นักศึกษาศิลปากรโชว์ศักยภาพ พัฒนาผลงานเด่นทะลุเข้าชิงรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทยครั้งที่19

นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร โชว์ศักยภาพพัฒนานวัตกรรม “การบริการขนส่งข้าวไทย” และ “ถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้” ทะลุเข้ารอบชิงชนะเลิศการแข่งขันรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทยครั้งที่ 19 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พร้อมทุนการศึกษาและศึกษาดูงานต่างประเทศ

การแข่งขันรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19 นี้ นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร 2 ทีม คือทีม I’rice logistech ที่ส่งผลงาน “นวัตกรรมการบริการขนส่งข้าวไทย ” และทีม bio-plast mushroom bags ส่งผลงาน “ถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้” เข้าร่วมประกวด เมื่อวันที่ 16-17 สิงหาคม 2562 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ที่ผ่านมา

ปรากฏว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรทั้ง 2 ทีมสามารถโชว์ศักยภาพ สร้างนวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจจนชนะใจกรรมการและได้คะแนนผ่านไปแข่งรอบชิงชนะเลิศในเดือนตุลาคม 2562 ต่อไปโดยนักศึกษาทั้ง 2 ทีมประกอบด้วย

ทีม I’rice logistech “นวัตกรรมการบริการขนส่งข้าวไทย “
1.นางสาวช่อผกา สอนทา คณะวิทยาศาสตร์
2.นายวชิรโชติ ชูตะกูล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
3.นายนายสุภิชโย จาดขัน คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

ทีม Bio-Plast Mushroom Bags “ถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้”
1.นายพร้อมพล พวงประโคน
2.นายนายมนตรี อุดมฉวี นักศึกษาสาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

 

ข้อมูลการประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทยครั้งที่ 19 (พ.ศ.2562)

ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

พร้อมเงินรางวัลและศึกษาดูงานต่างประเทศ

สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ปวส. และปริญญาตรี ในสถาบันการศึกษาของรัฐ และเอกชน ส่งข้อเสนอโครงการ เข้าร่วมประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทยครั้งที่ 19 (พ.ศ.2562) ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พร้อมเงินรางวัลและศึกษาดูงานต่างประเทศ

การประกวดโครงการรางวัลนวัตกรรม แบ่งเป็น 2 สาขาคือ

(ก) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ การออกแบบที่คิดค้นขึ้นใหม่ หรือแนวคิดซึ่งอาจพัฒนาให้เป็นประโยชน์ด้านการผลิต หรือถึงขั้นจดสิทธิบัตรได้ ทั้งนี้หากเป็นการดัดแปลง หรือปรับปรุงให้ดีขึ้นจากต้นแบบที่มีอยู่แล้ว จะต้องแจ้งให้ทราบว่าได้ต้นแบบมาจากไหน สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครอบคลุมทางด้าน วิทยาศาสตร์กายภาพ-ชีวภาพ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์การแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีทางเกษตร-ทางอาหาร รวมทั้งวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

(ข) สาขานวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ ทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่คิดค้นขึ้นใหม่ทางด้านการกีฬาหรือการออกกำลังกาย ซึ่งอาจพัฒนาให้เป็นประโยชน์ด้านการผลิตเพื่อการขยายผลต่อสังคมด้านการกีฬาหรือการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ (Sport Innovation – Exercise for Health)

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.scisoc.or.th/