‘วิชาทั่วไป’ ไม่เรียนได้ไหม ?

 

‘วิชาทั่วไป’ ไม่เรียนได้ไหม ?

โดย ดร.ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว รองคณบดี สถาบัน RSU Gen.Ed. ทำไมต้องมีหลักสูตร General Education หรือ Gen.Ed. ? ก็เพราะว่าวิชาศึกษาทั่วไป มันเป็นวิชาเลือกอิสระ ตามความสนใจและความสามารถพิเศษ ที่ทำให้เลือกเรียนรู้เรื่องราวรอบตัว ทักษะ สร้างประสบการณ์ชีวิตได้ตามใจ ซึ่งอาจทำให้เราสามารถเลือกทางเดินชีวิต ได้ถูกต้องหรือเปลี่ยนชีวิตเราได้… อย่าลืมว่าชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย คือช่วงวัยที่สำคัญของมนุษย์และเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เป็นวัยนักศึกษาที่กำลังเติบโตสู่การเป็นผู้ใหญ่แต่รู้หรือเปล่าว่าบางคนอาจมีเส้นทางเดินที่ต่างกัน มีอาชีพ มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว จึงเป็นที่มาของการเกิดวิชาทั่วไป และที่มหาวิทยาลัยรังสิตจึงปรับหลักสูตรศึกษาทั่วไป

โดยสถาบัน RSU Gen.Ed. รูปแบบใหม่ที่เริ่มนำมาใช้ในการเรียนการสอนตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 ร่วมกับทีมผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา เป็นวิชาที่เกิดจากการตกผลึก ปรับ จัด แบ่ง กลุ่มการเรียนเป็น 8 กลุ่มน่าสนใจให้สอดคล้องกับแนวคิดและรูปแบบการใช้ชีวิตของนักศึกษารุ่นใหม่ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ทำให้นักศึกษารู้จักตนเอง รู้จักการใช้ชีวิต เลือกทางเดินชีวิตที่เหมาะสม และมีความสุขได้ เพราะวิชาเหล่านี้อาจเป็นตัวเสริมทักษะชีวิตโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างกลุ่มวิชาทั่วไป 8 กลุ่มที่มีการปรับให้น่าสนใจเหมาะกับวัยรุ่นยุคใหม่ ได้แก่

1. RSU Identity : อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยรังสิต สร้างสังคมธรรมาธิปไตย
2. Internationalization : ความเป็นสากล สามารถสื่อสาร ก้าวสู่การทำงานในโลกกว้างได้
3. Leadership : การเป็นผู้นำ ความรัก ความดี ความโกง
4. Art and Culture : ศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย สามารถนำมาสู่การสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ
5. Innovative Entrepreneurship : ผู้ประกอบการสร้างสรรค์
6. Digital Media Literacy: รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
7. Essence of Science : หลักคิดวิทยาศาสตร์
8. RSU My Style : คุณอยากเป็นอะไรเราจัดให้!!


เห็นมั้ยว่า…เกิดความหลากหลายและสอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคมหรือในชีวิตมากขึ้น แต่ละหลายวิชาจะถูกสลัดคราบการสอนแบบเดิมๆ เพราะแต่ละรายวิชานั้นล้วนเกิดจากการพัฒนาศักยภาพอาจารย์จากครูเป็นโค้ช หรือการเป็นผู้เอื้ออำนวยการเรียนการสอน (Facilitator) มากขึ้น ทีมอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาต่างๆ ในหลักสูตรศึกษาทั่วไปมีมากกว่า 100 คน ได้ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช” และจัดทำแผนการสอนรายสัปดาห์ใหม่ให้อัพเดททั้งเนื้อหา วิธีการสื่อการสอน กิจกรรม และการประเมินผลการเรียน ตามแนวทาง Authentic Learning คือ การเตรียมพร้อมก่อนสอนจริงและมีการบันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนการถอดบทเรียนกิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชา Gen.Ed. และนำมาผลิตเป็นสื่อดิจิทัล เผยแพร่ทางช่อง www.wisdomflix.com (สื่อหลักของมหาวิทยาลัยรังสิต) เพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์ได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Authentic Learning ก่อให้เกิดประโยชน์นำไปใช้ได้ในชีวิตจริง ส่วนความรู้และทักษะที่นักศึกษาได้รับจากการเข้าร่วมโครงการตามคุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 นั่นคือ

1) ทักษะด้านภาษา : นักศึกษามีความสามารถในการสื่อสาร ภาษาไทย และภาษาอังกฤษในการสื่อสารทั่วไป และในสถานการณ์สำคัญ โดยเฉพาะทักษะในการนำเสนอผลงานทั้งการเขียนสรุปความการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และการเขียนเพื่อผลิตสื่อประชาสัมพันธ์การเขียนโครงการ และการเขียนเชิงวิเคราะห์ รวมถึงการพูดในที่สาธารณะอย่างมืออาชีพ

2) ทักษะด้านไอที (IT) : นักศึกษามีความสามารถในการผลิตสื่อวิดิทัศน์ด้วยอุปกรณ์สมาร์ทโฟนหรื
อแท๊ปเลต รวมถึงมีความสามารถในการจัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ และการผลิตสื่อออนไลน์ เป็นต้น

3)  ทักษะชีวิต : นักศึกษามีความรู้ในเรื่องรู้เท่าทันสื่อ  รู้หลักของสังคมธรรมาธิปไตย การมีจิตอาสา จิตสาธารณะ รู้จักการให้ การแบ่งปัน การทำงานร่วมกับผู้อื่น และรู้จักความรัก รู้จักการแก้ปัญหาในชีวิต

4) ทักษะอาชีพ : นักศึกษารู้จักตัวเองรู้จักเลือกพัฒนาความชอบและความถนัด มาเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักได้ หรือรู้จักต่อยอดผลงานสร้างสรรค์งาน เพื่อประโยชน์ในการหาเลี้ยงชีพอย่างสุจริตได้

5) ความมีจิตอาสา : เป็นเกณฑ์การวัดผลสำคัญในรายวิชาต่างๆ โดยกำหนดให้นักศึกษาต้องทำงานกลุ่มและมีโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมทำให้นักศึกษาเรียนรู้การช่วยเหลือเกื้อกูล ทำเพื่อผู้อื่นผลที่มากไปกว่าความรู้ และทักษะที่นักศึกษาได้รับ คือ
การสร้างการตระหนักรู้ และคุณค่าทางสังคมแต่เป็นการแสดงให้เห็นการดึงศักยภาพของอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาให้ค้นพบความสามารถของตนเองที่แท้จริง นำมาสร้างสรรค์ชีวิต และสังคมที่ดีมีความสุขร่วมกันได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *