การเรียนรู้เชิงประจักษ์ กับวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาคุณภาพการศึกษายุคใหม่

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคใหม่ ควรเน้นให้ผู้เรียนฝึกคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง แต่การที่จะไปถึงจุดนั้นได้ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ซึ่งทำได้ด้วยวิธีที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรมากมาย เพียงแค่ปรับรูปแบบให้เหมาะสม และได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังจากบุคคลากรในโรงเรียนเท่านั้น วิธีการเรียนรู้มากมายที่ได้ถูกพิสูจน์เชิงประจักษ์แล้วว่า มีประสิทธิภาพสูงและไม่มีประสิทธิภาพ คือ 1)ใช้การฝึกนึกความรู้เดิมและหลีกเลี่ยงการอ่านซ้ำ 2)ใช้การเรียนรู้แบบเว้นช่วงและหลีกเลี่ยงการเรียนแบบอัด และ 3)ใช้การเรียนรู้แบบสลับและหลีกเลี่ยงการเรียนแบบเป็นก้อน ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทางรายการ 1 ในพระราชดำริ สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 Mcot HD และมูลนิธิอานันทมหิดล เห็นว่ามีความน่าสนใจ และเป็นตัวเลือกที่จะนำมาปรับใช้ในสถานศึกษา ผศ.นพ.อธิพงศ์ พัฒนเศรษฐพงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมีความสนใจด้านการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์ จนได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้านการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศอเมริกา กล่าวว่า “ผมคิดว่าการศึกษาไทยในปัจจุบันยังไม่มีการนำเรื่องการเรียนรู้เชิงประจักษ์มาใช้อย่างเต็มที่ ซึ่งการเรียนรู้ดังกล่าวฯ เป็นการเรียนรู้ที่จะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน มีการวิจัยว่ารูปแบบการศึกษาแบบไหนที่จะทำให้ได้ผล…

สวนสุนันทา เดินหน้าพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education : OBE)

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดประชุมมอบนโยบายการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education : OBE) เพื่อรองรับการตรวจประกันคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพ AUN-QA Version 4.0 พร้อมกันทุกหลักสูตร ให้เป็นไปในทิศทางและมาตรฐานเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัย และหลักสูตรระดับปริญญาตรีต้องเป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดี เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐภัทร แก้วรัตนภัทร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา มณีวัฒนา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และ…

ม.อ. ร่วมกับ สถาบันการแพทย์แห่งมาเลเซีย พัฒนาศักยภาพและความร่วมมือทางการแพทย์ระดับนานาชาติ ผ่านกิจกรรม CORLAMM PSU ORL Cadaveric Dissection Workshop 2024

ภาควิชาศัลยศาสตร์ศีรษะและลำคอ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ วิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์ และศัลยศาสตร์ศีรษะและลำคอ สถาบันการแพทย์แห่งมาเลเซีย จัดกิจกรรม Workshop ระดับนานาชาติ CORLAMM PSU ORL Cadaveric Dissection Workshop 2024 โดยมี รศ. พญ.วิราภรณ์ อัจฉริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาโสต ศอ นาสิก คณะแพทยศาสตร์ เป็นประธาน พร้อมด้วย ผศ. พญ.นลินี โกวิทวนาวงษ์…

นิตยสาร สสวท. ออกแล้ว รับเปิดเทอมใหม่ถูกใจอ่านออนไลน์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชวนอ่านออนไลน์รับเปิดเทอมใหม่กับนิตยสาร สสวท. ฉบับล่าสุด ไขข้อข้องใจ “เฮลิคอปเตอร์หุ่นยนต์อินเจนูลิตี้บินสำรวจบนดาวอังคารได้อย่างไร” จากนั้นไปเก็บเกี่ยวความรู้เรื่องของ “วิศวกรรมกับเด็กปฐมวัย” แล้วเปิดมุมมองชวนคิด “ทำความรู้จัก HUMAN ERROR เพื่อควบคุมและต่อยอดในการพัฒนานวัตกรรม” พลาดไม่ได้กับประเด็นที่สังคมยังคงจับตา“ปลาหมอคางดำเอเลียนสปีชีส์สอนผู้เรียนให้เข้าใจภัยคุกคามจากธรรมชาติ” ร่วมกันพิทักษ์โลกกับ “ทางออกเพื่ออนาคตสีเขียว : การดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อคนรุ่นถัดไป” แล้วเสริมพลังให้ชั้นเรียนด้วยเนื้อหา “สนุกกับการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน” และเช่นเคยแวะทักทายเพื่อนคู่ใจคุณครูคนเก่ง “เว็บช่วยสอน” พบสาระดี ๆ อ่านฟรีอีกหลากหลายที่นิตยสาร สสวท. https://emagazine.ipst.ac.th

