‘อัมพร’ลั่นปีการศึกษาหน้า มุ่งเป้าจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ ควบคู่เรียน-สอนแบบ Active Learning – 25 สิงหาคม 2565

 'อัมพร'ลั่นปีการศึกษาหน้า มุ่งเป้าจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ ควบคู่เรียน-สอนแบบActive Learning - 25 สิงหาคม 2565
‘อัมพร’ลั่นปีการศึกษาหน้า มุ่งเป้าจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ ควบคู่เรียน-สอนแบบActive Learning – 25 สิงหาคม 2565

 

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯกพฐ.) เผยหลังการเข้าประชุมนโยบายเร่งด่วนเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ สพฐ.  ร่วมกับ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เริ่มตั้งแต่การจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์โควิด ซึ่งพบปัญหาการเรียนรู้ถดถอยของนักเรียนใน 2 มิติ

  1. มิติด้านการเรียนรู้
  2. มิติด้านสังคม

โดย สพฐ.ได้แก้ไขด้วยการเติมเต็มคุณภาพด้านการอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็นอย่างเข้มข้นให้แก่เด็กประถมศึกษาปีที่ 1-3 ส่วนระดับมัธยมศึกษาเน้นการทำกิจกรรมแบบละลายพฤติกรรม นอกจากนี้ตนยังได้รายงานโครงการพาน้องกลับมาเรียนที่ตั้งเป้าเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาจะต้องเป็นศูนย์ พร้อมวางแผนป้องกันไม่ให้เด็กออกจากระบบการศึกษาไปอีก รวมไปถึงการวางระบบให้เด็กใหม่ที่เพิ่งเข้าเรียนต้องไม่หลุดจากระบบการศึกษาด้วย

 

นายอัมพร กล่าวต่อว่า ส่วนการจัดการเรียนการสอนด้วย Active Learning หรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำนั้น ขณะนี้ สพฐ.ได้นำการเรียนรู้ในเรื่องนี้เข้าสู่สถานศึกษาอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ส่วนหลักสูตรฐานสมรรถนะได้มีการปรับปรุงไปแล้วในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 แต่ยังไม่เกิดจริงในสถานศึกษา ดังนั้นในปีการศึกษาหน้าสพฐ.จะมุ่งเป้าจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะควบคู่ไปกับการเรียนการสอนด้วยกระบวนการ Active Learning และในปีนี้จะต้องพัฒนาครูให้ได้ 100% เพื่อที่ในปีการศึกษาหน้าครูจะได้ลงมือปฏิบัติจริงผ่านกลไกลหลักสูตร แผนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลต่อไป
“รมว.ศธ.ย้ำว่าในปีการศึกษาหน้าจะไม่เน้นมอบนโยบายแล้ว แต่จะลงพื้นที่ไปดูว่านโยบายที่สั่งการลงไปได้ทำให้เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ไหนบ้าง ซึ่งโรงเรียนแต่ละแห่งมีจุดเด่นในการสนองนโยบายในด้านใด เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในอนาคต”รมว.ศธ. กล่าว

 

นอกจากนี้ ทั้งนี้ รมว.ศธ.ได้ฝากให้ สพฐ.ไปดำเนินการเรื่อง Soft Power ซึ่งเป็นข้อสั่งการจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้นวัตกรรมหรือวัฒนธรรมไทยได้ผงาดในเวทีโลก โดยขอให้ สพฐ.นำครูที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านเข้ามาเป็นต้นแบบให้แก่เด็กได้เรียนรู้ รวมถึงการนำเอกลักษณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยให้เด็กได้เข้าถึงและต่อยอดวัฒนธรรมของชุมชนตนเองได้ ซึ่ง สพฐ.จะนำเรื่องดังกล่าวมาขับเคลื่อนและเติมเต็มเรื่อง Soft Power ให้ทั่วถึงทุกโรงเรียน

 

ขอขอบคุณแหลงที่มา : ไทยโพสต์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *