อยากเข้าคณะพยาบาล ต้องสอบอะไรบ้าง

คณะพยาบาล ถือเป็นอีกหนึ่งคณะที่ใครหลาย ๆ คนใฝ่ฝัน เปรียบเสมือนเสาหลักในการดูแลสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยนั้นมีความสำคัญมาก เพราะพยาบาลเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุดและผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง แต่การสอบเข้าไปยังมหาวิทยาลัยได้นั้นก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เราจึงได้ทำการรวบรวมแนวทาง GAT/PAT และ วิชาสามัญ ที่ใช้สำหรับการสอบเข้าคณะพยาบาลรวมทั้งมหาวิทยาลัยที่อยากจะแนะนำไว้ให้ดังนี้

เกณฑ์การคัดเลือก

วิชาหลัก ที่ใช้คือ:

– ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เพื่อสอบ PAT2 และ O-NET

– ภาษาอังกฤษ เพื่อสอบ GAT (และ GAT เชื่อมโยง)

– ไทย สังคม คณิต ใช้ใน O-NET

ระบบ Admissions ที่ผ่านมา เกณฑ์คัดเลือกคือ GAT 20% PAT2 30% ONET 30% GPAX 20%

ระบบรับตรง โควตา แต่ละสถาบันจะมีวิธีการคัดเลือกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

ใช้ GAT, PAT2 และหรือใช้ O-NET เช่น พยาบาลเกื้อการุณย์ กาชาดไทย ตำรวจ ม.บูรพา พยาบาลทหาร 3 เหล่า ม.นเรศวร ม.อุบลราชธานี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ม.พะเยา ม.มหาสารคาม ม.สุรนารี ม.ธรรมศาสตร์ ม.นราธิวาส ม.นครพนม

ใช้ วิชาสามัญ เช่น มหิดล

สอบตรง + GAT, PAT2 เช่น ม.เชียงใหม่ ม.สงขลานครินทร์ ม.ขอนแก่น และ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วิวัฒนาการมาจาก โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์ แลการพยาบาลไข้ ได้รับพระราชทานกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2439 โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็น “โรงเรียนผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย”

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงเห็นว่าวิชาแพทย์ผดุงครรภ์มีความจำเป็นแก่ชีวิตของสตรี เนื่องจากในสมัยนั้นสตรีต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากการคลอดบุตร จึงได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งโรงเรียนเพื่ออบรมผดุงครรภ์ขึ้นในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชเริ่มเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2439 โดยใช้ชื่อว่า “ โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้ ” สังกัดกรมศึกษาธิการ ซึ่งต่อมาเรียกว่ากระทรวงธรรมการ ขึ้นภายในบริเวณโรงศิริราชพยาบาล ซึ่งนับเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรก และเป็นจุดเริ่มของการศึกษาด้านการพยาบาลของประเทศด้วย

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หลัก ๆ จะเปิดรับสมัครในระบบ TCAS ทั้งหมด 3 รอบ รอบที่ 1 Portfolio, รอบที่ 2 โควตา และรอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน กสพท โดยมีรายละเอียดดังนี้

รอบ 1 Portfolio

เปิดรับจำนวน 160 ที่นั่ง

สมัครทางออนไลน์ : ถึง 5 พฤศจิกายน 2564

คุณสมบัติ

มีเกรดเฉลี่ย 4 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 3.00

GPA เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แต่ละวิชา ไม่ต่ำกว่า 2.75

เกรดเฉลี่ย

Portfolio โดยทางคณะพยาบาลศาสตร์

รายละเอียดอื่น ๆ ที่จะได้รับกาพิจารณาเป็นพิเศษ

มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้มาตรฐานตามตามที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด เช่น TOEIC-600 / MU-ELT84 / TOELF IBT-60/ IELTS 5.0

ได้รับเกียรติบัตรที่แสดงถึงความสามารถทางวิชาการ ความสามารถพิเศษ /การบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม

เคยส่งโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เข้าประกวดและได้รับรางวัล

รอบ2 โควตา

เปิดรับจำนวน 25 ที่นั่ง

สมัครทางออนไลน์ : วันที่ 1 มีนาคม -20 เมษายน 2565

โครงการที่เปิดรับ

โครงการพยาบาลวิชาชีพเพื่อโรงพยาบาลเวชศาสตร์เชตร้อน  จำนวนรับ 5 ทีนั่ง

โครงการพยาบาลวิชาชีพเพื่อศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก  จำนวนรับ 10 ที่นั่ง

โครงการพัฒนาผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนรับ 10 ที่นั่ง

คุณสมบัติ

สำเร็จการศึกษาตอนปลาย แผนการศึกษาวิทย์-คณิต

เกรดเฉลี่ยมากกว่า 2.75 และโครงการพัฒนาผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในมหาวิทาลัยมหิดล คะแนนเฉลี่ยสะสมหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล ไม่ต่ำกว่า 3.00

เกณฑ์การคัดเลือก

วิชาสามัญ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์1 อังกฤษ ไทย และสังคม ทุกวิชาจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 20 %

GAT/PAT2 ไม่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ

รอบที่ 3 Admission

เปิดรับจำนวน 96 ที่นั่ง

รับสมัคร : 2 – 10 พ.ค. 65ประกาศผล :– ครั้งที่ 1 : 18 พ.ค. 65– ครั้งที่ 2 : 24 พ.ค. 65

ยืนยันสิทธิ์ในระบบ Mytcas : ครั้งที่ 1 : 18 – 19 พ.ค. 65- ครั้งที่ 2 : ยืนยันสิทธิ์อัตโนมัติ

คุณสมบัติ

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทย์-คณิต

เกรดเฉลี่ยตลอดหลักสูตร GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75

เกณฑ์การคัดเลือก

วิชาสามัญ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์1 มีค่าน้ำหนัก 25 % อังกฤษ ไทย และสังคม ทุกวิชาจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 20 % ยกเว้น ภาษาอังกฤษมากกว่า 25 % มีค่าน้ำหนัก 25 %

GAT ค่าน้ำหนัก 30 % PAT2  ค่าน้ำหนัก 20 %

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ที่ >>> https://ns.mahidol.ac.th/nurse_th/index.html

 

2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรงพยาบาลสวนดอก ได้รับการสถาปนาเป็นคณะพยาบาลศาสตร์มาเป็นระยะเวลากว่า 54 ปี ถือได้ว่าเป็นคณะเก่าแก่และน่าเชื่อถือที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

คณะพยาบาลฯ ได้รับการตรวจคุณภาพจากสภาการพยาบาลในเกณฑ์สูงสุด 5 ปี มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ (MOU) โดยจัดโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ระหว่างสถาบัน ทั้งสหรัฐอเมริกา แคนาดา สวีเดน ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น และอื่นๆ อีกกว่า 30 ประเทศ มีการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ 4 ปี โดยหลักสูตรปกติจะมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษมากกว่าคณะอื่นถึง 20% มีการส่งนักศึกษาไปแลกเปลี่ยนในต่างประเทศมากกว่า 100 คนต่อปี และในแต่ละเทอมยังมีการรับนักศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาเรียนในคณะอีกไม่น้อย เรียกว่าได้ซึมซับการเรียนรู้บรรยากาศความเป็นสากลได้ตั้งแต่เรียน

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลัก ๆ จะเปิดรับสมัครในระบบ TCAS ทั้งหมด 3 รอบ รอบที่ 1 Portfolio, รอบที่ 2 โควตา และรอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน กสพท โดยมีรายละเอียดดังนี้

รอบ 1 Portfolio

เปิดรับสมัครจำนวน 100 ที่นั่ง

คุณสมบัติ

กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่6  โดยมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต หรือ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แล้วไม่เกิน 2 ปีการศึกษา นับถึงวันสุดท้ายของการสมัคร

เกรดเฉลี่ย 3.50 5 เทอม และ มีเกรดเฉลี่ยภาษาต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 3.00 วิชาชีววิทยา ไม่น้อยกว่า 3.00 เคมี ไม่น้อยกว่า 3.00

มีคะแนนสอบวัดความรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เกิน 2 ปี IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.5 หรือ TOEFL PBT/ ITP ไม่่ตำกว่า 523 iBT ไม่ต่ำกว่า 69 หรือ CMU eTEGS ไม่ต่ำกว่า 65 หรือ *CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 65 % หรือ TU-GET ไม่ต่ำกว่า 65

 

เกณฑ์การคัดเลือก

สัมภาษณ์ ไม่เกิน 130 คน

เกรดเฉลี่ย Portoflio แบ่งเกณฑ์เป็น

ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตามกลุ่มวิชา 50 คะแนน ประกอบด้วย วิชาชีววิทยา 15 คะแนน เคมี 15 คะแนน กลุ่มภาษาต่างประเทศ 15 คะแนน GPAX 5 คะแนน

แฟ้มสะสมงาน ประกอบด้วย วุฒิบัตรและประกาศนียบัตร 15 คะแนน ความสามารถด้านวิชาการ /นวัตกรรม /การวิจัย /ความคิดสร้างสรรค์  รางวัลอื่นๆความเรียง ที่สะท้อนถึงการทำงานร่วมกับทีมบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลประชาชนภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 โดยใช้นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ทางการพยาบาล ตลอดจนแสดงถึงจุดมุ่งหมายในการเรียนคณะพยาบาลศาสตร์ 10 คะแนน

ผลสอบเทียบภาษาอังกฤษ 10 คะแนน

สอบสัมภาษณ์ 15 คะแนน

รอบ2 โควตา

คณะพยาบาลศาสตร์ สาขา พยาบาลศาสตร์

หลักสูตร ไทย รูปแบบของหลักสูตร ปกติ

โครงการการรับนักเรียนโควตาภาคเหนือฯ

ค่าธรรมเนียมการศึกษา 20,000 บาท

คุณสมบัติ

สำหรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ

เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

รับเฉพาะแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์หรือเทียบเท่า

โควตาภาคเหนือ

คุณสมบัติของโควตาภาคเหนือ มีดังนี้ เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีสถานภาพเป็นนักเรียนติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในสังกัดโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพัฒนาภาคเหนือ ที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

เกณฑ์การคัดเลือก

วิชาสามัญชุดที่ 1 (สายวิทย์)

09 ภาษาไทย, 19 สังคมศึกษา, 29 ภาษาอังกฤษ, 39 คณิตศาสตร์ 1, 49 ฟิสิกส์, 59 เคมี, 69 ชีววิทยา

รอบที่ 3 Admission

คณะพยาบาลศาสตร์ สาขา พยาบาลศาสตร์

หลักสูตร ไทย รูปแบบของหลักสูตร ปกติ

โครงการการรับตรงร่วมกัน

ค่าธรรมเนียมการศึกษา 20,000 บาท

คุณสมบัติ

สำหรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีหน่วยกิตกลุ่มสาระการเรียนรู้มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (6 เทอม) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต

เกณฑ์การคัดเลือก

เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ

วิชาสามัญชุดที่ 1 (สายวิทย์)

09 ภาษาไทย, 19 สังคมศึกษา, 29 ภาษาอังกฤษ, 39 คณิตศาสตร์ 1, 49 ฟิสิกส์, 59 เคมี, 69 ชีววิทยา ไม่น้อยกว่า 210 คะแนน

 

วิชาที่ใช้ในการคัดเลือก

วิชาสามัญชุดที่ 1 (สายวิทย์)

09 ภาษาไทย, 19 สังคมศึกษา, 29 ภาษาอังกฤษ, 39 คณิตศาสตร์ 1, 49 ฟิสิกส์, 59 เคมี, 69 ชีววิทยา ค่าน้ำหนักร้อยละ 100

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ที่ >>> https://www.nurse.cmu.ac.th/web/Default.aspx

 

3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 ได้รับการสถาปนาเป็นคณะลำดับที่ 14 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 ในการจัดการศึกษาสาขาวิชาชีพการพยาบาล ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นจัดตั้งเพื่อผลิตพยาบาล ในการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแก่สังคม และเพื่อปฏิบัติงาน โดยเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลทุกหลักสูตร ให้บริการวิชาการแก่ประชาคมธรรมศาสตร์และสังคม และเน้นการทำวิจัยควบคู่กันไปกับการเรียนการสอนและการบริการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลัก ๆ จะเปิดรับสมัครในระบบ TCAS ทั้งหมด 3 รอบ รอบที่ 1 Portfolio, รอบที่ 2 โควตา และรอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน กสพท โดยมีรายละเอียดดังนี้

คณะและสาขาที่เปิดรับ

คณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ได้รับรองจากสภาการพยาบาล

รอบ 1 Portfolio

สมัครทางออนไลน์ : วันที่ 15 ธันวาคม 2565  – 10 มกราคม 2565

รับจำนวน 30 ที่นั่ง

คุณสมบัติ

กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 แผนการเรียนวิทย์-คณิต เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่่า 3.00

มีผลการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ ชีววิทยา เคมี ไม่ต่ำกว่า 3.00

มีแฟ้มสะสมงานผลงานที่มีผลการประกวดโครงการทางวิทยาศาสตร์

รอบ2 โควตา

เปิดรับสมัคร : วันที่ 12 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2565

โครงการส่งเสริมนักเรียนเรียนดีภาคกลาง จำนวนรับ 1 ที่นั่ง

คุณสมบัติ

เป็นผู้ที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญของโรงเรียนในพื้นที่ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดลพบุรี 2. มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ภาค 1) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 3.00

เกณฑ์การคัดเลือก

เกรดเฉลี่ย

ทุนโครงการธรรมศาสตร์ช้างเผือก

จำนวนรับ กรุงเทพ 1 ที่นั่ง 38 จังหวัด 7 ที่นั่ง

กรุงเทพและ 38 จังหวัด

เขตภาคกลาง คือ จังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ประจวบศีรีขันธ์

เขตภาคตะวันออก คือ จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ตราด

เขตภาคเหนือ คือ จังหวัดลำปาง ตาก สุโขทัย น่าน แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เชียงราย แม่ฮ่องสอน

เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี

เขตภาคใต้ คือ จังหวัดระนอง ตรัง พัทลุง

คุณสมบัติ

กำลังศึกษารระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6  5 ภาคเรียน เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50

ผู้ปกครองมีฐานะยากจน มีรายได้ที่ไม่หักค่าใช้จ่ายไม่เกิน 240,000 บาทต่อปี

จังหวัดที่อยู่ ผู้สมัครและบิดาหรือมารดาหรือผู้ออกค่าใช้จ่ายทางการศึกษา ต้องมีภูมิสำเนาตามสำเนาทะเบียนบ้าน

เกณฑ์การคัดเลือก

พิจารณาจากข้อมูลใบสมัครและหลักฐานการเอการ ประกอบด้วย ด้านสามารถทางวิชาการ ได้แก่ GPAX 5 เทอมไม่ต่ำกว่า 2.50 ด้านทักษะของผู้สมัคร พิจารณาจากใบสมัคร ประวัติ และผลงานทางด้านวิชาการ/กิจกรรมเด่น ด้านคุณสมบัติเฉพาะ

พิจารณาผู้ที่ได้รับการสำรวจสถานภาพทางสังคมและสภาวะเศรษฐกิจและหรือการสอบสัมภาษณ์

พิจารณาผลการทดสอบของผู้สมัคร GAT มีคะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 35 % หรือ 105 คะแนน และคะแนนสอบวิชาสามัญ ไม่ต่ำกว่า 20 คะแนน ของวิชาใดวิชาหนึ่ง มหาวิทยาลัยเลือกเพียง 1 วิชาที่มีคะแนนสูงสุด ประกอบด้วย คณิตศาสตร์ 1 คณิตศาสตร์2 วิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา

โครงการนักเรียน 3 จังหวัดภาคใต้

เป็นทุนเต็มจำนวน จังหวัดละ 3 ที่นั่ง ประกอบดว้ย จังหวัด นราธิวาส ยะลา ปัตตานี

รอบที่ 3 Admission

รับสมัครกับทปอ. : วันที่ 2-10 พฤภาคม 2565

ประเภทไม่รับทุน จำนวนรับ 60 ที่นั่ง

คุณสมบัติ

กำลังหรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 แผนการเรียนวิทย์-คณิต

เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00

เกณฑ์การคัดเลือก

GAT Part ภาษาอังกฤษ 20 %

วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ 1 20 % ชีววิทยา 30 % เคมี 30 %

ประเภทรับทุน จำนวนรับ 30 ที่นั่ง

ประเภทรับทุน จำนวนรับ 30 ที่นั่ง

กำลังหรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 แผนการเรียนวิทย์-คณิต ในปีปัจจุบัน

เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00

เกณฑ์การคัดเลือก

GAT Part ภาษาอังกฤษ 20 %

วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ 1 20 % ชีววิทยา 30 % เคมี 30 %

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ที่ >>>  https://nurse.tu.ac.th/

 

4 คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์

คณะพยาบาลศาสตร์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีเป้าหมายในการผลิตพยาบาลที่ เก่งและดี เก่งคือต้องเก่งด้านการวิจัย เพราะสถาบันแห่งนี้ เริ่มต้นจากการเป็นสถาบันวิจัย เราจึงปลูกฝังบัณฑิตพยาบาลให้แก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการวิจัย มีจิตวิญญาณของนักวิชาชีพ และดี คือมีจิตอาสาในการทำงานเพื่อส่วนรวม ให้บริการด้านสุขภาพกับประชาชนด้วยความมุ่งมั่น

คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ หลัก ๆ จะเปิดรับสมัครในระบบ TCAS ทั้งหมด 4 รอบ รอบที่ 1 Portfolio, รอบที่ 2 โควตา รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน กสพท และรอบที่ 4 การรับแบบ Direct Admissionพิจารณาตามความเหมาะสม โดยมีรายละเอียดดังนี้

คุณสมบัติ

กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6

มีสัญชาติไทย มีความประพฤติเรียบร้อย สุขภาพแข็งแรง ไม่มีความเป็นพิการ

ความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร ดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

รอบ 1 Portfolio รับจำนวน 60 คน

เกณฑ์การคัดเลือก

กำลังศึกษาระดับชั้น ม.6 มีหน่วยกิตในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ครบถ้วน

มี GPAX 5 ภาคเรียนไม่ต่ำกว่า 3.50

มีภาวะผู้นำ เช่น หัวหน้าโครงการ หรือดำเนินการจัดกิจกรรม

มีความสามารถภาษาอังกฤษระดับดีมาก คะแนนผลสัมฤทธิ์กสนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษในระดับชั้น ม.ปลาย 3.50 ขึ้นไป

กำหนดการคัดเลือก

เปิดรับสมัคร : 1 – 20 พฤศจิกายน 64

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ : 26 พฤศจิกายน 64

สอบสัมภาษณ์ : 4 ธันวาคม 64

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา : 15 ธันวาคม 64

ยืนยันสิทธิ์ ในระบบ mytcas : 7 – 8 กุมภาพันธ์ 65

สละสิทธิ์ในระบบ mytcas : 9 กุมภาพันธ์ 65 หรือ 6 พฤษภาคม 65

รอบ2 โควตา รับจำนวน 15 คน

เกณฑ์การคัดเลือก

กำลังศึกษาระดับชั้น ม.6 จากโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย

มี GPAX 5 ภาคเรียนไม่ต่ำกว่า 3.25

มีความสามารถภาษาอังกฤษระดับดี คะแนนผลสัมฤทธิ์กสนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษในระดับชั้น ม.ปลาย 3.25 ขึ้นไป

มีผลคะแนนสอบ 7 วิชาสามัญ แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 20 คะแนน และคะแนนรวมทุกรายวิชาไม่ต่ำกว่า 210 คะแนน

กำหนดการคัดเลือก

เปิดรับสมัคร : 1 – 30 มีนาคม 65

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ : 22 เมษายน 65

สอบสัมภาษณ์ : 28 เมษายน 65

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา : 4 พฤษภาคม 65

ยืนยันสิทธิ์ ในระบบ mytcas : 4 – 5 พฤษภาคม 65

สละสิทธิ์ในระบบ mytcas : 6 พฤษภาคม 65

รอบที่ 3 Admission รับจำนวน 5 คน

เกณฑ์การคัดเลือก

สำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย มีหน่วยกิตในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ครบถ้วน

มี GPAX 6 ภาคเรียนไม่ต่ำกว่า 2.75

มีผลคะแนนสอบ 7 วิชาสามัญ แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 20 คะแนน และคะแนนรวมทุกรายวิชาไม่ต่ำกว่า 175 คะแนน