สองทศวรรษร่วมจัดร่วมใจ จุดประกายเยาวชนไทย เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 20

หากเธอคือ “กล้าไม้”..…จำเนียรกาลผ่านไปก็เจริญวัยเป็น “ไม้ใหญ่” ที่แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงา ชวนชมดอกผลร่มรื่นชื่นใจ ใต้ร่มไม้กิ่งใบยังมีเด็ก ๆ วิ่งเล่นกันเกรียวกราว ซึ่งต่อมาต่างก็ทยอยกัน เป็นหนุ่ม เป็นสาว เติบโตพัฒนาไปตามเส้นทางสู่อนาคต สองทศวรรษเต็ม ๆ ที่เธออยู่คู่กับการศึกษาไทย ทอดตาดูเยาวชนวัยใสที่เคยตื่นตาตื่นใจกับเธอ บัดนี้พวกเขาส่วนหนึ่งได้ เติบใหญ่เป็นกำลังสำคัญที่ขับเคลื่อนอนาคตชาติในทุกภาคส่วนแล้ว ใช่เลย  “เธอ”  ผู้นั้น…“เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ หรือ Science Film Festival” เพราะเพียงลัดนิ้วมือเดียวเทศกาลนี้ก็โลดแล่นต่อเนื่องมาถึงหลักปีที่ 20 แล้วจากการผนึกความร่วมมือกันของ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และหน่วยงานหลักร่วมจัดแห่งต่าง ๆ นำภาพยนตร์วิทยาศาสตร์คุณภาพจากนานาชาติมาจัดฉายให้ชมฟรี…

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มจพ. รับสมัคร น.ศ ป.โท และ ป.เอก ภาคการศึกษาที่ 1/68

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเครือข่ายดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ภาควิชาการบริหารเครือข่ายดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยมีรายละเอียดในการเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ดังต่อไปนี้ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) 1) หลักสูตรในเวลาราชการ แผน 1 แบบวิชาการ แบบ 1 ข เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. ค่าเทอม คิดตามหน่วยกิตที่ลงทะเบียน โดยประมาณ 20,000 บาทต่อเทอม…

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 20 เริ่มแล้ว สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือข่ายพาชมฟรีหนังวิทย์ชั้นดีนานาชาติ หัวข้อ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และเศรษฐกิจหมุนเวียน”

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เวลา 14.00 น. ณ หอประชุมสถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1 กรุงเทพฯ  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และหน่วยงานหลักร่วมจัด ได้จัดพิธีเปิดงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 20 ภายใต้แนวคิด“การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และเศรษฐกิจหมุนเวียน (Net Zero and the Circular Economy) โดยมี ดร.สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย Ms. Likki-Lee Pitzen เลขานุการเอกฝ่ายวัฒนธรรมและสื่อ สถานทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการ สสวท.   พร้อมด้วยคณะผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง…

Finest Future รุกตลาดการศึกษาไทย เสริมการเข้าถึงระบบการศึกษาระดับโลกผ่านโซลูชันชั้นนำ คว้ารางวัลสุดยิ่งใหญ่จากงาน APEA 2024

Finest Future ปักธงพร้อมรุกตลาดการศึกษาไทยผ่านการผลักดันการเข้าถึงระบบการศึกษาคุณภาพชั้นนำระดับโลก พร้อมขนทัพโซลูชันที่เป็นที่ยอมรับระดับภูมิภาคมานำเสนอแก่ตลาดการศึกษาไทย ตอกย้ำแบรนด์ด้านการศึกษาชั้นนำที่เสริมโอกาสระดับโลกให้แก่นักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมหลังคว้ารางวัล Asia Pacific Enterprise Awards (APEA) 2567 สาขา ‘Inspirational Brand Award’ ที่สะท้อนความมุ่งมั่นของ Finest Future ในการส่งเสริมการศึกษาคุณภาพสูงและการขยายโอกาสระดับโลกสำหรับนักเรียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2563 โดยผู้ประกอบการชาวฟินแลนด์และเวียดนาม Finest Future ถือว่าคือหนึ่งในผู้เล่นสำคัญในภาคการศึกษาระดับภูมิภาคอย่างรวดเร็ว ด้วยหัวใจสำคัญในการช่วยผลักดันการบริการของ Finest Future อย่าง AINO…

โลกเปลี่ยนต้องปรับตัวให้ทัน ก้าวสู่ยุคการเรียนรู้แบบ Learn to Earn

จากการที่โลกกำลังถูกคุกคามด้วยดิจิทัลและ AI ในปัจจุบัน นอกจากผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นแล้ว ยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายบริบท เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มูลนิธิเอสซีจี องค์กรสาธารณกุศลต้นแบบของการพัฒนาคน เชื่อว่าการเรียนรู้ที่จะปรับตัวหรือพัฒนาตนเอง เป็นทางเลือกเดียวที่จะทำให้อยู่รอดได้ในสถานการณ์ที่ผันผวนนี้ ซึ่งปัจจุบันการเรียนรู้มีอยู่มากกว่าแค่ในห้องเรียน เป็น Lifelong Learning หรือ “การเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ” สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกยุค ทุกสมัย มูลนิธิเอสซีจี ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่อยากเห็นทุกคนมี mindset เหล่านี้ จึงสนับสนุนทุนการศึกษาครอบคลุมทั้งในระบบและนอกระบบ รวมทั้งการขยายแนวคิด “LEARN to EARN” เรียนรู้เพื่ออยู่รอด เน้นการเรียนรู้เพื่อมี งานทำ พัฒนาทั้งทักษะวิชาชีพ (Hard skills) และทักษะชีวิต (Soft skills) เพราะเชื่อว่าทุกคนมีคุณค่าและ ศักยภาพในตัวเอง สามารถเผชิญโลกที่เปลี่ยนแปลง โดยใช้การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีความสุขและยั่งยืน  ดีมานด์ซัพพลายที่ไม่ลงตัว โลกการทำงานที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แม้ว่าสถาบันการศึกษาจะพยายามออกแบบหลักสูตรการเรียนที่คาดว่าจะตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน แต่คุณภาพของผู้ที่จบการศึกษามานั้น กลับยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน ทำให้ต้องไปทำงานในตำแหน่งงานที่ต่ำกว่าวุฒิที่จบมา หรือทำงานไม่ตรงสาขาที่เรียนจบมา…

มทร.ธัญบุรี ผุดหลักสูตรตอบโจทย์ตลาดแรงงาน ผลิตวิศวกรพันธ์ุใหม่ เน้น AI ลดโลกร้อน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ร่วมกับเอกชน ผุดหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree) “การประยุกต์ใช้ AI และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านวิศวกรรมสำหรับงานติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องจักรในโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ภายใต้โครงการผลิตบัณฑิตพันธ์ุใหม่ ปี 2567 โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เพื่อผลิตบุคลากรคุณภาพสูง ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานยุค 4.0 โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หลักสูตรดังกล่าวมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในยุคปัจจุบัน เช่น การคำนวณ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การประยุกต์ใช้ AI และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานติดตั้งอุปกรณ์และเครื่องจักร รวมถึงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับการทำงานร่วมกับต่างชาติ ผู้เข้าอบรมจะสามารถระบุแหล่งคาร์บอนฟุตพรินท์ของโครงการ…