143 ผู้มีชื่อเสียง รับรางวัล “เสาอโศกผู้นำศีลธรรม” ประจำปี 2567 ยกเป็นต้นแบบทางพระพุทธศาสนา

บุคคลสำคัญ ทั้งไทยและต่างประเทศ กว่า 140 รายชื่อ เข้ารับรางวัล “เสาอโศกผู้นำศีลธรรม” ประจำปี 2567 ประกอบด้วยฝ่ายบรรพชิต 40 รูป และฝ่ายคฤหัสถ์ 102 คน ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา พร้อมประกาศเกียรติคุณให้ยึดถือเป็นแบบอย่างที่ดี โดยมี พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นผู้มอบรางวัล ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ.พระนครศรีอยุธยา พล.อ.ธงชัย เกื้อสกุล นายกสมาคมผู้นำคุณประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย…

ศึกษาศาสตร์ ม.ศิลปากร จับมือ เทศบาลตำบลท่าขนุน ริเริ่ม “ท่าขนุน โมเดล” พัฒนาวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย ศาสตราจารย์ ดร.คณิต เขียววิชัย คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร หัวหน้าภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต และเลขานุการคณะศึกษาศาสตร์ ฝ่ายหนึ่ง กับ ดร.จิตรกร ว่องประเสริฐ นายกเทศมนตรีตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมคณะ ร่วมลงนามความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ MOU โดยมีกรอบความร่วมมือในด้านการพัฒนาทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ของเทศบาลตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งการพัฒนา…

“สถาบันพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวพัฒน์” และองค์กรภาคีเครือข่าย เตรียมจัดประชุมวิชาการระดับประเทศ “ก้าวสู่โลกยุคใหม่ด้วยหัวใจซื่อสัตย์” เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียนความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาคุณธรรมความซื่อสัตย์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนจาก 500 โรงเรียนเครือข่ายทั่วประเทศ หวังขยายผลต่อเนื่อง

ดังที่ทราบกันว่า ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยนับวันทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้น  ลำพังมาตรการทางกฎหมายหรือการเฝ้าระวังจากภาคประชาชนนั้น ยังไม่พอ จึงเป็นเหตุผลให้สถาบันพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมเข้ามามีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศของงานสร้างเสริมธรรมาภิบาลที่เน้นแนวทางป้องกัน  ด้วยการส่งเสริมและปลูกฝังแนวคิดความซื่อสัตย์สุจริตให้แก่เยาวชน  โดยใช้กระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม “4+6 โมเดล” ผ่าน โครงงานคุณธรรมด้านต่างๆ นายพะโยม ชิณวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวพัฒน์ กล่าวว่า จากผลการดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน สถาบันฯมีเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรม 492 แห่งทั่วประเทศ มีนักเรียนได้รับประโยชน์จากโครงการฯมากกว่า 3 แสนคน มีผู้นิเทศหรือ “นิเทศอาสา” คอยติดตามการดำเนินโครงงานของโรงเรียน 53 คน และ เพื่อให้เกิดการขยายผลโรงเรียนในเครือข่ายมากขึ้น อันจะนำไปสู่การบ่มเพาะปลูกฝังคุณธรรมความซื่อสัตย์ในกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ผู้เป็นอนาคตของสังคม สถาบันและองค์กรภาคีจึงเห็นพ้องต้องกันที่จะจัดงานประชุมวิชาการ “ก้าวสู่โลกยุคใหม่ด้วยหัวใจซื่อสัตย์”  (Shaping the Modern Landscape with Moral and…

OKMD เตรียมเปิดศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่ บนถนนราชดำเนิน ภายในปี 2570

ราชดำเนิน ถนนแห่งประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม กำลังจะมีศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่เกิดขึ้น บนเกาะรัตนโกสินทร์ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เห็นชอบในหลักการให้ หรือ OKMD National Knowledge Center ตามที่สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD เป็นผู้นำเสนอ ด้วยหวังให้เป็น “ต้นแบบแหล่งเรียนรู้สาธารณะ” ที่บริการความรู้หลากหลาย ครบวงจร ทันสมัย และขนาดใหญ่แห่งใหม่ของประเทศ บนพื้นที่รวมกว่า 20,000 ตารางเมตร รองรับการให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านคนต่อปี รวมถึงเข้าใช้บริการการเรียนรู้ออนไลน์ไม่น้อยกว่า 100 ล้านคน/ครั้ง ต่อปี โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2570 นั่นหมายความว่า บนพื้นที่เปล่าอันกว้างใหญ่ ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของสำนักงานกองสลากและตึกกรมประชาสัมพันธ์เดิม กำลังจะถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่ของคนไทยในอีก 3 ปีข้างหน้า ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ เปิดเผยว่า จากความมุ่งมั่นของ OKMD ที่จะดำเนินการพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบย่านการเรียนรู้สร้างสรรค์…

ม.เกริก จัดงานเปิด “หลักสูตรนักพัฒนาธุรกิจการค้าไทย – จีน รุ่นที่ 3” เสริมกลยุทธ์ทำธุรกิจกับจีนอย่างมืออาชีพ

มหาวิทยาลัยเกริก ร่วมกับสมาคมเครือข่ายที่ปรึกษาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  จัดพิธีเปิดการอบรมหลักสูตร นพธ.รุ่นที่ 3 และการบรรยายพิเศษจากวิทยากรชั้นนำ ณ ห้องประชุมขงจื้อ อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยเกริก เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ภายในงานได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.นพ. กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกริก เป็นประธานในการเปิดการอบรมหลักสูตร นพธ.รุ่นที่ 3 ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานและสื่อมวลชน กล่าวเปิดงาน รวมถึงร่วมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “เมื่อโลกเปลี่ยน การค้าไทย-จีนเปลี่ยน” กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจจีนในปัจจุบันที่ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัว เพื่อรับมือและหมั่นเพิ่มเติมความรู้อยู่เสมอ พร้อมด้วย ดร.ณัฐพงศ์ นำศิริกุล หรือ ครูพี่ป๊อป ซึ่งเป็นวิทยากรที่มีชื่อเสียงมาก ที่มีความรู้เกี่ยวกับสาธารณรัฐประชาชนจีนที่จะนำเรื่องราวและประสบการณ์ตรงจากการทำงานร่วมกับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนในประเทศจีน มาบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “เศรษฐกิจการค้าจีน และการสานสัมพันธ์ทางธุรกิจ” ซึ่งได้แนะนำเครื่องมือในการทำธุรกิจกับจีน อาทิ แอพโต่วอิน และแอพวีแชท…

ราชมงคลพระนคร – ENZ จัดกิจกรรมเรียนรู้วัฒนธรรมไทย โชว์ศิลปวัฒนธรรมไทย สานสัมพันธ์ไทย-นิวซีแลนด์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ราชมงคลพระนคร) ร่วมกับ หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์  (Education New Zealand : ENZ) สถานทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมเรียนรู้วัฒนธรรมไทยและต้อนรับ นายเปาโล การ์เซีย (Paulo Garcia) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคณะผู้บริหารหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ สถาบันการศึกษา หน่วยงานการท่องเที่ยวนิวซีแลนด์  ผู้บริหารองค์การรัฐบาลและเอกชนจากประเทศนิวซีแลนด์ จำนวน 24 ท่าน เพื่อสานสัมพันธ์ไทย-นิวซีแลนด์  ในโอกาสนี้ ดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล อธิการบดี ราชมงคลพระนคร และผู้บริหาร ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมไทย…

เปิดตัวเครือข่ายอุดมศึกษา พัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพ

เมื่อวันที่ 9 พ.ค.2567 ที่ผ่านมา นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวง พม. เป็นประธานในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพ ผ่านโมเดลการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการ มจธ. ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยโครงการนี้เป็นการทำงานร่วมกันของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการพัฒนาหลักสูตรสร้างทักษะเพิ่มศักยภาพและส่งเสริมอาชีพให้คนพิการมีงานทำ ตั้งเป้ารับสมัครคนพิการเข้ารับการฝึกอบรม-ฝึกงานรุ่นที่ 1 กว่า 300 คน โดยงานแถลงข่าวจัดขึ้น ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 อาคาร Knowledge Exchange (KX) ถนนกรุงธนบุรี…

CU D4S และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมเวิร์กช็อปร่วมกับทีมแล็ป (teamLab) ภายใต้ธีม ‘Borderless Connection Exchanges in a Mini Papercraft Workshop with TeamLab

ศูนย์ออกแบบเพื่อสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU D4S) ร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการจัดกิจกรรมเวิร์กช็อปวันที่ 24 และ 25 พฤษภาคม 2567 ในชื่อ “Borderless Connection Exchanges in a Papercraft Workshop with TeamLab” โดย ทีมแล็ป (teamLab)  ซึ่งเป็นกลุ่มศิลปินรุ่นใหม่ที่สร้างสรรค์ผลงานระดับนานาชาติด้วยการใช้ศิลปะ เทคโนโลยี เชื่อมโยงกับโลกและธรรมชาติในการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ชม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่ก้าวข้ามขอบเขตเดิม และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้สำรวจมิติใหม่ในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตามแนวคิดของการออกแบบเพื่อสังคม ดังเป้าหมายของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีความตั้งใจในการเป็นผู้นำด้านการใช้นวัตกรรมเพื่อสังคมของประเทศ การออกแบบเพื่อสาธารณะสู่การสร้างประสบการณ์และเพิ่มมูลค่าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy) ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานผ่านศิลปะและเทคโนโลยี โดยภาพรวมของเวิร์กช็อปนี้เป็นการอบรมพิเศษให้ผู้เข้าร่วมได้รับประสบการณ์ผ่านการนำเสนอมุมมองของการออกแบบ มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือผ่านการปฏิบัติ การร่วมกันแชร์ความคิดสร้างสรรค์และประสบการณ์ ผ่านการเรียนรู้และแบ่งปันแนวคิดร่วมกัน ในเวิร์กช็อปแบบลงมือปฏิบัติจริง พร้อมทั้งนำความคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับหลักการในงานศิลปะที่สมจริงเข้ามาประกอบความคิดสร้างสรรค์และใช้ทักษะของการทำงานเป็นทีม โดยวิทยากรรับเชิญพิเศษ คุณทาเคชิ ยามาดะ (Takeshi Yamada) จากทีมแล็ป (teamLab) ผู้สร้างสรรค์นิทรรศการศิลปะดิจิทัลที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก…

ศธ. เปิดลงทะเบียนล้างแอร์ “อาชีวะคลายร้อนทั่วไทย ร่วมใจล้างแอร์ ฟรี!” พร้อมแนะนำวิธีการดูแลแอร์ ลดภาระในครัวเรือนให้ประชาชน

ศธ. เปิดลงทะเบียนล้างแอร์ “อาชีวะคลายร้อนทั่วไทย ร่วมใจล้างแอร์ ฟรี!” พร้อมแนะนำวิธีการดูแลแอร์ ลดภาระในครัวเรือนให้ประชาชน เชิญชวนประชาชนลงทะเบียนใช้บริการล้างแอร์ ในกิจกรรมอาชีวะคลายร้อนทั่วไทย ร่วมใจล้างแอร์ ฟรี! ได้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป ทาง www.vec.go.th , Facebook : ประชาสัมพันธ์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ QR Code ฝากกดไลค์ กดแชร์และกดติดตาม : ทางช่อง youtube อาชีวะShow&Share ด้วยนะครับ…

ก.กก บึงกาฬ ห้องเรียนข้ามขอบของคนบึงกาฬ

เป็นเวลากว่า 5 ปี ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อบ้านโพธ์ทอง ตำบลโนนสมบูรณ์ จังหวัดบึงกาฬ หรือ กลุ่ม ก.กก บึงกาฬ สามารถยืนหยัดได้ด้วยลำแข้งของคนในชุมชน และพร้อมเป็น Change Agent สร้างคน สร้างงาน ให้คนในชุมชนและขยายไปสู่วงกว้าง ซึ่งเบื้องหลังความสำเร็จนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีแกนนำหลักอย่าง นางรัศมี อืดผา ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ที่ลุกขึ้นมาชวนคนในชุมชนเปลี่ยนแปลงความคิด มองเห็นคุณค่าทรัพยากรดี ๆ ในชุมชนอย่าง “กกและผือ” มาต่อยอดจนเกิดเป็นคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม ที่สามารถสร้างทั้งรายได้ สานทั้งใจ ทั้งความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว และคนในชุมชนไว้ด้วยกัน โดยมีกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ช่วยหนุนเสริมวิธีคิดและเครื่องมือการทำงาน วันนี้ กลุ่ม ก.กก บึงกาฬ ได้เดินทางมาถึงการเป็น “ชุมชนตัวแบบ” ที่สามารถออกแบบการเรียนรู้ได้อย่างยืดหยุ่น ตอบโจทย์ชีวิต และตรงใจคนในชุมชนเท่านั้น พวกเขายังร่วมกันสร้างคนให้กลายเป็นทั้งปราชญ์ แกนนำชุมชน และที่สำคัญคือ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้กระบวนการผลิตกกและผือตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการปลูก การย้อม การสาน และการแปรรูป ให้กับคนในและนอกชุมชนทุกช่วงวัย รวมถึงเกิดการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ก.กก บึงกาฬ ขึ้นในตำบลโนนสมบูรณ์ โดยเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา กลุ่ม ก.กก บึงกาฬ ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จัดเวที “สานพลังพื้นที่…ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สู่ความเสมอภาคทางการศึกษา” เพื่อให้ภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานระหว่างกัน ทั้งนี้ภายในงานได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการบริหาร และประธานอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงานนอกระบบ กสศ. และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในและนอกพื้นที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เห็น “โมเดลต้นแบบ” การทำงานกับคนทุกกลุ่มและทุกช่วงวัย โดยนัยยะสำคัญของเวทีนี้คือ “การพัฒนาคนแม้เพียง 1 คน หากเขาได้รับการพัฒนาที่ดีเขาจะกลายเป็นตัวคูณสำคัญให้พื้นที่สามารถขับเคลื่อนงานต่อไปได้ด้วยตนเอง” เฉกเช่นกับกลุ่ม ก.กก บึงกาฬ ที่แม้วันนี้จะไม่รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กสศ. แล้ว แต่รากฐานที่ กสศ. และคณะทำงานในพื้นที่ได้ร่วมกันสร้างอย่าง “รุกถึงที่ ลุยถึงถิ่น” ไว้ตั้งแต่ต้นน้ำ ได้ก่อให้เกิดความงอกงามที่ปลายน้ำ ด้วยการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนนั่นเอง และเนื่องจากต้องการส่งต่อโอกาสให้กับผู้อื่น  นางรัศมีจึงได้มองหาโอกาสในการสร้างคนและพัฒนาชุมชนอยู่ตลอดเวลา เมื่อมูลนิธิเอสซีจี และ กสศ. ร่วมมือกันจัดทำโครงการพัฒนาตัวแบบกองทุนเพื่อพัฒนาอาชีพที่เชื่อมโยงกับโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนและแรงงานนอกระบบ จึงสนใจเข้าร่วมเพราะต้องการขยายผลแนวคิดการทำงานจากฐานทุนความรู้ของชุมชนไปสู่กลุ่มอาชีพอื่น ๆ เพื่อให้คนในชุมชนมีโอกาส มีทางเลือกในการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น และผลจากการเข้าร่วมโครงการทำให้วันนี้ กลุ่ม ก.กก บึงกาฬ มีการจัดตั้งกองทุน “ก.กกบึงกาฬ สานสัมพันธ์ชุมชน” ขึ้นเป็นผลสำเร็จ นางรัศมี กล่าวว่า เป้าหมายของการจัดตั้งกองทุน “ก.กกบึงกาฬ สานสัมพันธ์ชุมชน” ของที่นี่จะแตกต่างจากกองทุนอื่น ๆ โดยเธอได้ชวนทั้งตำบลมาถอดบทเรียนการทำงานกองทุนร่วมกัน เพื่อหาจุดเด่นและข้อควรแก้ไขมาพัฒนาให้กองทุนนี้มีความแตกต่างโดยเน้นไปที่การสร้างเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการประกอบอาชีพทั้งแบบกลุ่มและแบบเดี่ยวที่ผู้ด้อยโอกาสในชุมชนสนใจโดยใช้ต้นแบบของ ก.กก บึงกาฬ เป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และที่สำคัญต้องเกิดการส่งต่อและสืบทอดภูมิปัญญา โดยระหว่างการกู้ยืมทุนไปประกอบอาชีพก็จะมีทีมงานคอยช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้กู้ให้อยู่เสมอเพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ตามที่นายประเวช เหล่าประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดบึงกาฬ กล่าวไว้ คือการทำให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีคุณภาพชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สมบูรณ์ทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณ และมีคุณธรรม เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ และจากสโลแกนของจังหวัดบึงกาฬ “สร้างคน สร้างเมือง สร้างรายได้” จึงต้องทำให้ประชาชนสามารถเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่กับท้องถิ่นให้ได้ มีรายได้ มีอาชีพ มีงานทำ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ต้องทิ้งถิ่นฐาน เรียนแล้วไม่ต้องทิ้งบ้าน ทิ้งลูก ทิ้งหลานไปทำงานที่อื่น เนื่องจากการเรียนในปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์ในวิถีชีวิตของคนในชุมชน แต่วันนี้ได้กลับคืนมาย้อนมองในส่วนของการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน…