ความเเตกต่าง กสพท TPAT/TGAT A-Level

สอบ กสพท

เป็นข้อสอบสำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์ หรือคณะสัตวแพทยศาสตร์ กสพท จะเข้าการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ๆ

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรหรือกำลังศึกษาชั้นปีสุดท้ายในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและคาดว่าจะจบการศึกษาก่อนเดือนกรกฎาคม ปี 2566 โดยแต่ละปีกำหนดการจะไม่เหมือนกัน สามารถติดตามได้ที่ กสพท ได้เลย  มีสัญชาติไทย ยกเว้นผู้ที่สมัครเข้าศึกษาในสถาบันเอกชนที่เข้าร่วมกับ กสพท

กสพทเเบ่งออกเป็น 3 พาร์ท

เชาวน์ปัญญา
จํานวนข้อ 45 ข้อ เวลาทําเฉลี่ย 1.6 นาที/ข้อ
เรื่องที่ออก
– คํานวณเชิงตรรกะ
– อนุกรม
– มิติสัมพันธ์
– เหตุผล
– ภาษา
– จับใจความสําคัญ

จริยธรรม
จํานวนข้อ 75 ข้อ เวลาทําเฉลี่ย 1 นาที/ข้อ
เรื่องที่ออก
พาร์ทนี้จะเป็นการยกเหตุการณ์ ในชีวิตประจําวัน หรือเหตุการณ์ที่เป็นข่าวในช่วงนั้นมาถามว่าเรามีความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างไร

เชื่อมโยง
จํานวนข้อ 20 ข้อ เวลาทําเฉลี่ย 3.7 นาที/ข้อ
เรื่องที่ออกคล้ายๆ GAT เชื่อมโยง แต่สําหรับ กสพท จะเป็นแบบ 20 คําเชื่อมโยง และไม่มีการระบายตัวหนาให้ในบทความ

*ข้อสอบ TPAT1 (กสพท)   จะจัดสอบในรูปแบบกระดาษเท่านั้น

: ตัวอย่างข้อสอบปีที่แล้ว   คลิก

เดือนกันยายน 2566

 

สอบ TGAT / TPAT 2-5

จะต้องเป็นนักเรียนชั้นม.6 หรือเทียบเท่า (ปวช. ปวส. หรือนักเรียนที่เรียนจบจากต่างประเทศ) ที่ต้องการสอบเพื่อยื่นคะแนนเข้ามหาลัยฯ เท่านั้น สำหรับเด็กซิ่วที่มีคะแนน PAT ของปีเก่า ไม่สามารถยื่นคะแนนเดิมได้แล้ว ต้องใช้คะแนน TGAT/TPAT ใหม่ ซึ่งคะแนนจะมีอายุเพียง 1 ปี

TGAT จะมี 3 พาร์ทด้วยกัน คือ

พาร์ท TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ

คือ ข้อสอบเน้นการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยเป็นปรนัย 4 ตัวเลือก (ไม่มีสอบพูดตัวต่อตัว ใช้วิธีสอบแบบกระดาษ/คอมพิวเตอร์ทั้งหมด) รวมทั้งหมด 60 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน

ทักษะการพูด 30 ข้อ

  • การถาม–ตอบ (Question-Response) 10 ข้อ
  • เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversations) 10 ข้อ
  • เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversations) 10 ข้อ

ทักษะการอ่าน 30 ข้อ

  • เติมข้อความให้สมบูรณ์ (Text completion) 15 ข้อ
  • อ่านจับใจความ (Reading comprehension) 15 ข้อ

พาร์ท TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล

คือ ข้อสอบที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ เน้นความเข้าใจ โดยข้อสอบเป็นแบบปรนัย 5 ตัวเลือก รวมทั้งหมด 80 ข้อ ใช้เวลาสอบ 90 นาที คะแนนเต็ม 100 คะแนน

  • ความสามารถทางภาษา (ภาษาไทย) 20 ข้อ
  • ความสามารถทางตัวเลข (คณิตศาสตร์) 20 ข้อ
  • ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ (คณิตศาสตร์) 20 ข้อ
  • ความสามารถทางเหตุผล (ภาษาไทย + คณิตศาสตร์) 20 ข้อ

พาร์ท TGAT3 สมรรถนะการทำงาน

คือ ข้อสอบวัดทัศนคติ โดยการตอบคำถาม มีทั้งแบบเลือกตอบ 1 คำตอบ และ เลือกตอบแบบหลายคำตอบ ซึ่งทุกคำตอบจะมีคะแนนตั้งแต่ 0-1 คะแนน (บางคำตอบเป็น 0.25 หรือ 0.50) โดยข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก รวมทั้งหมด 60 ข้อ ใช้เวลาสอบ 90 นาที คะแนนเต็ม 100 คะแนน

  • การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม 15 ข้อ
  • การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน 15 ข้อ
  • การบริหารจัดการอารมณ์ 15 ข้อ
  • การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม 15 ข้อ

TPAT จะมี  พาร์ทด้วยกัน คือ

TPAT 1 ความถนัดเฉพาะ กสพท

TPAT 1 ความถนัดเฉพาะ กสพท คือ ข้อสอบสำหรับน้องๆ ที่จะสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ในกลุ่ม กสพท

TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์

TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์ คือ ข้อสอบสำหรับน้องๆ ที่จะสอบเข้าคณะสายศิลปกรรมศาสตร์ มีทั้งหมด 150 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง ประกอบด้วย 3 พาร์ท (สามารถเลือกสอบได้) คือ TPAT21 ทัศนศิลป์, TPAT22 ดนตรี, TPAT23 นาฏศิลป์ แต่บางมหาลัยฯ เลือกใช้ข้อสอบที่ทางมหาลัยฯ ออกเอง

โครงสร้างข้อสอบ TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์

TPAT1 ทัศนศิลป์

  • พื้นฐานทางทัศนศิลป์ 30 ข้อ
  • ทัศนศิลป์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน 20 ข้อ

TPAT2 ดนตรี

  • องค์ประกอบดนตรี 25 ข้อ
  • บริบทที่เกี่ยวข้องทางดนตรี 25 ข้อ

TPAT3 นาฏศิลป์

  • พื้นฐานการใช้ร่างกานด้านนาฏศิลป์ 10 ข้อ
  • การสื่อสารด้วยท่าทาง 15 ข้อ
  • หลักการใช้พื้นที่ทางด้านนาฏศิลป์ 15 ข้อ
  • ปฏิภาณไหวพริบสำหรับผู้แสดงนาฏศิลป์ 10 ข้อ

TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ คือ ข้อสอบ ที่ต้องการยื่นสมัครเข้าคณะสายวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ มีทั้งหมด 70 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ประกอบด้วย 2 พาร์ท คือ การทดสอบความถนัด และ การทดสอบความคิดและความสนใจ

โครงสร้างข้อสอบ TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

  • การทดสอบความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 45 ข้อ
  • การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 25 ข้อ

TPAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม

TPAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม คือ ข้อสอบที่จะสอบเข้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีทั้งหมด 40 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง แบ่งเนื้อหาของข้อสอบออกเป็น 4 หมวด

โครงสร้างข้อสอบ TPAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม

  • ความรู้ทั่วไปด้านศิลปะและการออกแบบ ที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน 12 ข้อ
  • ความรู้ทั่วไปด้านทฤษฎีสีและทฤษฎีด้านความงามทางศิลปะและงานสถาปัตยกรรม 8 ข้อ
  • ความรู้พื้นฐานระบบโครงสร้าง ประเภทและลักษณะโครงสร้าง องค์ประกอบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม และงานระบบพื้นฐานในงานสถาปัตยกรรม 12 ข้อ
  • การรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และรูปทรง 8 ข้อ

TPAT5 ความถนัดครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์

TPAT5 ความถนัดครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ คือ ข้อสอบที่ต้องการยื่นสมัครเข้าคณะครูต่างๆ มีทั้งหมด 100 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ประกอบด้วย 2 พาร์ท คือ ความสามารถพื้นฐานทางวิชาชีพครู และ คุณลักษณะความเป็นครู

โครงสร้างข้อสอบ TPAT5 ความถนัดครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์

  • ความสามารถพื้นฐานทางวิชาชีพครู 50 ข้อ
  • คุณลักษณะความเป็นครู 50 ข้อ

*ข้อสอบ TGAT/TPAT 2 – 5 ทุกวิชามีการจะสอบทั้งรูปแบบกระดาษ และรูปแบบคอมพิวเตอร์ โดยรูปแบบคอมพิวเตอร์ จะประกาศผล  สอบ หลังจากสอบเสร็จทุกวิชาประมาณ 1 สัปดาห์

: ตัวอย่างข้องสอบปีที่เเล้ว  คลิก

เดือนตุลาคม 2566 – เดือนมกราคม 2567 

 

สอบ A-Level    

เป็นหลักสูตรการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของอังกฤษโดยมักจะได้เรียนและสอบในช่วง Year 12 – 13 หรือช่วงอายุ 16 – 19 ปี ซึ่งการเรียนหลักสูตร GCE A Level นี้ เป็นเหมือนกับการเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่มหาวิทยาลัย GCE A Level แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

A Level แบ่งออกเป็น 2 ส่วน มีวิชาสอบให้เลือกมากกว่า 50 วิชา แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มได้แก่

การสอบ A level มีทั้งหมดประมาณ 66 วิชา โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มวิชา ได้แก่

  1. กลุ่มวิชาภาษา (Language)
  2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities & Social Science)
  3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (Science)
  4. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics)
  5. กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพ (Creative, Technical and Vocational)

GCE A Level หรือ General Certificate of Education (GCE) Advanced Level เป็นหลักสูตรการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของอังกฤษโดยมักจะได้เรียนและสอบในช่วง Year 12 – 13 หรือช่วงอายุ 16 – 19 ปี ซึ่งการเรียนหลักสูตร GCE A Level นี้ เป็นเหมือนกับการเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่มหาวิทยาลัย GCE A Level แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่

AS Levels (Advance Subsidiary Levels) จะเป็นช่วงปีแรก คือ Year 12 (เทียบเท่า ม.5)

ส่วนใหญ่จะเรียนในระดับ Year 12 โดยปกติแล้วทางโรงเรียนจะให้นักเรียนเลือกสอบประมาณ 4 วิชา เกรดสูงสุดที่จะได้คือ A ไล่ระดับลงไปจนถึงเกรด E และเมื่อสอบผ่านในแต่ละวิชา จะได้วิชาละ 1 เครดิต (Credit) การสอบผ่านเพียงระดับ AS Levels จะถือว่าจบแค่ครึ่งหนึ่งของหลักสูตร GCE A Level เท่านั้น

A Level (Advance Levels) จะเป็นการเรียนในช่วง Year 13

โดยทั่วไปมักเรียนในระดับ Year 13 เนื้อหาที่ออกสอบจะมีความยากกว่า AS Level ซึ่งการเรียนในระดับนี้โดยส่วนใหญ่แล้วนักเรียนจะเลือกเรียนเฉพาะวิชาที่จำเป็นต้องใช้ในการเข้ามหาวิทยาลัยเพียง 3 วิชา จาก 4  วิชา ที่น้องได้สอบผ่านมาแล้วในระดับ AS Level ส่วนระดับเกรดของ A Level เกรดสูงสุดที่จะได้เลยคือ A* ไล่ระดับลงไปจนถึงเกรด E และเมื่อสอบผ่านในแต่ละวิชา จะได้วิชาละ 2 เครดิต (Credit) ค่ะ

*ปีนี้ข้อสอบ A-Level จะมีการจัดสอบทั้งรูปแบบกระดาษ และรูปแบบคอมพิวเตอร์ แต่รูปแบบคอมพิวเตอร์จะจัดสอบใน 9 รายวิชาเท่านั้น คือ คณิตศาสตร์ประยุกต์2, วิทยาศาสตร์ประยุกต์, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเกาหลี, ภาษาจีน, ภาษาบาลี และภาษาสเปน โดยจะประกาศผลสอบ หลังจากสอบเสร็จทุกวิชาประมาณ 5 วัน

: ตัวอย่างข้อสอบปีที่เเล้ว   คลิก

เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน 2567

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *