะเหมือนของปี 4 คือต้องแบ่งกลุ่มย่อย ๆ และวนไปตามวอร์ดต่าง ๆ ตลอดทั้งปี จะมีความแตกต่างวอร์ดที่วนไป อาจจะมีวอร์ดที่ไม่เคยวนมาก่อน เช่น จิตเวช นิตเวช จะทำคล้ายปี 4 คือ ต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค ให้การรักษาได้

และในช่วงปิดเทอมปี 5 ก่อนขึ้นปี 6 นั้นจะต้องสอบใบประกอบโรคของแพทย์ขั้นที่ 2 ซึ่งเนื้อหานั้นคือเนื้อหาของปี 4 และ ปี 5 ทั้งหมด

ปี 6 ทำงานเต็มตัวในโรงพยาบาล

ในปีนี้ถือว่าได้ทำงานเหมือนหมอตามโรงพยาบาลทุกอย่างเลย เช่น การตรวจคนไข้ ทำการรักษาโรค เย็บแผลเอง ทำคลอดเอง ทำการผ่าตัดเล็กเอง (โดยจะมีอาจารย์เป็นผู้ควบคุมดูแลอีกทีอย่างห่างๆ) เรียกได้เป็นปีที่เรียนหนักที่สุด

และต้องสอบใบประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ขั้นที่ 3 (ขั้นสุดท้าย) ซึ่งจะทำการสอบตอนจบปี 6 ส่วนของข้อสอบนั้นจะไม่ได้เป็นแบบตัวเลือกเหมือนกับ 2 รอบที่ผ่านมา แต่จะเป็นการสอบแบบออสกี้ (OSCE) ซึ่งเป็นการสอบปฏิบัติแบบมีเสียงกริ๊ง กำหนดเวลา มีทั้งหมด 30 ฐาน

คณะแพทยศาสตร์ มีกี่สาขา

คณะแพทยศาสตร์ไม่มีสาขาแยกต้องเรียนเหมือนกันหมด เมื่อเรียนจบครบ 6 ปีสามารถเรียนต่อสาขาเฉพาะทางได้

คณะแพทยศาสตร์มีสาขาเฉพาะทางซึ่งจะมีสาขาต่าง ๆ ดังนี้

  1. แพทย์กระดูก

สำหรับ แพทย์กระดูก หรือเรียกว่า “ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์” แพทย์ในสาขานี้จะต้องทำการวินิจฉัยความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่าง ๆ ของร่างกาย

  1. กุมารเวชศาสตร์

สาขานี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ “ศัลยแพทย์หัวใจ (Cardiac Surgeon)” หรือ เรียกว่า “ศัลยแพทย์หัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Surgeons)” ก็ได้ เป็นการแพทย์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ วินิจฉัย และทำการรักษา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แพทย์ทางด้านนี้จึงต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษโดยเฉพาะเรื่องการผ่าตัด

  1. ศัลยแพทย์ทั่วไป

สาขาศัลยแพทย์ทั่วไป (General Surgeon) หรือที่เรียกกันว่า “หมอผ่าตัด” สามารถแบ่งย่อย ๆ ออกไปได้อีกหลายแขนงด้วยกัน เช่น ประสาทศัลยแพทย์ (หมอผ่าสมอง) ศัลยแพทย์อุบัติเหตุ กุมารศัลยศาสตร์ (หมอผ่าตัดเด็ก) และอื่นๆ

  1. วิสัญญีแพทย์

สาขาวิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologist) หรือที่ชอบเรียกกันว่า “หมอดมยา หรือ หมอวางยาสลบ” จะทำหน้าที่วางยาสลบ ยาชา บล็อกไขสันหลัง ฯลฯ เพื่อดูแลผู้ป่วยให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดและปลอดภัยมากที่สุด ในขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด วิสัญญีแพทย์ต้องเลือกยา รวมถึงวิธีการให้เหมาะสมกับเคสและกายภาพของผู้ป่วย มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

  1. นิติเวชศาสตร์

เป็นสาขาเฉพาะทางที่เกี่ยวกับการชันสูตรศพ เช่น เพื่อค้นหาสาเหตุการตายที่มาจากเหตุที่ไม่เป็นธรรมชาติ เช่น การฆ่าตัวตาย การถูกฆาตกรรม

  1. สูตินารีแพทย์

สาขาสูตินารีแพทย์  (Gynecologist) มีบทบาทในการทำคลอดและตรวจรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับสตรี โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ โดยมักเรียกพวกเขาว่า “หมอตรวจภายใน” มีหน้าที่ครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษาเรื่องการมีบุตรและการผ่าตัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง

  1. แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ

“ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (urologist)” จะทำหน้าที่ในการตรวจ วินิจฉัย และรักษาโรคเฉพาะทางระบบเดินปัสสาวะทั้งหมด ระบบอวัยวะที่สำคัญภายในคือ “ตับและไต”

  1. รังสีแพทย์ : รังสีวิทยา

ในสาขา “รังสีแพทย์” จัดอยู่ในสาขารังสีวิทยา (radiology) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพสิ่งต่าง ๆของร่างกายเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค โดยจะต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษต่าง ๆ ทางการแพทย์เข้ามาช่วย ได้แก่ รังสีเอกซ์ (x-ray), รังสีแกมมา (Gamma ray) จากสารกัมมันตภาพรังสีคลื่นเสียง, คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Nuclear Magnetic Resonance Imaging)

  1. แพทย์เฉพาะทางด้าน ตา หู คอ จมูก

ตา หู คอ จมูก ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกายและการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก หน้าที่สำหรับแพทย์ในสาขานี้ ต้องทำการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติต่าง ๆ

  1. ศัลยกรรมตกแต่ง

“Plastic Surgery” คือ แขนงวิชาเฉพาะสาขาของ “ศัลยศาสตร์ (Specialized Branch of Surgery)” ศึกษาในเรื่องความผิดปกติของรูปร่าง ผิวหนัง รวมทั้งระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างของร่างกาย ซึ่งศัลยแพทย์ตกแต่ง มีขอบข่ายในการทำงานที่กว้างมาก ไม่ใช่เฉพาะเสริมจมูก หรือทำตาสองชั้น เพียงเท่านั้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  1. คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปกติ
    • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
  3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  6. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  7. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  8. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปกติ
    • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (โครงการร่วมระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม สหราชอาณาจักร)
  9. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปกติ
    • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)
  10. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  11. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  12. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  13. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  14. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  15. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  16. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  17. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  18. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  19. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  20. คณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
    • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
  21. คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (หลักสูตร 7 ปี)
  22. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  23. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *