เลขาฯ กพฐ.เผยหากผู้ปกครองไม่สบายใจให้บุตรหลานไปเรียน 1 ก.พ.นี้ สามารถเรียนออนไลน์ต่อได้

เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) นายอัมพร พินะสา เปิดเผยว่า โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พื้นที่กรุงเทพมหานคร ภาพรวมโรงเรียนเตรียมความพร้อมการเปิดเรียนได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ระหว่างที่ต้องปิดสถานศึกษาในจังหวัดพื้นที่เสี่ยง ก็จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพเช่นเดียวกัน   สำหรับ 4 จังหวัดเฝ้าระวังพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ให้สลับวันเรียนและจำกัดนักเรียนต่อห้องไม่เกิน 25 คน ต้องปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด หากภาพรวมสภานการณ์ดีขึ้นแล้ว และโรงเรียนปฏิบัติตามมาตาการเว้นระยะห่างก็ให้เปิดเรียนตามรูปแบบปกติได้   อย่างไรก็ตามหากผู้ปกครองมีความเป็นห่วงบุตรหลานของตัวเอง ยังไม่อยากให้ไปโรงเรียน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่ดีขึ้นก็ไม่ต้องกังวล เพราะได้มีคำสั่งให้โรงเรียนต้องให้ความอนุเคราะห์แก่เด็กให้เรียนผ่านระบบออนไลน์ที่บ้านได้…

สพฐ.เผยภาพรวมเปิดเรียน 1 ก.พ.ดีเยี่ยม พร้อมขยับวันปิดเรียนเทอม 2 เป็น 9 เม.ย.64   

สพฐ.เผยภาพรวมโรงเรียนเตรียมพร้อมเปิดเทอมดีเยี่ยม พร้อมขยับวันปิดเรียนเทอม 2 เป็นวันที่ 9 เม.ย. และเปิดภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2564 วันที่ 15 พ.ค   เมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) นายอัมพร พินะสา เปิดเผยว่า ตนได้ลงพื้นที่ติดตามการเตรียมความพร้อมการเปิดเรียนในวันที่ 1 ก.พ.ในนี้นั้น ทางโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พื้นที่กรุงเทพฯ หลายแห่ง พบว่า ภาพรวมโรงเรียนเตรียมความพร้อมการเปิดเรียนได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ระหว่างที่ต้องปิดสถานศึกษาในช่วงเดือน…

การเปิดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ

‘ณัฏฐพล’ เผย เปิดเรียนได้ 1 ก.พ. ยกเว้นจังหวัดสมุทรสาคร ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑลต้องเฝ้าระวังเข้ม ด้านโรงเรียนเอกชนเตรียมคำนวณลดค่าใช้จ่ายให้ผู้ปกครอง     27 มกราคม 2564 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเปิดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 27 มกราคม 2564 โดยให้สถานศึกษาทุกแห่งของรัฐและเอกชน ทั้งในระบบและนอกระบบซึ่งอยู่ในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดการเรียนการสอนตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป…

กระทรวงสาธารณสุข กังวล 5 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง เปิดเรียน1ก.พ.

กระทรวงสาธารณสุข กังวล 5 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง เปิดเรียน1ก.พ. รมว.ศึกษาธิการ เผย ในพื้นที่เสี่ยง 5 จังหวัดที่จะต้องเปิดเรียนในวันที่ 1 ก.พ.นี้ ชี้ อาจเปิดเรียนเฉพาะเด็กระดับปฐมวัยและอนุบาลก่อน ย้ำ รร.ทุกแห่งมีอินเทอร์เน็ตเข้าถึง เมื่อวันจันทร์ที่ 25 ม.ค. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงความพร้อมเปิดการเรียนการสอนหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสติดเชื้อโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ที่กำหนดเปิดเรียนในวันที่ 1 ก.พ.นี้ ว่า ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)…

สพฐ.แจ้งรร.ปรับวิธีประเมิน-ข้อสอบเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด

กพฐ. เตรียมแผนเปิดเรียน 1 กุมภาพันธ์ ยึดมาตรการสธ.พร้อมขอความร่วมมือโรงเรียนปรับการสอบเลื่อนชั้นและการสอบเข้าม.1 และ ม.4 ให้เหมาะสม เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) นายอัมพร พินะสา เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่าที่ประชุมได้มีข้อสรุปถึงการเปิดเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ใน 28 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดระลอกใหม่โดยสพฐ. ยืนยันกำหนดการเดิมที่เปิดเรียนวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ ทั้งนี้เมื่อเปิดเรียนแล้วขอให้โรงเรียนทุกแห่งปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อย่างเคร่งครัดหรือการสลับวันมาเรียน รวมถึงหากโรงเรียนในพื้นที่ไหนประเมินแล้วว่ายังไม่สามารถเปิดเรียนพร้อมกันทุกระดับชั้นได้ ขอให้โรงเรียนเลือกเปิดเรียนสำหรับเด็กระดับปฐมวัยกับประถมศึกษาก่อนเป็นลำดับแรก…

รมว.ศธ. ยันเปิดเรียนกำหนดเดิม 1 ก.พ.นี้

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ กล่าวว่า ตามที่หลายฝ่ายได้มีเสนอให้มีการเปิดเรียนเฉพาะเด็กระดับปฐมวัยไปจนถึงประถมศึกษาก่อน เนื่องจากเด็กเล็กกลุ่มนี้มีความจำเป็นต้องเรียนในห้องเรียน และไม่สะดวกในการเรียนออนไลน์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้มากขึ้นนั้น   ขณะนี้ตนมองว่าอีกเพียงไม่กี่วันก็จะถึงกำหนดการเปิดโรงเรียนที่กระทรวงศึกษา (ศธ.) กำหนดไว้เดิม คือ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ แล้ว และหากมีการเสนอ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (ศบค.) อีก อาจจะเกิดความสับสนให้แก่สังคมได้ อย่างไรก็ตาม ทาง ศธ.ยังยืนยันที่จะเปิดการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับ…

กพฐ. แนะปรับตัวชี้วัดการเรียนใหม่ให้เหมาะกับสถานการณ์ COVID-19

ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประธาน กพฐ.) นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ได้กล่าวภายหลังการประชุม กพฐ.ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ที่มีการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นจนทำให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศแจ้งปิดสถานศึกษาในสังกัด 28 จังหวัดพื้นที่สีแดง ซึ่งที่ประชุมมีความกังวลเรื่องคุณภาพการเรียนการสอนของผู้เรียนหากสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยยังไม่คลี่คลายจนไม่สามารถเปิดเรียนตามปกติได้ในวันที่ 31 มกราคม จะมีวิธีการใดบ้างที่จะทำให้คุณภาพของผู้เรียนดีขึ้นแม้เด็กยังต้องเรียนผ่านระบบออนไลน์ โดยที่ประชุมขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เร่งประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ ให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจถึงบทบาทและสถานการณ์ที่ต้องเรียนออนไลน์ รวมถึงการให้การบ้านนักเรียน ที่ครูจะต้องบูรณาการการบ้านให้เหลือชิ้นเดียวแต่ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังต้องการให้ครูที่จัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้ดี ได้ส่งข้อมูลการสอนของครูเหล่านั้นมาใส่ข้อมูลไว้ที่ศูนย์ข้อมูลส่วนกลางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อที่ครูคนอื่นๆ จะได้นำไปเป็นตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนได้…

กสศ.แนะ ศธ.เร่งปรับปรุงดิจิทัลแพลตฟอร์มเอื้อเด็กเรียนออนไลน์

ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤติ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ เปิดเผยว่า ตามที่ทาง กสศ. ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ระลอกใหม่ พบว่า เด็กและเยาวชนได้รับผลกระทบมากกว่าการแพร่ระบาดในรอบแรก โดยมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อในระหว่างเด็กด้วยกัน เนื่องจากเรามีเด็กที่เป็นลูกแรงงานข้ามชาติจำนวนมาก ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวว่า “โรคโควิด-19 ระบาดมาแล้ว 1 ปี เราใช้ระบบการเรียนออนไลน์มาแก้ปัญหาการเรียนการสอน แต่ปรากฏว่าได้ผลเฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่ในเขตเมือง ส่วนโรงเรียนขนาดกลาง ขนาดเล็กที่อยู่ในเขตเมือง และชนบทห่างไกลไม่ได้ผล แม้จะใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ก็แทบจะไม่ได้ผล ซึ่งน่าเป็นห่วงมากว่า คุณภาพการศึกษาของเด็กไทยในปีนี้จะถดถอยลงมาก” ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้เราต้องวางนโยบายและวิธีคิดเรื่องกระบวนการเรียนรู้ของประเทศไทยใหม่…

นโยบายการทดสอบ O-NET ให้ผู้เรียนในระดับชั้น ป.6 และ ม.3 ของสถานศึกษาในกำกับ เข้ารับการทดสอบ O-NET ตามความสมัครใจ โดยให้ถือเป็นสิทธิส่วนตัวโดยเฉพาะของนักเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงนามในหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เรื่อง นโยบายการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ) มีนโยบายลดและปรับเปลี่ยนรูปแบบการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนในทุกระดับการศึกษา เพื่อลดความซ้ำซ้อนเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษา และลดความเครียดของนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขอสรุปแนวทางการดำเนินการทดสอบ O-NET ดังต่อไปนี้ กระทรวงศึกษาธิการมีประกาศ เรื่อง นโยบายการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ให้ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของสถานศึกษาในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับการทดสอบ…

ศธ.ปรับลดเวลาและวันทำงานของบุคลากรในสังกัด 28 จังหวัด ให้มาทำงานไม่เกินร้อยละ 25

เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายสุภัทร จำปาทอง ได้ลงนามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยการปรับลดเวลาและวันทำงานของบุคลากรในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีเนื้อหา ดังนี้   กระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) โดยการปรับลดเวลาและวันทำงานของบุคลากรในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการในเขตจังหวัดทั้ง 28 จังหวัด ด้วยมาตรการดังนี้   1.ให้ผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการที่มีสถานที่ทำงานในเขต 28 จังหวัด มอบหมายให้บุคลากรในสังกัดปฏิบัติงาน ณ ที่พักตามความเหมาะสมและส่งเสริมให้ใช้ระบบอินเทอร์เน็ตในการปฏิบัติงานทุกชนิด ให้เปิดเครื่องมือสื่อสารเพื่อให้สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา…