นิสิต​ INDA​ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​ โชว์ผลงานนิทรรศการ interactive สุดล้ำในรูปแบบ“สวนดอกไม้ดิจิทัล”

    นิสิต​ INDA​ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​ โชว์ผลงานนิทรรศการ interactive สุดล้ำในรูปแบบ“สวนดอกไม้ดิจิทัล” แสดงค่าความชื้น  PM 2.5 และความถี่เสียงจาก 12 เขตในกรุงเทพฯ    นิสิตชั้นปีที่ 2 หลักสูตรการออกแบบสถาปัตยกรรม (นานาชาติ) หรือ INDA  จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โชว์ไอเดียสุดล้ำกับนิทรรศการ interactive ภายใต้ชื่อ IoT GARDEN  ซึ่งเป็นการผสมผสานความสามารถด้านการออกแบบเข้ากับเรื่องเทคโนโลยียุคดิจิทัลได้อย่างน่าทึ่ง โดยได้รับความร่วมมือจาก AIS ในการนำเอาข้อมูล…

CEA เผยความปลื้มปิติของ “เยาวชนไทยยุคใหม่” ผ่านกิจกรรม ‘ดนตรีและงานศิลป์’

CEA เผยความปลื้มปิติของ “เยาวชนไทยยุคใหม่” ผ่านกิจกรรม ‘ดนตรีและงานศิลป์’ เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ที่ ทีซีดีซี กรุงเทพฯ ถึงกรกฎาคม 2562 ซีอีเอ เปิดพื้นที่ Creative Space ให้เยาวชนไทยโชว์ศักยภาพร้องเพลงเล่นดนตรี ทุกวันเสาร์ ในวาระมหามงคลแห่งรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ได้พร้อมใจจัดกิจกรรมเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและเทิดพระเกียรติในหลากหลายรูปแบบ โดยมีประชาชนทุกภาคส่วนได้ให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ จำนวนมาก นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า เช่นเดียวกับ สำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือCEA หน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและผลักดันเศรษฐกิจประเทศด้วยความคิดสร้างสรรค์ จึงได้จัดกิจกรรม “ศิลปะการจัดวางและการแสดงดนตรี” ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ออกแบบศิลปะจัดวาง “พานพุ่มสไตล์โมเดิร์น” เพื่อจัดแสดงบริเวณภายในศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ (TCDC กรุงเทพฯ) รวมถึงเปิดพื้นที่ให้เยาวชนไทยได้แสดงออกถึงความสามารถด้านดนตรี ทั้งการขับร้องเพลงและเล่นดนตรีแนวอะคูสติก (Acoustics) เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติในโอกาสมหามงคลแห่งรัชสมัย ที่นอกจากเยาวชนจะสามารถแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว…

มหิดลอินเตอร์เปิดบ้านป.โทนานาชาติ MASTER’S DEGREE OPEN HOUSE

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล – MUIC ขอเชิญผู้สนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) และหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (MA) เข้าร่วมงานเปิดบ้านป.โทนานาชาติ MBA-MM MASTER’S DEGREE OPEN HOUSE 2019   ในวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2562 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องจรินทร์ยารัศมิ์ ชั้น 3 อาคารอทิตยาทร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ร่วมรับฟังข้อมูลการเรียนการสอน พร้อมชมสถานที่เรียนและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเองโดยอาจารย์ผู้สอน ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งทางEmail: icgrad@mahidol.ac.th โทร: 02-700-500 ต่อ 4483, 096 685 1334 หรือ Line ID: @muicmaster

อธิการบดีต้อนรับนักศึกษาใหม่สู่ครอบครัว”สวนสุนันทา” ย้ำตระหนักในหน้าที่ มุ่งสู่เป้าหมายสำคัญของชีวิต

วันที่ 18 กรกฎาคม 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยกองพัฒนานักศึกษา จัดพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2562 ณ อาคารศูนย์สุขภาพและกีฬาสวนสุนันทา โดยมี รศ.ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย อธิการบดี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ร่วมต้อนรับ ณ อาคารศูนย์สุขภาพและกีฬาสวนสุนันทา โดยอธิการบดีกล่าวแสดงความห่วงใยต่อนักศึกษาใหม่โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “ขอให้นักศึกษาทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เสมือนหนึ่งครอบครัวเดียวกันในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และที่สำคัญขอให้ทุกคนทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด โดยเฉพาะการศึกษาเล่าเรียนซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของชีวิต นอกจากนี้ อธิการบดียังได้ฝากข้อคิดให้กับนักศึกษาใหม่ในครั้งนี้ว่า “ขอให้ทุกคน พุ่งเป้าไปที่ดวงจันทร์ แต่ถ้าพลาดหวัง เราก็ยังคงอยู่ท่ามกลางดวงดาว” ………………………………………

ครั้งแรกของไทย! สจล. – ศรีปทุม  ม.รัฐ – เอกชน  จับมือ ร่วมปั้นหลักสูตร สองปริญญา

ม.ศรีปทุม MOU สจล. เปิดหน้าใหม่วงการศึกษาไทย มหาวิทยาลัยรัฐ – เอกชน จับมือร่วมสร้างหลักสูตร สองปริญญา  การตลาดดิจิทัล+วิศวกรรมอุตสาหการและระบบการจัดการเชิงดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) ผลิตบัณฑิตยุคดิจิทัล ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) และ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(KMITL) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านหลักสูตร การตลาดดิจิทัล และ วิศวกรรมอุตสาหการและระบบการจัดการเชิงดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) (DMkt SPU & IEDMS KMITL) โดยมี ผศ.ดร.รวิภา อัครจินดานนท์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ ม.ศรีปทุม พร้อมด้วย รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.ร่วมลงนามเป็นสักขีพยานในการ MOU ในครั้งนี้…

มข.ผนึก5คณะวิจัยสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม (อภ.)

 รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า   มหาวิทยาลัยขอนแก่นลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ ที่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีในรูปแบบยาเตรียมที่ทันสมัย ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายที่ใช้งานง่าย มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับโรคต่างๆ มากขึ้น เช่น ยาเหน็บทวารหนัก แผ่นแปะซึมผ่านผิวหนัง และแผ่นฟิล์มเกาะติดเนื้อเยื่อในช่องปาก รวมถึงวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรม ศึกษาความคงสภาพ ศึกษาพรีคลินิกและศึกษาคลินิกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ ตลอดจนการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นได้ใช้ผลิตภัณฑ์สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ที่มีคุณภาพมาตรฐานเมดิคัลเกรด ทั้งนี้  ม.ขอนแก่นมีการติดตามข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับกัญชามาสักระยะแล้วราว 4-5 ปี สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ม.ขอนแก่น ก็มีความพร้อม เพราะมีคณะที่เกี่ยวข้องที่จะมาร่วมมือในการดำเนินงานถึง 5 คณะ ทั้งคณะเกษตรศาสตร์ ที่จะเข้ามาดูเรื่องของการปลูกและพัฒนาสายพันธุ์ คณะเภสัชศาสตร์ ในการพัฒนาสารสกัดกัญชารูปแบบใหม่ๆ คณะวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยสกัดและวิจัยสารสำคัญของกัญชาที่นอกเหนือไปจากสารทีเอชซีและซีบีดี คณะแพทยศาสตร์…

หนุนนักศึกษาปฏิบัติเก่ง-ทักษะภาษาพร้อม ดันยอดสมัครเรียนมทร.ธัญบุรีขยับเกินเป้า

ตามที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือ ทีแคส ปีการศึกษา 2562 รอบที่ 1-5 ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีที่นั่งในมหาวิทยาลัยต่างๆ เหลือจำนวนมากกว่า 2 แสนที่นั่ง โดยเฉพาะสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นักเรียนให้ความสนใจสมัครเข้าเรียนค่อนข้างน้อยนั้น นายวิรัช โหตระไวศยะ รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า ภาพรวมการรับทีแคสรอบ 1-5 ของ มทร.ธัญบุรี มีนักเรียนเลือกสมัครเรียนที่ มทร.ธัญบุรี เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน มีการผลิตบัณฑิตที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง และตรงความต้องการของตลาด…

“36กลุยุทธ์ซุนวู”การใช้สติปัญญาเพื่อเอาชนะอุปสรรค(1)

“รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” คำกล่าวนี้ ซุนวู เป็นผู้เขียน อันเป็นตำราพิชัยสงคราม ที่ถือว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหารอันมีอิทธิพลมากของจีน ปัจจุบันยุทธศาสตร์ในตำราของซุนวู ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งในแวดวงธุรกิจและแวดวงการเมือง “ซุนวู” เป็นชาวเล่ออาน อยู่ในแคว้นฉี ในสมัยปลายของยุคซุนชิว เป็นยุคเดี่ยวกับขงจื๊อ (ก่อนคริสตศักราช ประมาณ 551 – 497 ปี) ต่อมาแคว้นฉีเกิดการกบฏจราจล ซุนวูจึงหลบหนี้เข้าไปอยู่ที่แคว้นอู๋ และได้เข้ารับราชการเป็นแม่ทัพของแคว้นอู๋ในเวลาต่อมา “36กลุยุทธ์ซุนวู” ถือเป็นการใช้สติปัญญาในการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ดังนั้น “WLC ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อประเทศจีน” จึงได้นำมาเผยแพร่ให้นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจได้ศึกษาติดตาม เพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตการเรียนหรือการทำงานได้เป็นอย่างดี……

อาซาฮีมอบ 6 ทุนวิจัยให้ 6 งานวิจัยเด่น มจธ.

นักวิจัยไทย 4 สาขาปลื้มได้รับทุนมูลนิธิกระจกอาซาฮี จากประเทศญี่ปุ่น  มจธ.เผยทุกงานวิจัยแสดงกึ๋นนักวิจัยไทยที่สร้างคุณประโยชน์ให้ชาติและส่งเสริมความสัมพันธ์ให้สองสถาบัน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมูลนิธิกระจกอาซาฮี (The Asahi Glass Foundation -AF) ประเทศญี่ปุ่นติดต่อกันมาแล้วปีนี้เป็นปีที่ 8 ซึ่งถือเป็นทุนวิจัยที่ให้ความสำคัญกับวงการวิทยาศาสตร์ของประเทศ โดยในปี 2562 มีนักวิจัย มจธ. ได้รับทุน จำนวน 6 คน รวมทุนที่ได้รับจำนวน 5 ล้านเยน หรือประมาณ 1,445,000 บาท สาขาวัสดุศาสตร์ จำนวน…

ส่องโปรไฟล์! บัณฑิตป้ายแดง วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ กับ 6 สิ่ง ที่วิศวกรยุคใหม่ต้องมี เพราะเส้นทางสู่ความสำเร็จต้อง “เป็นมากกว่าวิศวกร” 

              อาชีพ “วิศวกร” ยังคงเป็นสายงานที่มีความต้องการสูงโดยเฉพาะประเทศไทย โดยคิดเป็น 13.42% ของความต้องการแรงงานทั้งประเทศ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้ภาคอุตสาหกรรมเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในแต่ละปีมีคนรุ่นใหม่มุ่งสู่ถนนสายนี้จำนวนมาก โดยที่ผ่านมาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ได้ผลิต “ว่าที่วิศวกร” เพื่อให้ทันต่อความต้องการบุคลากรด้านวิศวกรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี TSE มีบัณฑิตที่จบการศึกษาไปแล้วทั้งสิ้น 5,517 คน ให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ จึงอยากใช้โอกาสนี้แบ่งปันเรื่องราวสุดเรียลของบัณฑิตป้ายแดง กับ 6 มุมมองที่สะท้อนตัวตนของ TSE บัณฑิตต้อง “เป็นมากกว่าวิศวกร”    ซึ่งได้เก็บเกี่ยวตลอดเส้นทางของการเป็นนักศึกษา และน่าจะมีประโยชน์กับคนรุ่นใหม่ที่อยากก้าวสู่เส้นทางสาย “วิศวกร” เป็นวิศวกรรุ่นใหม่ต้องใส่ใจสังคม               เริ่มต้นกันที่มุมมองของ นางสาวณัฐชยา สุทธิกิตติบัตร (มิลค์) บัณฑิตจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เล่าว่า ตลอดระยะเวลา 4 ปี ไม่ได้มีแต่ความรู้ด้านวิชาการ แต่ TSE ยังสอนให้มีความคิดที่ดีในหลายเรื่อง เช่น…