5 เหตุผลที่จุฬาฯ ใช้ VR ในการสอนแพทย์ฉุกเฉิน

จากสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่หยุดพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาบุคลากรในสาขาต่างๆ และล่าสุดภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับอีก 13 คณะ/หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยพัฒนาโครงการ ER-VIPE ซึ่งเป็นโครงการการเรียนการสอนแบบ Virtual Simulation โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของสหสาขาวิชาชีพ 4 คณะ 5 สาขาวิชา ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักรังสีเทคนิค และนักเทคนิคการแพทย์ โดยการนำ VR เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเนื่องมาจาก
1.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในห้องฉุกเฉิน
2.เพื่อฝึกทักษะการจัดการผ่านการสื่อสารระหว่างทีม
3.เพื่อบูรณาการความรู้องค์รวมของแต่ละบุคคลของสหสาขาวิชาชีพ 4 คณะ 5 สาขาวิชา
4.เพิ่มความรู้ทางการแพทย์ที่ต้องแม่นยำ รวมถึงการทำหัตถกรรมต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเป็นแพทย์ในอนาคต
5.เพื่อให้นักศึกษาและครูผู้สอนสามารถเข้าถึงสถานการณ์จริงแม้อยู่ในช่วยวิกฤตโรคระบาด ผ่านการเรียนในรูปแบบของออนไลน์ Virtual Simulation
ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในโลกที่นำเทคโนโลยี VR มาใช้ในการเรียนการสอนร่วมศาสตร์ถึง 5 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักรังสีเทคนิค และนักเทคนิคการแพทย์ สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถร่วมสนับสนุน โดยการบริจาคเงินให้กับ ER-VIPE ได้ผ่าน QR Code ซึ่งใช้ Mobile Banking ได้ทุกธนาคาร โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าอีกด้วย
สามารถคลิกอ่านรายละเอียดของภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพิ่มเติมได้ที่ http://em.md.chula.ac.th/news/resident/
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์ผู้มีอุปการะคุณ
02-256-4000 ต่อ 3296 (เปิดทำการวันจันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *