Chula WISE โครงการแพลตฟอร์ม Mentoring ออนไลน์ ส่งต่อแนวคิด ประสบการณ์ จากรุ่นพี่ศิษย์เก่าสู่รุ่นน้องจุฬาฯ

สังคมรุ่นต่อไป ต้องดีกว่ารุ่นเรา และสังคมต่อไปจะดีกว่า ต่อเมื่อเราสร้างน้องบุคลากรชุดใหม่เป็นคนเก่ง ดี และส่งต่อ…… ความคาดหวังของเหล่า Mentor รุ่นพี่ศิษย์เก่าจุฬาฯ  ในวันเปิดตัวโครงการ Chula WISE ซี่งเป็นแพลตฟอร์ม Mentoring ออนไลน์ สนับสนุนโดยมูลนิธิซีบีเอ เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพนิสิตให้เข้ากับบริบทการศึกษาในยุควิถีปกติใหม่ เพื่อให้นิสิตมีรากฐานอันแข็งแกร่งในการต่อยอดสู่โลกอนาคต

ในวันเปิดโครงการฯ  ได้รับเกียรติจาก ศ. ดร. วิเลิศ ภูริวัชร รักษาการอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยผู้สนับสนุนหลักมูลนิธิซีบีเอ นำโดย รศ. ม.ล. สาวิกา อุณหนันท์ รองประธานมูลนิธิฯ เหล่าคณาจารย์  เมนเทอร์ และนิสิต รวมกว่า 400 คน มาร่วมงาน

ศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไชย (Country Marketing Manager, Google Thailand) ในฐานะประธานโครงการ Chula WISE และเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มและพัฒนาโครงการ Chula WISE ว่า “Chula WISE เป็นโครงการที่ต่อยอดจากความสำเร็จอย่างสูงของโครงการ ChAMP ที่เป็น Mentoring Program แบบ Face-to-Face ริเริ่มโดยคณะบัญชีฯ จุฬาฯ และขยายเป็นวงกว้างสู่สถาบันการศึกษาอื่น ๆ รวมถึงองค์กรภาครัฐ และเอกชน ที่ได้นำหลักการนี้ไปใช้ในองค์กร 

ที่ผ่านมาตลอด 12 ปี โครงการ ChAMP จะเปิดรับเพียงปีละ 1 ครั้ง เท่านั้น การต่อยอดความสำเร็จสู่ Chula WISE จะเป็นการปลดล็อคให้นิสิตมีโอกาสเข้าถึง Mentor มากกว่า 50 คนจากหลากหลายสายงานได้ตลอดทั้งปี โดยเหล่า Mentor จะส่งต่อประสบการณ์ชีวิต และแชร์แนวคิดต่าง ๆ  ให้กับน้อง ๆ ไม่แต่


เฉพาะเรื่องการเรียนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องความสัมพันธ์ การทำงาน ไปจนถึงการใช้ชีวิตและการสร้างคุณค่าให้กับสังคม ผ่านแพลตฟอร์ม Mentoring แบบ On Demand สามารถนัดเวลาที่สะดวกได้ตามต้องการ คุยแบบส่วนตัว ซึ่งช่วยแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ที่สำคัญไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และเชื่อมั่นว่าในเฟสต่อไปโครงการ Chula WISE จะสามารถขยายไปสู่สถาบันการศึกษาอื่น ๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับการพัฒนาการศึกษาของไทย”

โดย Mentor ที่เคยเป็น Mentee ในโครงการ ChAMP อย่าง ดลพร พิทักษ์สิทธิ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเซลไดเรคเตอร์ ลาลามูฟ ประเทศไทย ที่ได้กลับมาส่งต่อสิ่งดีดีที่เธอได้รับให้กับรุ่นน้อง “ภูมิใจค่ะ ที่ได้ส่งต่อ  Pay It Forward จะเต็มที่ ช่วยไกด์ไลน์ ด้านอาชีพ การงาน เช่น สายโลจิสติกส์ ที่ปัจจุบันทำงานอยู่ อาจเป็นสายงานที่บูมขึ้นมาเมื่อไม่นานนี้ พร้อมส่งพลังให้น้อง ๆ Mentee เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เค้ากลับมาส่งต่อให้แก่รุ่นต่อ ๆ ไป”

ส่วน ก้องภพ รุ่งเดช ปัจจุบันเป็น Senior Innovation Product Manager KBTG (Make by KBank) กล่าวถึงการกลับมาเป็น Mentor เพราะอยากมาถ่ายทอดให้น้อง ๆ กับเรื่องราว ประสบการณ์ดีดีที่ตนเองได้รับ โดยโครงการ Chula WISE เป็นแบบหัวข้อเฉพาะเจาจง จึงอยากให้น้อง ๆ เตรียมตัวมาอย่างดี เพื่อจะได้ช่วยแนะนำ แก้ไขได้ตรงจุด ในขณะที่ ปิยทัศน์ จันทสารวิวัฒน์ ทำงานที่เอไอเอ ประเทศไทย ในตำแหน่ง Associate Director of Health Strategy & Analytics บอกว่าตั้งใจจะกลับมาเป็น Mentor อยู่แล้ว ตั้งแต่เมื่อเป็น Mentee อยากกลับมาช่วยเหลือ และให้ความรู้แก่น้อง ๆ 

สำหรับน้อง ๆ ศิษย์ปัจจุบัน ที่ได้ร่วมงานเปิดโครงการ ให้การตอบรับแป็นอย่างดี เช่น เมธาวี ชลวิไล นิเทศศาสตร์ ภาคอินเตอร์ ปี 2 และเป็นยูทูปเบอร์  “สนใจเข้าร่วมโครงการค่ะ อยากปรึกษาเรื่องอนาคตอาชีพการงาน การไปเรียนต่อ และการสร้างแบรนดิ้ง เพราะตั้งใจเปิดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเร็ว ๆ นี้”

และ พิชาภพ ปราบณรงค์ คณะบัญชีฯ ปี 4 แสดงความคิดเห็นถึงความแตกต่างระหว่างโครงการ ChAMP และ Chula WISE ว่า “ผมเป็น Mentee  ChAMP รุ่น 12 ซี่งเป็น Mentoring Program แบบ Face-to-Face ได้ใกล้ชิดกับพี่ Mentor 2 คน ได้เรียนรู้เชิงลึก ในสาขาที่พี่ ๆ เค้าถนัด ได้รับการโค้ชชิ่ง และคำแนะนำ มีสัมพันธภาพที่ดี ตลอดหนึ่งปี แต่ผมก็สนใจร่วมสมัคร Chula WISE เพื่อจะได้เปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นในสาขาอื่น ๆ “ 

การ Mentoring เป็นกระบวนการพัฒนาศักยภาพ ให้มีความเข้าใจในตนเองมากขึ้น ผ่านกระบวนการช่วยคิดและชวนคิด อันเป็นกระบวนการเสริมสร้างปัญญาด้วยการสร้างมุมมอง “สะท้อนย้อนคิด” (Reflection) รวมถึงการผสมผสานทั้งการโค้ชชิ่ง (Coaching)  และการแนะนำ (Advise) จาก Mentor เพื่อดึงเอาศักยภาพของ Mentee ออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อผลักดันให้ก้าวสู่เป้าหมายได้สำเร็จ

 

นิสิตปัจจุบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคนจากทุกคณะและทุกชั้นปี สามารถสมัครเป็น Mentee ของโครงการ Chula WISE  ได้ที่ https://wisementorship.org/ และติดตามรายละเอียดการสมัครได้ที่เฟซบุ๊ก: wise mentoring หรือ IG: wise.mentoring โดยเปิดรับสมัครตลอดทั้งปี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *