รวมค่าสมัครสอบสำหรับ Dek66

น้อง ๆ Dek66 คงทราบกันบ้างเเล้วว่าการสอบของ TCAS66 จะมีการเปลี่ยนเเปลงไปจากเดิมโดยทางที่ประชุมอธิการบดีเเห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ชี้เเจงรูปแบบการสอบผ่านทางเพจ Mytas.com ในวันที่ 17 เมษายน 2565 ซึ่งวันนี้พี่มิวก็จะมาสรุปให้น้อง ๆ ฟังว่ามีอะไรอัพเดตหรือเปลี่ยนเเปลงไปบ้างทั้งรูปแบบการสอบเเละค่าสมัครสอบ ไปดูกันเล้ยยย

ดังนั้น น้อง ๆ ทุกคนต้องเตรียมความพร้อมเเละเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนเเปลงสำหรับการสอบอยู่เสมอโดยการอ่านหนังสือเเละทบทวนบทเรียนให้เข้าใจมากขึ้นจะได้ทำข้อสอบที่เป็นรูปแบบประยุกต์ได้เพราะเนื้อหาก็จะออกไม่เกินในหลักสูตรที่น้อง ๆ เรียนซึ่งเเต่ละวิชาจะมีคะเเนนเต็ม 100 คะเเนนเท่ากันทุกวิชา หากน้อง ๆ หมั่นทบทวนบทเรียนอ่านหนังสือเตรียมสอบพี่มิวก็เชื่อว่าน้อง ๆ สามารถทำข้อสอบได้คะเเนนเต็มเเน่นอน สู้ ๆ ค่าาา

ต่อไปมาดูกันว่า TCAS66 มีกี่รอบ มีคุณสมบัติอย่างไร ใช้คะเเนนอะไรกันบ้าง น้อง ๆ จะได้เตรียมตัวอ่านหนังสือให้ตรงกับขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบมากที่สุดจะได้มีคะเเนนสูง ๆ มายื่นสมัครในรอบเเรก ๆ ไม่ต้องกังวลในรอบต่อไป

*** 1 คน มี 1 สิทธิ์ น้องสามารถยืนยันสิทธิ์ได้เพียง 1 สาขา ที่ผ่านการคัดเลือกเท่านั้น  หากทำการกดยืนยันสิทธิ์ไปแล้วจะไม่สามารถไปสมัครรอบถัดไปได้เเต่จะสมัครได้ก็ต่อเมื่อสละสิทธิ์เท่านั้น

นอกจากรูปแบบการสอบเเล้วน้อง ๆ จำเป็นต้องรู้วิธีการสมัครสอบเเละค่าสมัครสอบในเเต่รอบเเต่ละวิชา ซึ่ง TCAS ในเเต่ละรอบมีค่าสมัครสอบที่เเตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับจำนวนวิชาที่น้อง ๆ สมัคร ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้น้อง ๆ จำเป็นต้องรู้ว่าเเต่ละวิชาเเต่ละรอบมีค่าสมัครเท่าไหร่เพื่อเป็นการเตรียมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้อย่างถูกต้อง

ค่าสมัคร TCAS66  เเต่ละรอบ

รวมวิชาที่สอบเเละค่าสมัครสอบ 

TGAT (Thai General Aptitude Test) เป็นการสอบวัดสมรรถนะทั่วไป คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

  1. ENGLISH COMMUNICATION ทักษะภาษาอังกฤษ
  2. CRITICAL AND LOGICAL THINKING การใช้เหตุผลเชิงปริมาณและการคิดอย่างมีตรรกะ
  3. FUTURE WORKFORCE COMPETENCIES สมรรถนะในการทำงานในอนาคต

*** การสอบ TGAT น้อง ๆ สามารถเลือกสอบกี่ส่วนก็ได้ (แต่พี่แนะนำให้สอบทั้ง 3 ส่วนจะดีกว่า เพราะ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่กำหนดใช้ TGAT รวมทั้งหมดเลย)

TPAT (Thai Professional Aptitude Test) เป็นการสอบความถนัดวิชาชีพ คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

  1. TPAT1 กสพท  (รูปแบบการสอบจะมีเพียงแบบกระดาษเท่านั้น)
  2. TPAT2 ศิลปกรรมศาสตร์
  3. TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
  4. TPAT4 สถาปัตยกรรมศาสตร์ (ไม่มีการสอบวาดรูปแล้ว)
  5. TPAT5 ครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์

*** การสอบ TGAT และ TPAT น้อง ๆ สามารถเลือกสอบด้วยกระดาษ (สอบที่โรงเรียน) หรือจะสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (สอบที่มหาวิทยาลัย) ตามความสมัครใจได้เลยโดยการสอบทั้ง 2 รูปแบบนี้จะสอบพร้อมกัน วัน เวลา เดียวกันทั้งหมด

A-Level (Applied Knowledge Level) เป็นการวัดความรู้เชิงวิชาการ เดิมเรียกว่า วิชาสามัญ หรือถ้าจะสรุปให้เห็นภาพง่ายๆคือ A-Level = วิชาสามัญ + PAT7

มีวิชาสอบ ดังต่อไปนี้

  • คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน+เพิ่มเติม)
  • คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 (พื้นฐาน)
  • วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (เป็นการปรับเปลี่ยนจากวิทยาศาสตร์ทั่วไป)
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • ภาษาไทย
  • สังคมศึกษา
  • ภาษาอังกฤษ
  • ภาษาต่างประเทศอื่นๆ มีการเพิ่มภาษาต่างประเทศมากขึ้นจาก PAT7 ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น เกาหลี จีน บาลี

*** น้อง ๆ สามารถเลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ทั้ง 2 ส่วน  ขึ้นอยู่กับคณะ/สาขาวิชากำหนด

 O-NET (Ordinary National Education Test) เป็นการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานที่ถูกจัดสอบขึ้นโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. ซึ่งเป็นการจัดสอบสำหรับนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 เพื่อชี้วัดคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษานักเรียนและโรงเรียน

*** คะแนนสอบ O-NET ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยเพราะเป็นคะแนนที่บ่งบอกถึงความรู้ทางวิชาการขั้นพื้นฐานที่ทางมหาวิทยาลัยจะนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาเข้าเรียนต่อ ดังนั้น น้อง ๆ จึงต้องเข้าสอบ O-NET และนำหลักฐานผลคะแนนมายื่นในการสมัครเข้าเรียนต่อด้วย

โดยค่าสมัครของการสอบ TGAT, TPAT, A-Level และ O-NET มี ดังนี้

 

นอกจากนี้ยังมีการสอบที่จัดโดยมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า “ข้อสอบวิชาเฉพาะ” ซึ่งเป็นการสอบที่จัดเเยกออกมาจากการสอบ TCAS เป็นข้อสอบที่ออกโดยมหาวิทยาลัยเเต่ละที่เเต่ละสาขาเพื่อเป็นการวัดความรู้ความสามารถเฉพาะด้านว่าน้อง ๆ มีทักษะความรู้ที่ตรงกับสาขาที่เลือกมากเเค่ไหนจะสามารถเรียนต่อสาขานี้ได้หรือไม่  ส่วนเนื้อหาข้อสอบก็จะตรงตามหลักสูตรที่เปิดสอนโดยมีเกณฑ์การคัดเลือกในเเต่ละระดับของเเต่ละมหาวิทยาลัยซึ่งมหาวิทยาลัยไหนต้องการวัดทักษะเฉพาะด้านมากเป็นพิเศษก็จะมีกำหนดให้สอบวิชาเฉพาะเพิ่มเติมในการคัดเลือกและนำคะแนนมาใช้วัดผลการสอบติด เช่น  CU-TEP  ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   TU-GET ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เเล้วใครบ้างที่ต้องสอบวิชาเฉพาะ  ? คนที่ต้องสอบวิชาเฉพาะ คือ คนที่เลือกเรียนในสาขาวิชาที่เน้นเนื้อหาการเรียนเฉพาะทางโดยมีทั้งภาคทฤษฎีเเละภาคปฏิบัติ เช่น วัดความรู้ด้านกฎหมาย วัดความรู้ด้านภาษา ทดสอบความถนัดด้านกีฬา ทดสอบความถนัดด้านศิลปะ ซึ่งจะต้องมีทักษะเเละความรู้ที่ดีเกี่ยวกับวิชาที่สมัครจึงจะเหมาะสมกับการเรียนในสาขาวิชาที่มีการสอบวิชาเฉพาะ ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่สงสัยว่าต้องสอบทุกคนมั้ย พี่มิวก็แนะนำให้ศึกษาที่ระเบียบการคัดเลือกผู้สมัครถ้ามหาวิทยาลัยไหนกำหนดสอบวิชาเฉพาะเพราะต้องการใช้คะแนนวัดทักษะจากข้อสอบที่ออกเองของมหาวิทยาลัย น้อง ๆ ก็ต้องสอบโดยจะมีค่าธรรมเนียมในการสอบด้วยซึ่งเราจะมาทำความรู้จักกับการสอบวิชาเฉพาะในด้านต่าง ๆ กันเลย

CU-TEP ย่อมาจาก Chulalongkorn University Test of English Proficiency คือ ข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่ออกโดยสถาบันภาษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้านภาษาอังกฤษ

ผู้สมัครสามารถพิมพ์ใบชำระเงินจากระบบการสมัครได้ภายในเวลา 17.00 น.ของวันสุดท้ายของการสมัครและนำใบชำระเงินไปยื่นกับทางเคาน์เตอร์ธนาคารที่กำหนดหรือชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่วนการชำระเงินผ่าน ATM  โดยเลือกเมนูชำระสินค้าและบริการทำการใส่ Ref 1 และ Ref 2 ตามที่ระบุไว้ในใบชำระเงินที่พิมพ์ออกมาจากระบบ (สามารถชำระเงินภายในเวลาเที่ยงคืนของวันสุดท้ายของการสมัครสอบ หากชำระเงินเกินตามเวลาที่กำหนดทางระบบจะปรับยอดเป็นวันถัดไป จะถือว่าผู้สมัครได้ชำระเงินเกินกำหนดระยะเวลาการสมัครสอบ)

* ผู้สมัครสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงินของตนเองได้ ภายใน 3 วันทำการ หลังจากทำการชำระเงิน
** หากผู้สมัครไม่ได้ชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดจะไม่สามารถชำระเงินย้อนหลังได้และต้องรอสมัครใหม่ในรอบต่อไป

TU-GET ย่อมาจาก Thammasat University General English Test คือ ข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ส่วนค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ TU-GET โดยปกติอยู่ที่ราคา 500 บาท แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่สมัครสอบด้วย กล่าวคือ หากน้องทำการสมัครสอบวันที่ 1-15 ของทุกเดือน ค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ 500 บาท แต่หากน้องสมัครวันที่ 16 จนถึงวันสอบค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ 700 บาท และผู้สมัครสอบต้องจ่ายค่าสมัครสอบด้วยตนเอง ที่ห้อง TU-GET ชั้น 1 อาคารสถาบันภาษา มธ. ท่าพระจันทร์

*** อายุคะแนนของ CU-TEP เเละ TU-GET  คือ 2 ปี เช่นเดียวกันเเต่มีค่าสมัครสอบที่เเตกต่างกัน ดังนี้

 

BMAT ย่อมาจาก BioMedical Admission Test  คือ ข้อสอบเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์, สัตวแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ จัดทำโดย Cambridge Assessment แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งสถาบันชั้นนำในประเทศไทยเริ่มเปิดรับคะแนน BMAT เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

*** น้อง ๆ ที่ต้องการเข้าเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพในประเทศไทยควรเช็คให้ดีว่าในแต่ละรอบที่มีการเปิดรับในระบบ TCAS ต้องใช้คะแนน BMAT หรือไม่

SAT ย่อมาจาก Scholastic Assessment Tests คือ การสอบวัดความสามารถด้านภาษาอังกฤษและคณิตศาตร์ ซึ่งจัดสอบโดย College Board ประเทศสหรัฐอเมริกา การสอบ SAT เป็นการสอบที่มีมาตรฐานสากลและได้รับการยอมรับทั่วโลก นักเรียนไทยส่วนใหญ่สอบเพื่อนำคะแนนไปยื่นเข้าคณะอินเตอร์หรือเรียนต่อต่างประเทศ

*** หมายเหตุ ขั้นตอนการสมัครและค่าธรรมเนียมในการสอบ SAT อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา

ACT ย่อมาจาก American College Testing  คือ ข้อสอบที่วัดทักษะการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การวิเคราะห์ การสื่อสาร มีทั้งหมด 5 วิชาคือ English , Math , Reading , Science , Writing ตัวข้อสอบและคะแนน ACT เป็นที่ยอมรับในการใช้ยื่นเข้ามหาลัยเช่นเดียวกับคะแนน SAT

TOEIC TOEFL IELTS ค่าสอบเท่าไหร่ เลือกสอบแบบไหนดี

TOEIC ย่อมาจาก Test of English for International Communication เป็นการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษสำหรับใช้เพื่อสมัครงานกับบรรดาบริษัทเอกชนเป็นหลัก เนื้อหาการสอบไม่เข้มข้นมากนักเป็นการสอบแบบปรนัยที่ผู้สอบเลือกคำตอบใช้ทักษะด้านการฟังและการอ่าน

TOEFL ย่อมาจาก Test of English as a Foreign Language เป็นการทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของภาษาอังกฤษอเมริกันซึ่งออกแบบสำหรับใช้ในการประเมินความสามารถทางภาษาของผู้สมัครเพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในเรื่องของการศึกษาต่อหรือทำงานในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารโดยผลคะแนนโทเฟลจะใช้ได้เป็นระยะเวลา 2 ปี

 IELTS ย่อมาจาก International English Language Testing System เป็นการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อประเมินทักษะของผู้ที่ต้องการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสารสำหรับการทำงาน การศึกษาหรือการย้ายถิ่นฐาน

HSK ย่อมาจากตัวสะกดเสียงพินอินของภาษาจีนว่า “Hanyu Shuiping Kaoshi” ซึ่งหมายถึง การสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาจีนสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาแม่ การสอบนี้จัดขึ้นโดย The Office of Chinese Language Council International : HANBAN ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยผลสอบจะมีอายุ 2 ปี

* น้อง ๆ ตรวจสอบจำนวนที่นั่งและรอบการสอบทุกครั้งก่อนการชำระค่าสอบ ทางศูนย์สอบขอสงวนสิทธิ์ในการคืนค่าสอบทุกกรณี

* ปล. เมื่อชำระแล้วกรุณารีบสมัครและส่งเอกสารทั้งหมดภายในวันที่กำหนดก่อนเวลา 12.00 น. ทางศูนย์สอบเรียงลำดับการสมัครสอบจากเวลาที่ท่านส่งฟอร์มสมัคร

JLPT ย่อมาจาก Japanese Language Proficiency Test เป็นการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นเพื่อวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของชาวต่างชาติผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นการสอบภายในประเทศญี่ปุ่นจัดโดยสมาคมสนับสนุนการศึกษานานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น (JEES) โดยจัดสอบในหลายจังหวัดที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วนนอกประเทศญี่ปุ่นนั้น มูลนิธิญี่ปุ่น (Japan Foundation) เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสอบ แบ่งผลการสอบออกเป็น 5 ระดับ และจัดสอบปีละ 2 ครั้ง ในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม และเดือนธันวาคม

สถานที่สอบ จำนวนรับสมัครเเละค่าสมัคร

  • ศูนย์สอบกรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน (ไม่จำกัดจำนวน)
  • ศูนย์สอบเชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ไม่จำกัดจำนวน)
  • ศูนย์สอบสงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

  • ระดับ N1 = 10 คน (ด้วยตัวเอง,ไปรษณีย์ 3 คน และ ออนไลน์ 7 คน)
  • ระดับ N2 = 38 คน (ด้วยตัวเอง,ไปรษณีย์ 10 คน และ ออนไลน์ 28 คน)
  • ระดับ N3 = 130 คน (ด้วยตัวเอง,ไปรษณีย์ 60 คน และ ออนไลน์ 70 คน)
  • ระดับ N4 = 41 1คน คน (ด้วยตัวเอง,ไปรษณีย์ 61 คน และ ออนไลน์ 80 คน)
  • ระดับ N5 = 429 คน คน (ด้วยตัวเอง,ไปรษณีย์ 209 คน และ ออนไลน์ 220 คน)

 

  • ศูนย์สอบขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ระดับ N1 = 50 คน
  • ระดับ N2 = 234 คน
  • ระดับ N3 = 350 คน
  • ระดับ N4 = 284 คน
  • ระดับ N5 = 350 คน

 

  • ศูนย์สอบอุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ระดับ N1 = 30 คน
  • ระดับ N2 = 50 คน
  • ระดับ N3 = 210 คน
  • ระดับ N4 = 100 คน
  • ระดับ N5 = 210 คน

TOPIK ย่อมาจาก Test Of Proficiency In Korean เป็นการทดสอบความสามารถทางภาษาเกาหลีของชาวต่างชาติโดยเป็นการสอบเพื่อวัดพื้นฐานความสามารถทางภาษาเกาหลีของผู้ที่ไม่ใช้ภาษาเกาหลีเป็นพื้นฐาน ชาวเกาหลีที่อยู่ต่างแดน ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศเกาหลี ผู้เรียนภาษาเกาหลี นักเรียนต่างชาติที่สนใจเรียนที่เกาหลี บุคคลที่สนใจทำงานในประเทศ หรือต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประเทศเกาหลี

การสอบวัดผล TOPIK มีด้วยกัน 2 ระดับการสอบคือ TOPIK I และ TOPIK II ผู้สมัครเข้าสอบสามารถเลือกระดับการสอบได้ตามพื้นฐานความรู้  หรือน้อง ๆ จะเลือกสอบ I และ II ภายในวันเดียวกันก็ได้ ไม่จำเป็นต้องผ่าน I มาก่อน

มหาวิทยาลัยที่มีการสอบวิชาเฉพาะ 

ค่าสมัครสอบวิชาเฉพาะของเเต่ละมหาลัย ประมาณ 100 – 800 บาท

เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนเเก่น, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิงข้อมูลจาก Tcas65

 

การสมัครสอบในเเต่ละรอบหรือเเต่ละวิชานั้นจำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมในการสอบซึ่งน้อง ๆ ต้องเตรียมเงินในส่วนนี้พอสมควรเพราะถ้าหากไม่ได้สอบวิชาใดวิชาหนึ่งน้อง ๆ ก็จะเสียโอกาสในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในรอบนั้นไปเลยซึ่งก็ไม่ได้อยากให้เกิดเหตุการณ์เเบบกรณีนี้เเละนี่ยังเป็นค่าใช้จ่ายเเค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นสำหรับการเรียนต่อมหาลัยเพราะยังมีค่าใช้จ่ายอีกเยอะไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า อาหารการกิน ทุกอย่างก็ต้องใช้เงินทั้งนั้น อย่างที่เขากล่าวกันว่า “การศึกษาคือการลงทุน” ซึ่งก็เป็นความจริง ดังนั้น น้อง ๆ ก็ต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียนให้คุ้มกับจำนวนเงินที่เสียไปเเละพยายามรักษาผลการเรียนให้อยู่ในระดับที่ดีเผื่อในวันข้างหน้าจะมีทุนการศึกษามาสนับสนุนการเรียนของน้อง ๆ ให้สามารถเรียนได้ก้าวไกลนำความรู้มาสามารถพัฒนาประเทศชาติให้ดียิ่งขึ้น พี่มิวเป็นกำลังใจให้กับ Dek66 ทุกคนนะคะ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *