เงินเดือนครูแต่ละประเทศอยู่ที่เท่าไหร่บ้าง? เผย 10 อันดับประเทศที่มี “เงินเดือนครู” สูงที่สุดในโลก

  อาชีพครูถือเป็นอาชีพที่สำคัญมากอีกอาชีพหนึ่ง เพราะเป็นอาชีพที่สร้างบุคลากรในสายอาชีพต่างๆ ในกับประเทศชาติ แต่ก็อย่างที่เราทราบกันดีว่าเงินเดือนของครูในประเทศนั้นไม่ได้สูงเมื่อเทียบกับเงินเดือนของครูในประเทศอื่นๆ ซึ่งปัจจัยสำหรับเรทเงินเดือนของครูในต่างประเทศนั้นก็จะขึ้นอยู่กับฐานเศรษฐกิจ ประสบการณ์ของครู ประเภทของโรงเรียนระหว่างเอกชนกับรัฐบาล รวมไปถึงระดับชั้นที่สอนระหว่างมัธยมศึกษากับประถมศึกษาก็จะมีเรทเงินเดือนที่ต่างกัน โดยครูมัธยมส่วนใหญ่ก็จะมีเงินเดือนที่สูงกว่าครูระดับประถม วันนี้เราจึงนำ 10 อันดับประเทศที่เงินเดือนของครูต่อปีที่สูงที่สุดในโลก มาฝากกันค่ะ    10. AUSTRIA เงินเดือนเฉลี่ยของครูที่ประเทศออสเตรียจะอยู่ที่ประมาณ 50,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 1,515,000 บาท โดยทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการทำงานของครูแต่ละท่านด้วย       9. DENMARK เงินเดือนเฉลี่ยของครูในประเทศเดนมาร์กจะอยู่ที่ประมาณ 52,500 ดอลลาร์…

3 ว. ช่วยครูวิเคราะห์ก่อนลงโทษนักเรียน

    หลายคนคงเคยได้ยินสำนวน “ไม้เรียวเรียวสร้างคน” สุภาษิตสำนวนที่ถูกกล่าวถึงในการสอนลูกหลาน และลูกศิษย์ และให้ได้ดีและประสบความสำเร็จด้วยการตี เมื่อครั้งที่การลงโทษนักเรียนยังไม่มีมาตรการที่เข้ามาควบคุมอย่างชัดเจนและเคร่งครัดแบบนี้ ถ้าพูดถึงการลงโทษนักเรียนด้วยการไม้เรียว การตี หรือการทำโทษทางร่างกายด้วยวิธีต่างๆ อย่างการทำขนมจีบ หรือวิธีอื่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ปกติ แต่ด้วยวันเวลาที่เปลี่ยนไป สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและความก้าวหน้าต่างๆ รวมถึงข่าวมากมายที่ออกมาถึงการกระทำที่เกินกว่าเหตุในการลงโทษนักเรียนของครู การลงโทษด้วยการตีและการทำร้ายร่างกาย จึงมีกฎที่เข้ามาควบคุมเรื่องนี้อย่างเคร่งครัด โดยถูกบรรจุอยู่ใน “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548”   ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการศึกษาวิจัยถึงการลงโทษเด็กด้วยกันหลายงานวิจัยว่าการลงโทษเด็กด้วยการตี หรือความรุนแรงจะเป็นการสร้างปมและประสบการณ์ที่ไม่ดีติดตัวไปให้แก่นักเรียนอีกด้วย   ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างก็คงทำให้ครูหลายท่านต้องตระหนักถึงการลงโทษเด็กกันมาขึ้น  ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ…

กว่าจะเป็นครู

กว่าจะเป็นครู           เส้นทางในการเดินทางเพื่อเป็นครูนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะการที่เราจะถ่ายทอดความรู้และปั้นเด็กคนนึงให้มีคุณภาพได้นั้น ต้องอาศัยความรู้ที่เรามีและประสบการณ์ที่เราพบเจอมาตลอดการศึกษาไปคัดกรองและวางแผนอย่างดีถึงจะได้มอบสิ่งนั้นให้กับเด็กๆได้ หากมีความแน่วแน่ในการที่จะเป็นครูแล้วนั้น ต้องเริ่มต้นจากการเลือกเข้าคณะที่เกี่ยวกับครูโดยตรง เช่น คณะศึกษาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ และครุศาสตร์อุตสาหกรรม หรือสาขาย่อยในคณะอื่นๆ ที่มีชื่อย่อวงเล็บว่า กศ.บ. เช่น คณะมนุษย์ศาสตร์ สาขาภาษาไทย (กศ.บ) นอกจากต้องเตรียมความพร้อมในการสอบ O-NET GAT แล้ว ยังต้องเตรียมความพร้อมในการสอบ PAT5 ซึ่งเป็นวิชาวัดความถนัดทางวิชาชีพครูอีกด้วย เมื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว นอกจากเรียนวิชาบังคับ วิชาเลือก และทำกิจกรรมต่างๆในมหาวิทยาลัยแล้ว ยังต้องมีการฝึกสอน 1 ปีด้วย…

คุณเคยสงสัยไหมว่าประเทศไทยมีระบบการศึกษาแบบใด? แล้วการศึกษาระบบปิด กับการศึกษาแบบระบบเปิด คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?

          การศึกษาแบบปิด คือ ระบบการศึกษาที่สร้างขึ้นมาโดยใช้ “เกรดและคะแนน” เป็นตัวแทนของการประสบความสำเร็จ ในชีวิตจริงถึงแม้ผู้เรียนจะมีความสามารถในการใช้ชีวิตทำมาหากินมากแค่ไหน แต่ถ้าได้คะแนนไม่ดี คนนั้นกลับมองว่าใช้ไม่ได้ ในขณะที่คนที่เรียนเก่งมากๆ ถูกฝึกให้เลือกแต่คำตอบที่ถูกต้องตลอดเวลา เมื่อจบออกไปแล้ว ส่วนใหญ่กลับกลายเป็นแค่ลูกจ้างที่รอตัวเลือกจากหัวหน้า เพราะขาดทักษะในการคิดและสร้างสรรค์ ซึ่งระบบการศึกษาไทย เป็นระบบการศึกษาแบบปิด ผลงานวิจัยระบุว่า ข้อสอบและเกรดที่นักเรียนได้นั้น ใช้ทำนายความสามารถหลังเรียนจบได้เพียงแค่ 10% เท่านั้น คำถามคือ อีก 90% มาจากไหน? ซึ่งคำตอบก็คือ มาจากสังคม และคนรอบตัวเรานั่นเอง แต่ถ้าพูดถึงเรื่องของการศึกษา…

ต่างชาติทึ่ง! นักวิจัย มทร.ธัญบุรีกวาด 10 รางวัลใหญ่ งานวิจัยสิ่งประดิษฐ์เวที SIIF ที่ประเทศเกาหลี

  ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากสารสกัดจากโปรตีนถั่วหรั่งไฮโดรไลเสท , ผลงานพอลิเมอร์ไมโครแคปซูลประสิทธิภาพสูงสำหรับการนำเอนไซน์กลับมาใช้ใหม่ และผลงาน “การย้อมสีธรรมชาติจากฟางข้าวและการพัฒนาลวดลายผ้าขาวม้าเพื่อการแปรรูป ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP” รับเหรียญทองและรางวัลพิเศษ อธิการบดีปลื้มพร้อมต่อยอดงานวิจัยเชิงอุตสาหกรรม นายวิรัช โหตระไวศยะ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า คณะอาจารย์นักวิจัย นักประดิษฐ์ และนักศึกษาจาก มทร.ธัญบุรี ได้เข้าร่วมประกวดและแสดงนิทรรศการในงาน Seoul International Invention Fair 2019 (SIIF 2019) ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ผลปรากฏว่า ผลงานของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยจาก…

คุรุสภาประกาศผลการคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา “คุรุสดุดี” ประจำปี 2562

ดร.วัฒนาพร  ระงับทุกข์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า ตามที่ คุรุสภาได้ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อประกาศเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน ให้มีเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพจนเป็นแบบอย่างที่ดี มีความเสียสละและอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่วิชาชีพตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติงาน ให้มีขวัญและกำลังใจที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เกิดประโยชน์แก่ศิษย์ยิ่งๆ ขึ้นไป ให้ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปี 2562 บัดนี้ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีมติอนุมัติรายชื่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเพื่อรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ   “คุรุสดุดี” ประจำปี 2562 จำนวน 1,047 คน เรียบร้อยแล้ว และเข้ารับรางวัลในช่วงสัปดาห์วันครู ระหว่างวันที่  16 – 17 มกราคม…

ย้อนรำลึกถึง พระราชดำรัสหน้าที่ “ครู” และ “3 หัวใจการศึกษา” ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงฝากไว้

    เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทางเว็บไซต์ eduzones จึงขอพาทุกท่านย้อนรำลึกถึงกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับหน้าที่ของครู และพระราชดำรัสด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานให้ไว้เป็นแนวทางแก่ผู้ศึกษาเล่าเรียนและผู้ให้การศึกษาเล่าเรียนมาฝากกันค่ะ   หากย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2558 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ได้มีกระแสพระราชดำรัสถึงหน้าที่ของผู้เป็น “ครู” ด้วยทรงตระหนักอย่างถ่องแท้ว่า “ครูดี” คือผู้ที่สร้าง “คนดี” สู่สังคมไทย หนึ่ง…ให้ครูรักเด็ก และเด็กรักครู สอง…ให้ครูสอนเด็กให้มีน้ำใจต่อเพื่อน ไม่ให้แข่งขันกัน แค่ให้แข่งขันกับตัวเอง ให้เด็กที่เรียนเก่งกว่าช่วยสอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า และ สาม…ให้ครูจัดกิจกรรมให้เด็กทำร่วมกัน…

ร่วมยินดี! คณบดีคณะวิศวฯ ม.ศรีปทุม คว้ารางวัลบุคคลต้นแบบตัวอย่างแห่งปี ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ๒๕๖๒ โครงการเทิดพระเกียรติองค์ราชัน ร.๙

คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม คว้ารางวัลบุคคลต้นแบบตัวอย่างแห่งปี ด้านผู้บริหารสถานศึกษา โครงการเทิดพระเกียรติองค์ราชัน “ร้อยดวงใจถวายพ่อของแผ่นดิน ตามรอยพระยุคลบาท” ครั้งที่ ๘ ประจำปี ๒๕๖๒ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในโอกาสเข้ารับรางวัลเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ “บุคคลต้นแบบตัวอย่างแห่งปี ด้านผู้บริหารสถานศึกษา” จาก นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ในรัชกาลที่ ๙ ประธานพิธี ในงานประกาศเชิดชูเกียรติ “พ่อ” “ร้อยดวงใจถวายพ่อของแผ่นดินตามรอยพระยุคคลบาท” ครั้งที่…

ม.รังสิต ชวนครูสร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาศักยภาพ ยกระดับคุณภาพครู-การศึกษา สู่ความยั่งยืน

จากความร่วมมือ 1 มหาวิทยาลัย 3 โรงเรียน ร่วมด้วย ช่วยกัน พัฒนาคนงาน เพื่อชุมชน จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งได้มีการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง กับโรงเรียนวัดนาวง โรงเรียนวัดรังสิต และโรงเรียนสุลักขณะ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านงานบริการวิชาการสู่ชุมชน พัฒนาการศึกษาเน้นพื้นฐานการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยมีผู้ใหญ่ร่วมลงนาม ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต ว่าที่ร้อยตรีจิรัตน์ อยู่ยืน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนาวง นายชาญ กองนาค ผู้อำนวยการโรงเรียนสุลักขณะ และนางเสาวนีย์ ดาบทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดรังสิต พร้อมผู้บริหารทางโรงเรียน และมหาวิทยาลัยรังสิต…

รู้จักการตั้งคำถามแบบ R-C-A ตัวช่วยพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน

    R-C-A คืออะไร? R-C-A เป็นเหมือนกลยุทธ์ในการเรียนรู้ที่จะช่วยให้นักเรียนสร้างกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ ผ่านการตั้งคำถามและสนทนากับผู้อื่นโดยผู้สอนสอดแทรกหลักคำถามแบบ R-C-A นี้ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันในแต่ละครั้ง หลัก R-C-A นี้จะฝึกให้ผู้เรียนแสดงความรู้สึกนึกคิดและการประยุกต์ความคิดอย่างมีประสิทธิภาพหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละครั้ง ด้วยประเด็นคำถามสะท้อน เชื่อมโยง และปรับใช้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้บทเรียนสำคัญ ที่จะพัฒนาและเสริมสร้างทักษะชีวิต ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคมปัจจุบัน และอนาคตในศตวรรษที่ 21   โดยทักษะชีวิตที่กล่าวถึงนี้ได้ถูกบรรจุลงในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในหัวข้อที่ 5 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ที่หมายถึง “ความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง…