อนาคตภาพ พลิกโฉมการบริหารงานบุคคล ข้าราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษา

การสัมมนา อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา วันพุธ 10 มกราคม พ.ศ.2567 โดย ท่านรองศาสตราจารย์ ดร.ประวิต เอราวรรณ์ (เลขาธิการ ก.ค.ศ.) ตระหนักถึงการพลิกโฉมการงานบุคคลของข้าราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษา สู่ความเชื่อมั่น ทันสมัย และ มีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วยดังต่อไปนี้

กรอบแนวคิดในการกำหนดแผนการทำงานของสำนักงาน ก.ค.ศ.

  1. คุณภาพของนักเรียนแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของ ครู
  2. ปัญหาด้านการศึกษาของประเทศไทย
  3. แนวคิดระบบพัฒนาวิชาชีพครู

5 คานงัด การบริหารงานบุคคลข้าราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษา

  1. กำหนดมาตรฐานตำแหน่ง และ มาตรฐานวิทยฐานะใหม่ (ว3/2564 ว4/2564)
  2. ปรับระบบการประเมินวิทยฐานะ ควบคู่กับการประเมินเงินเดือน (ว9 – ว12/2564)
  3. ปรับระบบการพัฒนาผู้บริหารก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง (มติ ก.ค.ศ. ครั้งที่ 9/2564)
  4. กำหนดเกณฑ์อัตรากำลังของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง (ว23/2536 กำหนดอัตรากำลังของ รร. ว24/2564 กำหนดการวิธีการบริหารอัตรากำลัง ว10/2565 วิธีการบริหารจัดการ รร. ขนาดเล็ก)
  5. วางแผนการผลิตและระบบคัดกรองครูที่มีคุณภาพระบบการศึกษา (MOU กับ สภาคณบดีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์)

 

3 หลุมดำ แห่งมายาคติ
หลุมที่ 1 มโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยฐานะที่คลาดเคลื่อน
  • ระดับความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ พัฒนาฝีมือสอนจากการลงมือปฏิบัติจริงในหน้างาน และ พิสูจน์ผลลัพธ์ วิทยฐานะ ไม่ใช่รางวัล หรือ สวัสดิการ
หลุมที่ 2 ประเมินสิ่งที่ไม่ใช่หน้างานของครู
  • ผลการปฏิบัติงานเชิงวิชาชีพ (Professional Performance) ไม่ใช่การผลิตผลงานเชิงวิชาการ (Academic Works)
หลุมที่ 3 ไปไม่ถึงผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนอย่างแท้จริง
  • ตัดสินที่รางวัล รายงานทางวิชาการ หรือ วัดผลสัมฤทธิ์จากคะแนนสอบ แต่ผลลัพธ์การเรียนรู้แท้จริงนั้นอยู่ที่ตัวผู้เรียนวัย และ สภาพของผู้เรียน

 

แนวคิดจำเป็น สำหรับนักบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ในศตวรรษ 21

  1. Student Oriented / Student Solution
  2. Quality of Curriculum & Students
  3. Core Competency Development
  4. Mentor Coaching
  5. Process Oriented / QA QI
  6. Creative Research and Innovation
  7. Pool : Alliance : Linkage
  8. Collective Leadership

 

 

การประชุมสัมมนาคณะกรรมการ
 อ..ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษา วันพุธที่ 10 มกราคม 2567 (ที่ผ่านมา)

 

 กำหนดการ
  1. การบรรยายพิเศษ อนาคตภาพการพลิกโฉมการบริหารงานบุคคลข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา โดย รองศาสตราจารย์ ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.
  2. การบรรยายหัวข้อ การดำเนินการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ก.ค.ศ.โดย คณะผู้บริหารสำนักงาน ก.ค.ศ.
      •    ปฏิทินการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษา
      •    การย้ายครู
      •    การสรรหา ตำแหน่งครูผู้ช่วย
      •    ระบบการบริหารอัตรากำลังของข้าราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษา
      •    การพัฒนาหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะ (ว PA) และ ระบบ DPA
      •    ระบบบริหารจัดการประชุม (e-Meeting)

3. การมอบนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” โดย พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

4. การนำเสนอ “ระบบจับคู่ครูคืนถิ่น (Teacher Matching System : TMS)พิธีเปิดระบบจับคู่ครูคืนถิ่น

 

 

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการสรรหาบุคคล เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย

เหตุผลการกำหนด

  1. การวัดความรู้ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  2. ครูไม่ครบชั้นเรียน และ สิ้นเปลืองงบประมาณ
  3. นโยบาย และ ข้อบังคับกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป

 

ระบบการบริหารอัตรากำลัง ข้าราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษา

  1. เงื่อนไขเกณฑ์อัตรากำลังฯ ประมวลผลโดยระบบ
  2. ข้อมูลมีการ Update ส่งผลให้ Report ถูกต้อง แม่นยำ เป็นปัจจุบัน
    • อ.ก.ค.ศ. เขตฯ ใช้ประกอบการพิจารณาบริหารงานบุคคล
    • สพท. ใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อวางแผน + บริหารอัตรากำลัง

 

การพัฒนาหลักเกณฑ์ การประเมินวิทยฐานะ ว PA และ ระบบ DPA

ข้อสรุปการปรับปรุง (ปีงบประมาณ พ..2567)

  1. ห้องเรียนพัฒนากิจกรรมผู้เรียน (เช่น แนะแนว , ลูกเสือ และ เนตรนารี)
  2. ทางเลือกในการยื่นคำขอ เลื่อนเป็นวิทยฐานะ (ชำนาญพิเศษ , เชี่ยวชาญ และ เชี่ยวชาญพิเศษ)
    • ปรับการประเมินเฉพาะด้านที่ 1 คือ นวัตกรรม , สิ่งประดิษฐ์ , สื่อสร้างสรรค์ และ การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์
    • ต้องมีหลักฐานแสดงลิขสิทธิ์ของผู้ขอ
  3. ตัวชี้วัดการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
  4. ช่องทางการแนบหลักฐาน โดยเป็นการแนบตามความสมัครใจ ไม่เป็นเงื่อนไขบังคับ (เฉพาะการประเมินด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2)
  5. พัฒนาระบบ DPA Version 3
  6. จัดทำ Application สำหรับการติดต่อสื่อสารกับกรรมการประเมินในระบบ DPA

 

การย้ายสับเปลี่ยน ข้าราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TMS

  1. ยอมรับข้อกำหนด และ เงื่อนไขการย้าย ลงทะเบียน บันทึกข้อมูล และ อัพโหลดไฟล์
  2. ระบบ TMS ประมวล และ แสดงผลของครูผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน
  • กลุ่มวิชาหลักที่สอนตรงกัน
  • สับเปลี่ยนที่ตั้งตำบล/แขวง หรือ อำเภอ/เขต หรือ จังหวัดเดียวกันกับภูมิลำเนา ได้ครั้งละ 1 คน
  1. เมื่อได้รับการตอบรับจากคู่ย้ายสับเปลี่ยนแล้ว
  • จัดพิมพ์แบบคำร้องขอย้ายสับเปลี่ยน เสนอผู้อำนวยการสถานศึกษาพิจารณา
  • หากเห็นควรให้ย้าย ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนนำแบบคำร้องขอย้าย พร้อมความคิดเห็นของคณะกรรมสถานศึกษา เข้าสู่ระบบ TMS ไฟล์ PDF ส่งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  1. สพท. หรือ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้รับคำร้องขอย้าย ตามข้อ 3 แล้ว ให้พิมพ์คำร้องขอย้ายฯ
  • ก.พ.7 / ก.ค.ศ. 16
  • เอกสารผู้ขอย้ายอัพโหลดมาใน TMS
  1. เมื่อดำเนินการตามข้อ 4 แล้ว ให้ดำเนินการตามคำร้องขอย้าย ขั้นตอนต่อไป
  • คำร้องขอย้าย สพท. / ส่วนราชการ เดียวกัน
  • คำร้องขอย้าย ระหว่าง สพท.
  • คำร้องขอย้าย ระหว่าง สพท. กับ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
  1. เมื่อมีมติอนุมัติ หรือ ไม่อนุมัติให้ย้ายสับเปลี่ยน หรือ แจ้งมติให้ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนทราบผ่านระบบ TMS ให้ดำเนินการตามปฏิทินที่กำหนด

 

 

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก.

สัมมนา อกคศ. เขต

ปฏิทินการดำเนินบริหารบุคคล ก.ค.ศ.

เอกสารเกณฑ์การย้ายครูผู้สอน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *