นักวิทยาศาสตร์พันธุ์ใหม่ ต้องไม่รู้แค่เรื่องวิทย์! วิทย์ฯ มธ. ดันไอเดีย “SCI+BUSINESS” พร้อมเปิดตัววิชาใหม่ปั้นนักวิทย์พร้อมไอเดียธุรกิจ

เมื่อพูดถึงวิทยาศาสตร์หลายคนคงทราบกันอยู่แล้วว่าสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา ที่เกิดขึ้นแทบทั้งหมดล้วนมาจากวิทยาศาสตร์แทบทั้งสิ้น ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า หลอดไฟ รถยนต์ คอมพิวเตอร์ เครื่องบิน รถไฟ ฯลฯ เมื่อวิทยาศาสตร์กลายเป็นสิ่งที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน วิทยาศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในหลากหลายด้าน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้การพัฒนาให้บุคคลมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญ ให้พร้อมนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยตรงต่อการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม ทั้งนี้การเรียนวิทยาศาสตร์ ไม่ได้หมายความว่าสามารถทำงานแค่ในห้องแลปหรือเป็นได้แค่นักวิจัยเท่านั้น ปัจจุบันการเรียนวิทยาศาสตร์สามารถต่อยอดไปสู่การทำธุรกิจได้มากมาย เหมือนที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ที่มุ่งเน้นการบ่มเพาะและผลิตนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ กล้าคิด-กล้าพัฒนานวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ และไม่ปิดกั้นศักยภาพ ผ่านการเรียนการสอนแบบ SCI+BUSINESS ที่เน้นการผสมผสานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่…

ธรรมศาสตร์ ปลุกไอเดีย “จากบ่อบำบัดความกระหาย สู่ความหลากหลายทางการเรียนรู้” สะท้อนความคิด “ปรีดี พนมยงค์” ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของสังคมไทย

พีบีไอซี มธ. ผลักดัน โมเดลการเรียนรู้ระดับโลก ผ่าน 3 หลักสูตร สุดอินเตอร์ ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน – ไลฟ์สไตล์ผู้เรียนยุคใหม่ ท่ามกลางยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองครั้งสำคัญของประเทศไทย หลังการเลือกตั้งที่ไม่ได้เกิดขึ้นมานานกว่า 5 ปี คนไทยมีความหวังที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะความหวังที่ฝากไว้กับคนรุ่นใหม่ ที่กำลังก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน ในขณะที่คนรุ่นเก่าจำนวนไม่น้อย ก็ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนออกจากตำแหน่งสำคัญๆ ของประเทศไปตามวาระ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ได้บ่งบอกว่าเป็นสัญญาณที่ดีหรือไม่ แต่เป็นสัญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ หนึ่งในภาคส่วนที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คือ“สถาบันการศึกษา” ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการผลักดันคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตบุคลากรคุณภาพ ออกมารับใช้ประเทศชาติอยู่เสมอ โดยเฉพาะบุคคลสำคัญในวงการการเมืองไทย ที่มักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์…

อาชีวะร่วมมือมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ผลิตมือกล

อาชีวะร่วมมือมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ผลิตมือกล (Bionic Hand) เพื่อยกระดับคุณภาพการดำรงชีวิตผู้พิการทางมือ ดร. ธวัชชัย อุ่ยพานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษารู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้ทำความร่วมมือกับมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่งเป็น องค์ประธานมูลนิธิฯ ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีภารกิจหลักคือการจัดการศึกษาวิชาชีพและผลิตกำลังคนระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและให้ได้มาตรฐานระดับสากล พันธกิจสำคัญประการหนึ่งคือ การวิจัย สร้างนวัตกรรม จัดการองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่ง ในการสนับสนุนการดำเนินโครงการมือเทียม เพื่อสมาชิกมูลนิธิสายใจไทย ทั้งนี้ วิทยาลัยการอาชีพแกลง…

สอศ.เตรียมพร้อมอบรมบุคลากรเพื่อเปลี่ยนผ่านผู้บริหาร

สอศ.เตรียมพร้อมอบรมบุคลากรเพื่อเปลี่ยนผ่านผู้บริหาร ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา    (สอศ.) มีนโยบายในการมอบอำนาจการบริหารงานแก่ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด เพื่อเป็นการลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานให้เกิดความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการมอบอำนาจ ซึ่งเมื่อผู้บริหารสถานศึกษาได้เกษียณอายุราชการหรือมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งจะต้องมีการส่งมอบงานให้แก่ผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา จึงได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมการบริหารสถานศึกษาระหว่างการเปลี่ยนผ่านผู้บริหารขึ้น เพื่อให้การส่งมอบงานระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาที่เกษียณอายุราชการกับผู้รักษาการในตำแหน่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องตามระเบียบที่กำหนด ทั้งนี้ ผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องบริหารจัดการภายในสถานศึกษาด้วย        การวางกลยุทธ์ การจัดการองค์กรและใช้ความเป็นผู้นำการกระตุ้น จูงใจ และสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรในสถานศึกษาทุ่มเททำงานเพื่อบรรลุศักยภาพ เพื่อให้การวางแผนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ทั้งด้านงบประมาณ การเงินและพัสดุ การบริหารบุคลากร อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้มีการอบรมซักซ้อมและเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการรับส่งมอบงานระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ที่เกษียณอายุราชการกับผู้รักษาการในตำแหน่งให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง และระดมความคิดเห็น วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา รวมทั้งสร้างความรู้…

อาชีวะโรงเรียนร่วมพัฒนา

อาชีวะโรงเรียนร่วมพัฒนา    ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา(Partnership School Project) ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี ซึ่งร่วมมือกับบริษัทในเครือ เซ็นทรัล กรุ๊ป และ กระทรวงศึกษาธิการ โดย ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี ได้นำเสนอผลงานความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ให้เลขาธิการฯและคณะผู้บริหารของบริษัทในเครือ เซ็นทรัล กรุ๊ป คุณพิชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารฯ รับทราบ พร้อมทั้งได้พาเยี่ยมชมความสำเร็จจากการจัดการเรียนการสอนที่เกิดจากความร่วมมือของสาขาวิชานำร่อง 3 สาขาประกอบด้วย 1) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์  2) สาขาวิชาการโรงแรมและ 3) สาขาวิชาแฟชั่น/เทคโนโลยีแฟชั่นและสิ่งทอ รายงานโดย#ทีมประชาสัมพันธ์วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี#UDVCPR

อาชีวะเอกชนเดินหน้าเปิดสอนระดับปริญญา

อาชีวะเอกชนเดินหน้าเปิดสอนระดับปริญญา ดร.บุญรักษ์  ยอดเพชร  เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้จัดให้มีการประชุมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดการเรียนการสอนระดับปริญญา เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2562 ณ ห้องประชุมอาคารสำนักงานสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ1 จังหวัดหนองคาย จากการที่ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานจัดทำประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การรับสถานศึกษาอื่น หรือสถานประกอบการเข้าสมทบในสถาบันการอาชีวศึกษา เพื่อจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (ทล.บ) โดยที่ประชุมได้มีการยกร่างประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การรับสถานศึกษาอื่น หรือสถานประกอบการเข้าสมทบในสถาบันการอาชีวศึกษา เพื่อจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสามารถเข้าร่วมสมทบ เพื่อจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (ทล.บ)  ซึ่งได้ดำเนินการยกร่างเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการดำเนินการต่อจากนี้จะเสนอร่างประกาศฯ ดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชน  พร้อมกับเสนอต่อคณะอนุกรรมการการอาชีวศึกษาด้านกฎหมายตามลำดับเพื่อพิจารณาร่างประกาศฯ จากนั้น นำเสนอต่อคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ…

ยอดรับ TCAS4 มทร.​ธัญบุรี​ ทะลุเป้า “วิศวะ-คหกรรม-โลจิสติกส์” ครองสาขายอดฮิต

นายวิรัช โหตระไวศยะ รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เผยว่า จากการเปิดรับสมัครนักศึกษาทีแคส รอบ 4 ผลการรับสมัครเป็นไปตามแผนการรับ ไม่ได้มีปัญหากระทบแผนการรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2562 โดยเป็นไปตามเกณฑ์ที่ทาง มคอ. โดยแผนรับรวม ตาม มคอ.กำหนดให้มทร.ธัญบุรีรับนักศึกษา จำนวน 5,960 คน ขณะนี้มีนักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ทีแคส รอบที่ 1 – 3 โควตา ปวช./ปวส. จำนวน 5,143 คน…

กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ชวนเยาวชน–นักศึกษา ร่วมค้นหากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้สังคมไทย   กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เปิดตัวโครงการ “กำหนดกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยร่วมกับ “คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” และ “มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี” ชวนเยาวชน นิสิต นักศึกษา ร่วมกันจัดทำแผนการสื่อสารเพื่อสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างและขยายความร่วมมือในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม   ทั้งภายในสถาบันการศึกษา และชุมชนภายนอก ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การมีพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำ “โครงการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ขึ้น เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากเยาวชน นิสิต นักศึกษา และเปิดโอกาสให้คณะอาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันจัดทำแผนการสื่อสารเพื่อสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในพื้นที่เป้าหมายภายในระยะเวลา 90 วัน เพื่อร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย และขยายผลไปสู่ชุมชนโดยรอบ ภายใต้แนวคิด     การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม…

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการมหาวิทยาลัยคริสเตียน    

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการบริษัท อีซูซุ ตั้งเซียฮวด นครปฐม จำกัด กับ คณะสหวิทยาการ  มหาวิทยาลัยคริสเตียน        ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุลักษมณ์ ภัทรธรรมมาศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน และนายพีรวัฒน์        เวศย์วรุฒม์ กรรมการผู้จัดการบริษัท อีซูซุ ตั้งเซียฮวด นครปฐม จำกัด ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ บริษัท อีซูซุ ตั้งเซียฮวด นครปฐม จำกัด      …

สจล. ก้าวสู่ปีที่ 60 เตรียมปั้นนักศึกษาและคณาจารย์ สู่การเป็นนวัตกรเคียงคู่สังคมไทย

สจล. ก้าวสู่ปีที่ 60 เตรียมปั้นนักศึกษาและคณาจารย์ สู่การเป็นนวัตกรเคียงคู่สังคมไทย เสนอ 6 แนวคิดการพัฒนานักศึกษาสู่บัณฑิตที่สมบูรณ์แบบ ยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและไม่หยุดนิ่ง (Era of Disruption) กำลังจะกลืนกินศักยภาพและความเป็นตัวเรา ไปพร้อมกับกระแสของเทคโนโลยีดิจิทัล หากเราไม่เท่าทันกระแสความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเหล่านี้ ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้วยลักษณะเฉพาะตัวของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ที่ประกอบด้วย ความรวดเร็ว (Speed) ความไร้พรมแดน (Transborder) และความเชื่อมโยงพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Interdependence) การลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ (Time and Space) ซึ่งประเทศไทยเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์…