กำหนดการคัดเลือก

เปิดรับสมัคร : 2 – 20 พฤษภาคม 65

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ : 26 พฤษภาคม 65

สอบสัมภาษณ์ : 30 พฤษภาคม 65

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา : 2 มิถุนายน 65

ยืนยันสิทธิ์ ในระบบ mytcas : 18 – 19 พฤษภาคม 65

สละสิทธิ์ในระบบ mytcas : ไม่อนุญาตให้สละสิทธิ์

รอบที่ 4 การรับแบบ Direct Admission พิจารณาตามความเหมาะสม

เกณฑ์การคัดเลือก

สำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย มีหน่วยกิตในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ครบถ้วน

มี GPAX 6 ภาคเรียนไม่ต่ำกว่า 2.75

มีผลคะแนนสอบ GAT , PAT2 ไม่ต่ำกว่า 90 คะแนน

กำหนดการคัดเลือก

เปิดรับสมัคร : พิจารณาตามความเหมาะสม

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ : พิจารณาตามความเหมาะสม

สอบสัมภาษณ์ : พิจารณาตามความเหมาะสม

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา : พิจารณาตามความเหมาะสม

ยืนยันสิทธิ์ ในระบบ mytcas : 18 – 19 มิถุนายน 65

สละสิทธิ์ในระบบ mytcas : ไม่อนุญาตให้สละสิทธิ์

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ได้ที่ >>> http://nurse.pccms.ac.th/

 

5 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับการสถาปนาขึ้นในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 โดยรวม 2 หน่วยงานหลักเข้าไว้ด้วยกัน คือ ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลและวิทยาเขตปทุมธานี จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสายวิชาชีพที่มีคุณภาพให้สอดคล้องกับการพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีการจัดการเรียนด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ทำการสอน ทำการวิจัย การผลิตครูวิชาชีพ ให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทะนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรม โดยให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อ ด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลัก ๆ จะเปิดรับสมัครในระบบ TCAS ทั้งหมด 3 รอบ รอบที่ 1 Portfolio, รอบที่ 2 โควตา และรอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน กสพท โดยมีรายละเอียดดังนี้

รอบ2 โควตา

คุณสมบัติ

รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรแกนกลาง

รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรนานาชาติ

ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรอาชีวะ

ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.)

ไม่รับผู้สมัครที่จบหลักสูตร GED

อายุผู้สมัครไม่เกิน 25

เกณฑ์การคัดเลือก

คะแนน GPAX ต่ำสุด 2

ความถนัดทั่วไป (GAT) 1

ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) 1

คะแนนขั้นต่ำของผลรวมวิชาความถนัดทั่วไป (GAT), ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) 2

รอบที่ 3 Admission

คุณสมบัติ

รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรแกนกลาง

รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรนานาชาติ

ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรอาชีวะ

ไม่รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.)

ไม่รับผู้สมัครที่จบหลักสูตร GED

เกณฑ์การคัดเลือก

คะแนน GPAX ต่ำสุด 2

คะแนนรวมขั้นต่ำ 1

ใช้คะแนนในรูปแบบ T-Score

ความถนัดทั่วไป (GAT) 1

ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) 1

คะแนนขั้นต่ำของผลรวมวิชาความถนัดทั่วไป (GAT), ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) 2

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ที่ >>> https://www.nurse.rmutt.ac.th/

 

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 อีกหนึ่งอาชีพที่มีความสำคัญไม่ต่างจากแพทย์นั่นคือ พยาบาล ที่ต้องคอยทำหน้าที่ในการดูแลและเช็คอาการ อีกทั้งยังเป็นคนอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด พวกเราชาว Eduzones จึงขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจ ส่งให้กับทีมแพทย์และพยาบาล รวมทั้งบุคลากรทุก ๆ ท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน นอกจากนี้พวกเราก็ขอเป็นกำลังใจให้กับน้อง ๆ ที่กำลังเดินไปตามความฝันกับคณะพยาบาล ขอให้ทำสำเร็จตามที่ตั้งใจและไปถึงเป้าหมายให้ได้นะคะ

 

 

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *