อาจารย์ มจธ. ผลิตอุปกรณ์และปรับปรุงกระบวนการ เพิ่มกำลังผลิตหน้ากากอนามัยช่วยโรงงาน ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิต 30%

บริษัทผลิตหน้ากากอนามัยในประเทศไทยมีเพียง 11 บริษัท และมีเพียง 2-3 บริษัทเท่านั้นที่เป็นบริษัทรายใหญ่ที่มีกำลังผลิตสูง โดย รศ.ดร.บวรโชค ผู้พัฒน์ และอาจารย์นพณรงค์ ศิริเสถียร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คุณไพศาล ตั้งชัยสิน นักศึกษาเก่าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และ ดร. ทศพร บุญแท้ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนามได้ทำงานร่วมกับบริษัท ไทยฮอสพิทอล โปรดักส์ จำกัด หวังช่วยให้โรงงานขนาดใหญ่มีกำลังผลิตเพิ่มมากขึ้นในเวลาที่รวดเร็ว ใช้เงินลงทุนไม่มาก ร่วมกับใช้เครื่องเชื่อมอัลตราโซนิกแบบ Manual ที่ให้การผลิตต่ำกว่าเครื่องผลิตหน้ากากอนามัยแบบอัตโนมัติ รศ.ดร.บวรโชค ผู้พัฒน์…

มทร.พระนคร เปิดหลักสูตรป.เอก ปั้นนักคหกรรมศาสตร์ขั้นสูง รองรับยุทธศาสตร์ชาติ

อาจารย์ปิยะธิดา สีหะวัฒนากุล คณบดีคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เปิดเผยว่า จากนโยบายของภาครัฐได้สนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก : Eastern Economic Corridor หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า อีอีซี เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งรศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์ รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จึงมองเห็นถึงความต้องการในตลาดแรงงานที่ยังขาดบุคลากรที่มีคุณภาพอีกจำนวนมาก ประกอบกับคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านวิชาการและทักษะวิชาชีพบนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นนำด้านคหกรรมศาสตร์ที่สืบทอดผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมไทยมายาวนานกว่า 81 ปี ถือได้ว่าเป็นต้นแบบที่ผลิตบัณฑิตมืออาชีพเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จึงได้เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาคหกรรมศาสตร์ ปร.ด (คหกรรมศาสตร์) Doctor of Philosophy…

EDUCA แนะ 9 เทคนิคให้ครูซ้อม Teach from Home แบบไม่ Burnout!

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้สถาบันการศึกษาต้องเปลี่ยนรูปแบบการสอนครั้งใหญ่ ตอนนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยได้ปรับโหมดสู่การสอนออนไลน์อย่างเต็มตัว ส่วนครูในโรงเรียนต่างๆ อยู่ระหว่างเตรียมการสอนสำหรับการเปิดเทอมใหม่ของปีการศึกษา 2563 ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ อย่างไรก็ตาม เพราะไม่อาจคาดการณ์ได้ชัดเจนว่าวิกฤติไวรัสโควิด-19 จะจบลงเมื่อไร บวกกับสถานการณ์ที่ต้อง Social Distancing ทำให้การพบปะพูดคุยกันแบบเดิมเปลี่ยนไปเป็นการสื่อสารผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอแบบนี้นานๆ คนเดียว โดยไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กันแบบ Face to Face ก็อาจทำให้ครูและอาจารย์เกิดอาการ Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงานได้ EDUCA รวบรวม 9 เทคนิคสำหรับการ Teach from Home ทั้งการเตรียมการสอนสำหรับช่วงเปิดเทอม ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญให้กับครูสามารถจัดการตัวเองทั้งด้านการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. เตรียมพร้อมด้านอุปกรณ์และโปรแกรม แม้จะมีหลายโปรแกรมที่ครูสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีในการสอนออนไลน์ แต่บางโปรแกรมก็อาจมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ระยะเวลาในการออนไลน์ หรือจำนวนผู้เข้าร่วมกลุ่ม ซึ่งหากครูต้องการใช้งานโปรแกรมได้เต็มรูปแบบจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้น ควรสอบถามถึงการสนับสนุนไปทางโรงเรียน โดยโรงเรียนบางแห่งมีความพร้อมที่จะซื้อโปรแกรมสำหรับใช้งานรายปีให้กับครู   ทั้งระดับชั้น โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมนี้ หากครูมีโปรแกรมช่วยบันทึกคะแนนนักเรียน…

สพฐ.กำหนดแผนการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ช่วงก่อนเปิดเทอม วันที่ 1 ก.ค. 2563

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดแผนการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล สำหรับการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์ COVIC 19 ก่อนช่วงเปิดภาคเรียน ในระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2563   นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศผ่านระบบ Video Conference เกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม…

สรุปผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 3/2563

  สรุปผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 3/2563 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การสอบครูผู้ช่วย/ ผอ. รองผอ. ผอ.เขตพื้นที่ฯ ศึกษาธารจังหวด-รอง/ ผอ.สถานศึกษา การยกเว้นเงื่อนไขการจัดสรรอัตราผอ.ให้นร.ที่ต่ำกว่า 120 คนและมติอื่นๆ ที่สำคัญ   (8 เมษายน 2563) นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 3/2563 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีการเห็นชอบและพิจารณามติต่างๆ ที่สำคัญด้วยกัน 8 มติดังนี้…

เช็คสุขภาพปอดของตนเอง ด้วยแอปพลิเคชัน LUNG CARE

 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาแอปพลิเคชันวัดคุณภาพของปอด “Lung Care” สามารถวัดประสิทธิภาพการทำงานของปอดด้วยการเป่าลมผ่านสมอลล์ทอล์คหรือช่องไมโครโฟนของโทรศัพท์สมาร์ทโฟน สามารถใช้ได้กับคนปกติหรือผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับปอด เพื่อเป็นการประเมินเบื้องต้นถึงการทำงานของปอด และตรวจติดตามปอดว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร รศ.ดร.ภัทรสินี ภัทรโกศล ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งคิดค้นแอปพลิเคชัน “Lung Care” เปิดเผยถึงแอปพลิเคชันดังกล่าวว่า ลักษณะการทำงานเป็นการนำเข้าคลื่นเสียงและแปลงคลื่นเสียงให้เป็นค่าของปอด โดยนำไปเทียบกับค่ามาตรฐานทางการแพทย์ที่ได้จาก รศ.นพ.กมล แก้วกิติณรงค์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ “ที่มาของแอปพลิเคชันนี้มาจากตัวเองเป็นโรคหอบหืด ทุกครั้งที่ไปพบแพทย์จะต้องมีการเป่าเครื่องตรวจสมรรถภาพปอด (Peak Flow Meter) แต่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่…

คอร์สเรียนออนไลน์ฟรี! สำหรับครู นักการศึกษา ผู้ปกครอง ที่สนใจในเรื่องการการจัดการศึกษาแนวใหม่ การพัฒนาการเด็ก นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

คอร์สเรียนออนไลน์ฟรี ๆ สำหรับครู นักการศึกษา ผู้ปกครอง ที่สนใจในเรื่องการการจัดการศึกษาแนวใหม่ การพัฒนาการเด็ก นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีมากถึง100คอร์ส และยังได้รับใบประกาศนียบัตรทันทีทุกคอร์สที่เรียนจบ‼️ เพียงแค่ลงทะเบียนผ่านลิ้งค์นี้ https://www.starfishlabz.com/register (กรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วอย่าลืมตรวจสอบข้อมูลและยืนยันในEmailอีกครั้ง)

ผู้เชี่ยวชาญศึกษานิวซีแลนด์ แนะผู้บริหารการศึกษายุคดิจิทัล ต้องเรียนรู้ไม่สิ้นสุด คิดเชิงกลยุทธ์ ก้าวทันโลกอนาคต

ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ผู้ที่สามารถปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโลกอนาคตได้เร็วเท่าไร ย่อมมีความได้เปรียบมากเท่านั้น การมีพื้นฐานการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาที่ดี ถือเป็นกุญแจสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กและบุคคลากรของประเทศในยุคดิจิทัล หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ หรือ Education New Zealand ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลนิวซีแลนด์ในการจัดทำโครงการความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างประเทศไทยและนิวซีแลนด์ได้มีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนมุมมองกับ ดร.ฮาเวิร์ด ยังส์ ผู้อำนวยการสายงานพัฒนานานาชาติ คณะคุรุศาสตร์ หลักสูตรการเป็นผู้นำสถานศึกษาจาก Auckland University of Technology (AUT) จากประเทศนิวซีแลนด์ เรื่องแนวคิดการในการนำทิศทางและบริหารสถานศึกษาเพื่อให้นักเรียนก้าวทันการเปลี่ยนแปลงพร้อมสู่การใช้ชีวิตในยุคดิจิตอลนี้ ดร. ยังส์ กล่าวว่า ผู้นำด้านการศึกษา ผู้บริหารสถาบันการศึกษา ถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาการศึกษา การคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ เพื่อให้ก้าวทันโลกเทคโนโลยี…

ศรีปทุม” พร้อมมาก! พัฒนาศักยภาพอาจารย์ จัดโครงการอบรม รูปแบบ Online “การวัดและประเมินผลในการเรียนการสอนออนไลน์”

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน (TLC) มหาวิทยาลัยศรีปทุม  จัดโครงการอบรมออนไลน์ ผ่านระบบโปรแกรม ZOOM Cloud Meeting เรื่อง “การวัดและประเมินผลในการเรียนการสอนออนไลน์” โดยมี ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมฯ และได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์ ศูนย์วิชาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนการสอนในสภาวการณ์ปัจจุบัน เมื่อเร็วๆนี้ #SPU ยืนหนึ่ง เรื่องเรียน Online มหาวิทยาลัยศรีปทุม : สมัครและลงทะเบียนในเว็บก็ได้ง่ายๆ ไม่ต้องออกจากบ้าน! คลิก : www.spu.ac.th/apply/quota63 #SPUยืนหนึ่งเรื่องเรียนOnline #Dek63 #SPU…

วิศวฯอุตสาหการ มจธ. แนะทองแดงมีสมบัติทำลายเชื้อโรคได้โดยธรรมชาติ

อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) แนะทองแดงสามารถทำลายเชื้อโรคได้โดยธรรมชาติหวังช่วยลดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-ไนน์ทีน (Covid-19) หากนำมาประยุกต์ติดกับปุ่มลิฟต์โดยสาร เตรียมนำร่องที่ลิฟต์โดยสารภายในมจธ. และพร้อมให้คำแนะนำสำหรับหน่วยงานและผู้สนใจ ดร.ก้องเกียรติ ปุภรัตนพงษ์ หัวหน้าหน่วยวิจัยการผลิตโลหะขั้นสูง (RCAMP) และอาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมหล่อโลหะและโลหการ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า ในอดีตมีการนำทองแดงมาทำแก้วน้ำ ภาชนะใส่อาหาร ทำให้อาหารหรือน้ำนั้นไม่เสียง่าย โดยคนสมัยโบราณไม่ทราบว่าเกิดจากเหตุใด แต่ก็ใช้สืบทอดกันเรื่อยมา จนกระทั่งมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในต่างประเทศเมื่อปี 1973 นักวิจัยพบว่าทองแดงสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ซึ่งเป็นการค้นพบเชิงวิชาการครั้งแรกๆในโลก แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้ทองแดงทำภาชนะเพราะใช้ไปนานๆ จะเกิดสนิมสีเขียวทำให้ไม่สวย จึงหันไปใช้วัสดุอื่นมากกว่า เช่น…