ระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล Digital Performance Appraisal

วันนี้ทางเพจ Eduzones มีข้อมูลมาอัปเดต เรื่อง ระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Performance Appraisal : DPA) หรือ ระบบประเมินวิทยฐานะ ว PA ที่คุณครูหลายคนตั้งคำถามว่าจะพร้อมให้ทดลองใช้งานเมื่อไหร่ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องใหม่ที่คุณครูหลาย ๆ คนค่อนข้างกังวลเเละคอยติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง ทางเพจ Eduzones จึงได้รวบรวมข้อมูลมาให้อ่านในบทความนี้มีทั้งเเนวทางการปฏิบัติเเละคำถามจากเหล่าคุณครู หากใครสนใจข้อมูลเหล่านี้ก็ติดตามได้จากบทความนี้เลยค่ะ  ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจใน PA กันก่อนว่าคืออะไร

🌟 ะบบ DPA หรือ Digital Performance Appraisal คืออะไร ? 

ระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Performance Appraisal) เรียกโดยย่อว่า ระบบ DPA หมายความว่า ระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งผ่าน จัดการและประมวลผลข้อมูล การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน รวมทั้งหลักฐานประกอบการพิจารณาเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ

🌟 ระบบ PA หรือ Performance Agreement  คืออะไร ? 

ระบบ PA คือ ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุพันธกิจและความสำเร็จขององค์กร โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินและกิจกรรมตัวชี้วัดต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า สอดคล้องกับตำแหน่งและภาระงาน รวมถึงจุดมุ่งหมายขององค์กรนั้น ๆ

🌟 คุณสมบัติของผู้ขอรับการประเมิน

  • มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะ ไม่น้อยกว่า 4 ปีติดต่อกัน
  •  มีการพัฒนางานตามข้อตกลง ย้อนหลัง 3 รอบการประเมิน โดยแต่ละรอบมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดและมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
  • มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่ถูกดำเนินการทางวินัยในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 4 ปี

📍 หากคุณครูมีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาข้างต้นก็สามารถยื่นคำขอต่อสถานศึกษาเพื่อให้สถานศึกษานำข้อมูลเข้าสู่ระบบ DPA พร้อมหลักฐานต่าง ๆ ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล โดยสามารถยื่นคำขอได้ตลอดปี ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

🌟 การขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ

  • ข้าราชการครูเเละบุคลากรทางการศึกษาเเจ้งความประสงค์ขอมีวิทยฐานะ/เลื่อนวิทยฐานะต่อผู้บังคับบัญชา
  • ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบเเละรับรองคุณสมบัติก่อน Submit คำขอหลักฐานเข้าสู่ระบบ DPA
  • สพท. Submit – ศธจ. Submit – สำนักงาน ก.ค.ศ. (ชช./ชชพ.) (กรณีไม่มีคุณสมบัติ/เอกสารไม่ครบถ้วนให้ส่งเรื่องคืนผ่านระบบ DPA)
  • ศธจ. / ส่วนราชการ/สำนักงาน ก.ค.ศ. สุ่มคณะกรรมการประเมินผ่านระบบ DPA
  • คณะกรรมการประเมินผ่านระบบ DPA
  • เเจ้งผลการประเมินผ่านระบบ DPA
  • อนุมัติย้อนหลังตั้งเเต่วันที่ผู้บังคับบัญชานำข้อมูลเข้าสู่ระบบ DPA ครบถ้วน

🌟  คณะกรรมการประเมินผลการพัฒนาตามข้อตกลง
ให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินฯ จำนวน 3 คน ประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธานกรรมการ
2. ศึกษานิเทศก์ไม่ต่ำกว่า คศ.3 หรือ อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือครูจากโรงเรียนอื่นไม่ต่ำกว่า คศ.3 หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกโรงเรียนที่มีความเหมาะสม จำนวน 2 คน

🌟 บทบาทของ ผอ.สพท กับระบบ Digital Performance Appraisal : DPA

  • มอบหมายผู้รับผิดชอบนำข้อมูลของ ผอ. สถานศึกษา เเละ ศน. เข้าสู่ระบบ DPA
  • นำคำขอ+หลักฐานของครูเเละรอง ผอ. ในสถานศึกษาห่างไกล (ที่ไม่มีความพร้อมด้าน IT เข้าสู่ระบบ DPA)
  • สพท. Submit – ศธจ. Submit – สำนักงาน ก.ค.ศ. (ชช./ชชพ.) (กรณีไม่มีคุณสมบัติ/เอกสารไม่ครบถ้วนให้ส่งเรื่องคืนผ่านระบบ DPA)
  • เเจ้งผลการประเมินผ่านระบบ DPA ไปยังสถานศึกษา

🌟 บทบาทของ ศธจ. กับระบบ Digital Performance Appraisal : DPA

  • ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอให้เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
  • ตรวจสอบผลการประเมิน PA เเละภาระงาน รวมทั้งหลักฐานของผู้ขอรับการประเมิน
  • กรณีไม่มีคุณสมบัติ/เอกสารไม่ครบถ้วน ให้ส่งเรื่องคืนผ่านระบบ DPA
  • ศธจ. Submit – สำนักงาน ก.ค.ศ. (ชช./ชชพ.)
  • เสนอ กศจ. เพื่อพิจารณาเห็นชอบให้เเต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน (ชก./ชนพ.)
  • สุ่มรายชื่อคณะกรรมการประเมิน จำนวน 3 คน ผ่านระบบ DPA (ชก./ชนพ.)
  • ส่งผ่านข้อมูลของผู้ขอจากระบบ DPA ให้คณะกรรมการ (ชก./ชนพ.)
  • นำผลการประเมินจากกรรมการทั้ง 3 คน เสนอ กศจ. พิจารณา (ชก./ชนพ.)
  • เเจ้งผลการประเมินผ่านระบบ DPA ไปยัง สพท.

🌟 บทบาทของ กศจ. กับระบบ Digital Performance Appraisal : DPA

  • พิจารณาเห็นชอบให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเเต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน ด้านที่ 1 เเละด้านที่ 2 เพื่อให้ ศธจ. สุ่มกรรมการผ่านระบบ DPA ต่อไป
  • พิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ (ชก./ชนพ.)
  • พิจารณาให้ความเห็นชอบคุณสมบัติเเละผลงานทางวิชาการ เพื่อให้ ศธจ. ส่งคำขอผ่านระบบ DPA ไปยังสำนักงาน ก.ค.ศ. ต่อไป (ชช./ชชพ.)

🌟 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

  • ตำแหน่งครู (ว 9/2564)
  • ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา (ว 10/2564)
  • ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ (ว 11/2564)
  • ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา (ว 12/2564)

✏️ เกณฑ์การประเมินที่ต้องผ่านทั้ง 2 ด้าน ✨

✅ การประเมินด้านที่ 1 (ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน)

🌟 หลักฐานในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

  1. ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ย้อนหลัง 3 รอบ 2 รอบหรือ 1 รอบการประเมิน ** แล้วแต่กรณี
  2. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้จัดการเรียนรู้จำนวน 1 ไฟล์
  3. ไฟล์วิดิทัศน์จำนวน 2 ไฟล์   – ไฟล์บันทึกการสอน (ตามแผนการจัดการเรียนรู้) บันทึกการสอนโดยไม่มีการตัดต่อ รูปแบบไฟล์ mp4 ความยาวไม่เกิน 60 นาที โดยให้เห็นสภาพห้องเรียน ผู้เรียน และสื่อที่ใช้ในการสอน หากสอนในรูปแบบห้องเรียนออนไลน์คุณครูก็สามารถบันทึกภาพการสอนผ่านโปรแกรมต่าง ๆ   – ไฟล์ที่แสดงให้เห็นสภาพปัญหา ที่มา แรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ รูปแบบไฟล์ mp4 ความยาวไม่เกิน 10 นาที โดยนำเสนอด้วยตนเองเท่านั้น เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้เล่าถึงเบื้องหลังการจัดการ เรียนการสอนในครั้งนั้น สามารถตัดต่อแทรกภาพนิ่ง วิดีโอได้ แต่ห้ามใช้ดนตรีหรือเสียงประกอบ และไม่ทำ Title ก่อนการนำเสนอ
  4. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จำนวนไม่เกิน 3 ไฟล์ ผลงานที่ปรากฏหลังการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน
  5. ผลงานทางวิชาการตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด เฉพาะครูเชี่ยวชาญครูเชี่ยวชาญพิเศษ

📍  กรณีรายวิชาที่มีการเรียนการสอน 2 คาบคุณครูสามารถเลือกการสอนในคาบที่ดีที่สุดมานำเสนอ ความยาวไม่เกิน 60 นาที

📍  สำหรับคุณครูที่สอนมากกว่าหนึ่งรายวิชาสามารถเลือกรายวิชาที่มีความเชี่ยวชาญในการสอนมากที่สุดมานำเสนอ

📍  คณะกรรมการไม่ได้เน้นเนื้อหาในรายวิชาแต่จะเน้นทักษะการสอนของคุณครูที่สะท้อนถึงทักษะการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามหลักการสำคัญในการสอนที่กำหนดไว้ ซึ่งจากไฟล์วิดิทัศน์คณะกรรมการสามารถเห็นได้ว่าคุณครูมีทักษะการสอนอย่างไรเเละผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างไรบ้าง

🌟 8 หลักสำคัญในการสอนให้มีประสิทธิภาพ

✅ การประเมินด้านที่ 2 (ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน)

คุณครูสามารถนำเสนอผลงานของผู้เรียนหลังจัดการเรียนรู้ตามไฟล์ดีวิทัศน์บันทึกการสอนที่นำเสนอไว้ใน ด้านที่ 1

📍 นำเสนอในรูปแบบไฟล์วิดีทัศน์ ไฟล์ภาพหรือไฟล์ PDF ความยาวไม่เกิน 10 นาที ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ของผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าผลงานภาพรวม กระบวนการทั้งหมดนี้มุ่งหวังให้คุณครูใช้สมรรถนะในการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และใช้เวลาในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประเมินจากเดิมที่เป็นเอกสารก็ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณครูยังไม่คุ้นเคยจึงเกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับการประเมินรูปแบบใหม่รวมถึงขั้นตอนการทำ PA  เรามาดูกันว่ามีคำถามอะไรบ้างเเละคำตอบจะเป็นอย่างไร

📣 จุดประสงค์ของระบบ DPA คืออะไร ?

จุดประสงค์ของ DPA คือ การนำนโยบายของ ก.ค.ศ. ให้สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงโดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประเมินที่เน้นการดูจากห้องเรียนเเละลักษณะการสอนมากกว่าเน้นการทำเอกสาร ซึ่งนโยบายนี้มีการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเป็นการลดภาระในการจัดทำเอกสารและลดงบประมาณการประเมินของคุณครูจากการทำเอกสารการประเมินได้เป็นอย่างดี จึงเรียกได้ว่านโยบาย DPA เป็นรูปแบบการประเมินแบบใหม่ที่สามารถทำให้ครูมีเวลาในการเตรียมแผนการสอนและมีเวลาให้เด็กได้อย่างเต็มที่ ทำให้การเรียนรู้ในห้องเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

📣 จุดมุ่งหมายในการประเมิน PA (Performance Agreement) คืออะไร ?

1. เพื่อวัดศักยภาพของพนักงานในภาระงานที่ได้ปฏิบัติว่า ดีหรือต่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่ ซึ่งจะช่วยทำให้ทราบถึงจุดเด่นและจุดด้อยของพนักงานแต่ละคน
2. ช่วยในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งหรือโยกย้าย รวมถึงพิจาณาปรับฐานเงินเดือนและให้เงินพิเศษต่าง ๆ กับพนักงานได้
3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน เพื่อการประเมินจะช่วยให้พนักงานทราบถึงจุดเด่นและจุดด้อยของตัวเอง ซึ่งทำให้พนักงานทราบถึงจุดที่ควรส่งเสริม แก้ไข หรือพัฒนาได้
4. ช่วยให้หัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาทราบถึงจุดเด่นของพนักงานแต่ละคน ทำให้สามารถมอบหมายงานได้เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคนได้
5. เป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้

การประเมินรูปแบบนี้ จะช่วยทำให้ทราบศักยภาพของพนักงานแต่ละคนว่า มีศักยภาพในภาระงานที่ได้ปฏิบัติหรือไม่ อะไรที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อย รวมถึงสามารถพิจารณาได้ว่า พนักงานคนนั้นมีส่วนช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นอกจากจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาตัวเองของพนักงานแล้ว และเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้าอีกด้วย ทำให้การประเมินผลการปฎิบัติงาน (PA) นี้ จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ช่วยปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้น และยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กรได้อย่างดี

📣 ทำไมคุณครูต้องทำ PA (Performance Agreement)

ครูทุกคนต้องทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) กับ ผอ. ทุกปีงบประมาณ ตามแบบของ ก.ค.ศ. และต้องได้คะแนนการประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 เพื่อคงวิทยฐานะและใช้ในการประเมินเลื่อนเงินเดือน

📣 PA (Performance Agreement) สำคัญอย่างไร ? ทำไมคุณครูควรรู้

ต้องการให้สิ่งที่คุณครูทำเเล้วเกิดผลกับเด็กหรือหน้างานจริงที่คุณครูได้ปฏิบัติสะท้อนออกมาเพื่อนำมาใช้ในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

📣 การประเมิน PA ใช้สำหรับอะไรบ้าง ?

1. ใช้ดำรงไว้ซึ่งความรู้ตามวิทยฐานะ กล่าวคือ แม้ว่าจะไม่เลื่อนวิทยฐานะก็ต้องประเมินตามที่กฏหมายกำหนดไว้

2. ใช้เลื่อนวิทยฐานะ

3. ใช้ประเมินพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน

📍  การนำไปใช้สำหรับการเลื่อนเงินเดือนปกติใช้บุคคลภายในในการประเมิน เช่น การประเมินผอ ก็ใช้ผอ โรงเรียนข้างเคียงมาประเมิน การประเมินคุณครูก็ใช้คุณครูที่เป็นบุคคลภายในมาประเมินส่วนการประเมิน PA ต้องใช้บุคคลภายนอกร่วมด้วย

📣 กรณีที่ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย จะต้องทำ PA ด้วยหรือไม่ ?

📣 กรณีที่ผู้ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วยก่อน 5 ก.ค. 60 และได้ดำรงตำแหน่งครูตั้งแต่ 5 ก.ค. 60 ซึ่งมีคุณสมบัติตรบตาม ว 17/2552 แต่ยังไม่เคยขอมีวิทยฐานะชำนาญการในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านตาม ว 21/2560 จะสามารถยื่นขอตาม ว 17/2552 ได้หรือไม่ ? ซึ่งเป็นระยะเวลาเปลี่ยนผ่านตาม ว 9/2564

📣 ในกรณียื่นขอมี / เลื่อนวิทยฐานะในระบบ DPA จะต้องส่งแผนการจัดการเรียนรู้และคลิปการสอนทุกรอบปีงบประมาณ หรือไม่ ?

📣 การขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ใครเป็นผู้ประเมินผลการพัฒนาฯ ตาม ว 17/2552 และประเมินเมื่อใด ?

📣 เมื่อนำการประเมิน PA มาปฏิบัติแล้วจะทำอย่างไรให้คุณครูลดการกังวลเรื่องการประเมิน

อันดับแรกต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจและพูดคุยกับคุณครูทุกคนถึงหลักเกณฑ์ของการประเมิน PA ว่าเป็นการประเมินลักษณะไหน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้คุณครู วิธีนี้สามารถลดความกังวลของคุณครูในการประเมินได้

📣 ประโยชน์การทำ Performance Agreement : PA

ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาสามารถทบทวนลักษณะการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งการจัดสรรปันส่วนงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งหน่วยงานสอดคล้องกับพันธกิจของ หน่วยงาน/องค์กร

  • การทำข้อตกลงการประเมินผลก่อนการประเมินผลจริง โดยข้อตกลงเป็นที่ยอมรับทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน รวมทั้งข้อตกลงเป็นที่รับรู้ของบุคลากรในหน่วยงาน ส่งผลให้เกิดการ ยอมรับและสร้างความยุติธรรมในหน่วยงาน
  • ในกรณีที่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงาน 2 หน้าที่ (Dual Position) การทำข้อตกลงการประเมินผลจะทำให้สามารถแบ่งเวลาการ ปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับงาน รวมทั้งมีความแม่นยำมากขึ้นใน การประเมินผลการปฏิบัติงาน

 

ดังนั้น การที่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือสับสนเรื่องเกณฑ์ PA นั้นถือเป็นเรื่องปกติของช่วงเริ่มต้น ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนทั้งระบบ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนได้มอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ. ) และเลขาธิการ ก.ค.ศ. หารือร่วมกัน เพื่อสร้างทีมงานมาทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำและเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ครูในเขตพื้นที่ โดยใช้ชื่อทีมงานนี้ว่า “PA Support Team” ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และเพื่อนครูบางส่วน จำนวนเขตพื้นที่ฯละ 8–15 คน รวมประมาณ 2,500 คน โดยทีมงานนี้จะให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนครูอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ขอให้ผอ.สพท.ทุกเขต กำกับ ดูแล การดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องเกณฑ์ PA ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของ ศธ.

🌟 การเข้าสู่ระบบ ระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA)

ลิงก์หลักระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA) Digital Performance Appraisal >> คลิก

หรือ https://dpa-sso.otepc.go.th/login

เข้าสู่ระบบ

การดำเนินการของเเต่ละสิทธิการใช้งาน

สิทธิการใช้งานสถานศึกษา

 

** ระบบ DPA ระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล พร้อมให้ครูใช้งานเเล้ว 1 ตุลาคม 2565 นี้และสามารถทดลองใช้งาน กลางเดือนกันยายน 2565 ลิงก์เข้าใช้งาน ระบบ DPA ลิงก์เข้าใช้งาน ระบบ DPA อัพเดตที่นี่!

 

__________________ สรุปได้ว่าหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) หรือ เกณฑ์ PA จะดำเนินการต่อไปตามแนวทางที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนดไว้ ซึ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทุกสถานศึกษาจะสามารถเข้าใช้งานระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล หรือ DPA ได้ โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในการขยายผลสร้างความเข้าใจในการใช้งานระบบ DPA ให้แก่สถานศึกษาในสังกัด โดยจะเปิดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณสมบัติยื่นคำขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ PA ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป ถ้าหากจะมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องเป็นมติของ ก.ค.ศ. และมีหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการ

 

 

ขอบคุณที่มาของข้อมูล 

สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา : https://mobile.facebook.com/watch

รายการห้องเรียนอารมณ์ดี : Wiriyah Eduzones

https://www.trueplookpanya.com/education/content/90337

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *