สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานโล่เกียรติยศ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และดุษฎี คปก. ดีเด่น

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานโล่เกียรติยศ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น และเมธีวิจัยอาวุโส สกว. และดุษฎีบัณฑิตโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ดีเด่น เพื่อเป็นเกียรติ แก่นักวิจัยไทยผู้สร้างผลงานที่มีคุณูปการต่อการประเทศอย่างเป็นที่ประจักษ์ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จลง ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระราชทานพระราชวโรกาสให้ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์…

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนนอกระบบ พ.ศ. 2562

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนนอกระบบ พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา โดยสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ เกิดจากการที่กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกประกาศเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนนอกระบบทุกประเภทและลักษณะ ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ ข้อ 4 มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนนอกระบบ ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐาน 3 ด้าน 8…

รู้จัก SAR และ ID Plan สำหรับครู…พร้อมดาวน์โหลดแบบฟอร์ม SAR และ ID Plan 2562

สิ่งหนึ่งที่ครูทุกท่านและสถาบันการศึกษาคุ้นชินกันก็คือการรายงานการประเมินตนเอง และแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล หรือที่เรียกกันว่า SAR และ IP Plan ซึ่งทั้งสองส่วนนี้มีส่วนสำคัญในการรักษามาตรฐานและพัฒนาทั้งสถาบันการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษานั่นเอง     รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) สำหรับรายการการประเมินตนเอง เป็นรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน หมายถึง รายงานการประเมินตนเองที่สถาบันอุดมศึกษาเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา   โดยรูปแบบของรายงานประกอบด้วย 1) คำนำ สารบัญ สารบัญเรื่อง สารบัญตารางหรือสารบัญภาพ (ถ้ามี) 2) ข้อมูลเบื้องต้นของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย…

ศธ.ปรับมาตรฐานสมรรถนะทุกตำแหน่ง

เมื่อวันที่ 11 ก.พ.นายวราวิช กำภู ณ อยุธยา ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการหารือเรื่องการบริหารจัดการงานบุคคลของ ศธ.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา โดยได้มอบหมายให้ทั้ง 3 หน่วยงานไปดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ ศธ. ตั้งแต่ ครู ศึกษานิเทศก์ ဖผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งถึงแม้จะมีสมรรถนะวิชาชีพของแต่ละตำแหน่งอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีมาตรฐานทักษะเชิงลึกที่เหมาะสม เช่น…

ครูการศึกษาพิเศษคือใคร? ทำไมโรงเรียนถึงควรมีครูการศึกษาพิเศษ?

ในโรงเรียนแต่ละโรงเรียนนั้นมีเด็กจำนวนตั้งแต่หลักสิบ ไปถึงหลักร้อย หลักพัน แน่นอนว่าในจำนวนเด็กหลักร้อยหลักพันนั้นย่อมมีเด็กที่แตกต่างกันมารวมอยู่ด้วยกัน และเด็กแต่ละคนย่อมมีความต้องการในด้านต่างๆ แตกต่างกัน ทั้งการศึกษา การดูแลจากครูและสถาบัน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กพิเศษหรือเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ที่เข้ามาศึกษาร่วม ที่เด็กพิเศษจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากครูที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็กพิเศษ หรือที่เราเรียกว่า “ครูการศึกษาพิเศษ”       ครูการศึกษาพิเศษคือใคร? ครูการศึกษาพิเศษ Special Educational Needs (SEN) คือครูเฉพาะทางการศึกษาพิเศษและได้รับใบประกอบวิชาชีพครู โดยทำหน้าที่จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ เนื่องจากมีความต้องการการศึกษาในรูปแบบพิเศษ หรือภาวะความบกพร่องบางประการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ พฤติกรรม ทำให้มีผลกระทบในการเรียนแบบปกติ ทำให้จำเป็นต้องมีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลซึ่งเป็นหน้าที่ของครูการศึกษาพิเศษในการดำเนินงานดังกล่าว     หน้าที่ของครูการศึกษาพิเศษ…

หัวหน้าหน่วยDIRU คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ “สื่อ ประชาชน เทคโนโลยี” คือ3พลังเพื่อสร้างสังคมรู้เท่าทันจากเหตุกราดยิงที่โคราช

สื่อ ประชาชน เทคโนโลยี กับสังคมแห่งความรอบรู้ทางดิจิทัลและรู้เท่าทัน ในเหตุการณ์กราดยิงที่โคราช รศ.ดร. พนม คลี่ฉายา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้ทันสื่อ (DIRU) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอหลักคิดเกี่ยวกับการ ทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ประชาชน และบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัล จากเหตุการณ์การกราดยิงที่โคราช ซึ่งเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบ 3 ส่วนที่ต้องมีและต้องแสดงบทบาทสำคัญเพื่อสร้างสังคมแห่งความรอบรู้ทางดิจิทัลและรู้เท่าทัน ดังนี้ สื่อ ทั้งสื่อกระแสหลักและออนไลน์ ต้องทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพ ตรวจสอบข้อเท็จจริง มีจริยธรรมกำกับวิธีการและเนื้อหาการรายงานข่าวที่จะไม่ทำให้เหตุการณ์ยิ่งยุ่งยากเลวร้ายลง ไม่ทำร้ายประชาชน ระมัดระวังมิให้การรายงานข่าวส่งผลกระทบให้สังคมมีปัญหาในวันข้างหน้า และต้องเป็นที่พึ่งพิงด้านข้อมูลข่าวสารที่ให้คำแนะนำแก่ประชาชนเพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลตนเอง ประชาชน ต้องนำความรอบรู้ ทักษะ…

DIRU นิเทศ จุฬาฯ เผยผลวิจัย 15 ความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ของคนไทย

หน่วยปฏิบัติการวิจัย DIRU นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยผลวิจัย 15 ความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ของคนไทยในแต่ละช่วงวัย พบว่า ความเสี่ยง 5 อันดับแรก เนื้อหาที่มีความรุนแรง โฆษณาสินค้าที่ไม่ได้รับการรับรองความปลอดภัย เนื้อหาสุขภาพที่ไม่น่าเชื่อถือ ข่าวปลอม เนื้อหาลกมกอนาจาร โดยกลุ่มวัยทำงานช่วงต้น 23-39 ปี เป็นกลุ่มที่พบเจอความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุพบเจอความเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์น้อยที่สุด  รองศาสตราจารย์ ดร. พนม คลี่ฉายา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ หรือ DIRU รายงานผลการวิจัย เรื่อง “การเพิ่มความสามารถในความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันที่มีต่อความผูกพันและความเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชาชน” โดยกล่าวว่า “การวิจัยเริ่มต้นจากการสัมภาษณ์ประชาชน 4 ช่วงวัย ได้แก่ วัยรุ่นและเยาวชนอายุ 15-22 ปี  วัยทำงานช่วงต้นอายุ…

เพราะแผนการสอนเปรียบเหมือนแผนที่นำทาง…มาดู 6 เทคนิคพัฒนาแผนการสอนสำหรับครู

  หนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้การดำเนินการเรียนการสอนของครูได้ประสิทธิภาพนั้น ก็คือ แผนการสอนหรือแผนจัดการเรียนรู้ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนในทุกระดับชั้น แผนการสอนนั้นเปรียบเสมือนแผนที่นำทางที่ช่วยให้ครูสามารถดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนได้เหมาะสม ตรงตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ     ดังนั้นการที่จะมีแผนที่นำทางที่ดีนั้นก็ต้องเริ่มจากการวางแผนและวาดแผนที่ของคุณ(ครู) ออกมาให้ดีเสียก่อน ซึ่งลักษณะของการเขียนแผนการสอนที่ดีควรมีดังนี้ คือ   มีความละเอียด ชัดเจน ครบถ้วน และครอบคลุมทุกองค์ประกอบของการออกแบบแผนการสอน โดยสามารถตอบคำถามได้ว่าสอนอะไร มีจุดประสงค์อย่างไร โดยวิธีไหน และจะวัดผลแบบใด   แผนการสอนควรเกิดจากการคิดและสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยตัวครูผู้สอนเอง นอกจากนี้ยังต้องเป็นแผนการสอยนที่คำนึงความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญควบคู่กับสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ตามหลักสูตร และสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับแผนการสอน คือ จะต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง   มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องสัมพันธ์กัน ระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ…

ครูต้องเปลี่ยนวิธีสอนรับหลักสูตรใหม่

“อำนาจ”เผยคืบหน้าปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐาน ขณะที่ครูต้องปรับวิธีสอนรองรับหลักสูตรใหม่ เมื่อวันที่ 3 ก.พ. ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าการปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ 2551 ว่า ขณะนี้คณะกรรมการการปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าว ได้เปลี่ยนเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะแล้วโดยอยู่ระหว่างปรับแก้ไขให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นจะเสนอให้ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาอีกครั้ง ซึ่งหลักสูตรฐานสมรรถนะในหลักการเบื้องต้นเกือบจะมีความสมบูรณ์ครบ 100% แล้ว เหลือเพียงเก็บข้อมูลรายละเอียดในกลุ่มสาระวิชาการเรียนรู้หลักเท่านั้น โดยการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานครั้งนี้ เพราะโลกและเทคโนโลยีปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และถือเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่หลังจากไม่ได้ปรับมานานตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับหลักสูตรฐานสมรรถนะที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ปรับปรุงใหม่นี้…

“สมศ.” เปิดผลการประเมินภายนอกรอบสี่ สถานศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีเยี่ยม-ดีมาก พร้อมเดินหน้าประเมินต่อเนื่องโค้งสุดท้ายปี 63 เผยสถานศึกษายื่นขอประเมินเพิ่มอีก 2500 แห่ง

สมศ. เดินหน้าพัฒนาการประเมินผ่านระบบดิจิทัล ลดภาระเอกสาร สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เผยสถานการณ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่(2559-2563) มีสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการประเมินแล้วส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก-ดีเยี่ยม เนื่องจากแต่ละแห่งมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและผู้เรียน พร้อมนำเอานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ส่งผลให้การประเมินคุณภาพภายนอกเป็นที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม สมศ.จะเดินหน้าประเมินต่อเนื่องในปี 2563 ซึ่งขณะนี้มีสถานศึกษาขอเข้ารับการประเมินแล้วกว่า 2,500 แห่งทั่วประเทศ พร้อมติวเข้มผู้ประเมินภายนอกให้มีประสิทธิภาพและมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้จะนำเอาระบบ AQA ระยะที่ 2 มาใช้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและลดภาระด้านเอกสารรวมทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่สถานศึกษาที่ขอเข้ารับการประเมินโดยระยะที่ 2 จะนำร่องสถานศึกษาด้านการอาชีวศึกษาก่อน เป็นการรองรับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่มีการนำเอาระบบ ไอทีมาใช้ในสำหรับพัฒนาระบบการศึกษาไทย นางสาวขนิษฐา ตั้งวรสิทธิชัย รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา กล่าวว่า การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (2559-2563) สมศ.ได้ดำเนินการประเมินและลงพื้นที่ไปยังสถานศึกษาต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง…