องค์กรครูร้อง”บิ๊กอุ้ม” มติ กพฐ.เปลี่ยนแปลงหลักสูตร จาก 8 กลุ่มสาระเหลือ”อ่าน-คิด-ชีวิต”

14 มิถุนายน 2567  นายสานิตย์ พลศรี นายกสมาคมครูชนบทจังหวัดชัยภูมิ เปิดเผยว่า ตนได้ทำหนังสือถึง พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ (รมว.ศธ.) ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องที่สมาคมครูชนบทจังหวัดชัยภูมิได้รับแจ้งเป็นการภายในจากข้าราชการระดับสูงในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แสดงความห่วงใยว่า คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้มีมติเห็นชอบว่าเด็กระดับชั้นประถมศึกษา ต้องฝึกอ่าน คิด และมีชีวิตที่สมบูรณ์ โดยเปลี่ยนแปลงหลักสูตรจากเดิมเคยเรียน 8 กลุ่มสาระ (8 รายวิชา) เป็นบูรณาการให้เหลือเรื่องอ่าน เรียนคิด และเรียนชีวิต รวมทั้งให้ยกเลิกระบบคะแนนในการตัดเกรด เปลี่ยนเป็นประเมินเพื่อพัฒนาว่าผ่านหรือไม่ผ่านเท่านั้น นายสานิตย์ กล่าวว่า คณะผู้แจ้งเรื่องนี้มีความเป็นห่วงและห่วงใยระบบการจัดการตามนัยสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย…

สพฐ. ย้ำปี 65 โรงเรียนต้อง ‘ซ่อม เสริม สร้าง’ ให้นักเรียนเป็นรายบุคคล — 25 พฤษภาคม 2565

  เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เผย หลังจากผ่านการเปิดเรียนแบบออนไซต์มาครบ 1 สัปดาห์แล้ว พบว่าทุกฝ่ายร่วมมือกันในการสร้างความปลอดภัยในโรงเรียนอย่างมาก โดย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ออกมาเน้นย้ำความปลอดภัยของสถานศึกษา โดยขอความร่วมมือจากผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ทำหน้าที่ดูแลนักเรียนในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสังคม ร่างกาย เพื่อให้เด็กมาเรียนในโรงเรียนได้อย่างมีความสุข พร้อมกับขอให้โรงเรียนดูแลค่าใช้จ่ายเป็นรายบุคคลด้วย ว่าเด็กและครอบครัวมีภาวะยากลำบากหรือไม่ เพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไป . นายอัมพรกล่าวต่อว่า…

สพฐ.ส่งหนังสือ แจ้งสพท. เตรียมรับมือฤดูฝนน้ำท่วมโรงเรียนฉับพลัน — 24 พฤษภาาคม 2565

  เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565  นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) ได้ออกมาให้สัมภาษาณ์เรื่องการเตรียมรับมือน้ำท่วมที่โรงเรียนเฉียบพลัน สรุปได้ว่า ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 กรมอุตุนิยมวิทยามีประกาศ เรื่อง การเริ่มต้นฤดูฝนของประเทศไทยในปีนี้ คาดว่าประเทศไทยจะสิ้นสุดฤดูร้อน และเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูฝนวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 เนื่องจากมีฝนตกชุกและต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ โดยปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปีนี้จะมากกว่าค่าปกติเล็กน้อย แต่จะน้อยกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ในช่วงเดือน สิงหาคมและกันยายน เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด…

สพฐ. แจงประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ “กฎกติกาในโรงเรียน” — กฎกติการต้องเกิดจากความพึงพอใจใน 3 ฝ่าย

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้พูดถึงกรณีที่กำลังตกเป็นประเด็นในสังคมเกี่ยวกับกฎกติกาบางประการของโรงเรียนที่เป็นกฎบังคับซึ่งไม่เหมาะสมหรือก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ โดย ดร.อัมพรกล่าวว่า ได้มีการติดต่อประสานงานกับทุกโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เกี่ยวกับการเปิดเรียนแบบ On site ในวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ ซึ่งเน้นย้ำอย่างชัดเจนเกี่ยวกับกฎกติการในโรงเรียน ทั้งนี้ต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือจากผู้ปกครอง นักเรียน และอาจารย์ทุกท่านจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการทำงาน และต้องมีกติกาเดียวกันทั้งหมดแต่อาจแตกต่างกันได้ในแต่ละบริบทพื้นที่ โดยเนื้อหาที่ทาง สพฐ. ได้ทำการพูดคุยคือ ครูจะต่อทำอย่างไรต่อนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย อุปกรณ์การเรียน การมาโรงเรียน…

กพฐ.เห็นชอบให้ผอ.โรงเรียนตัดสินใจสอบ-ไม่สอบปลายภาคเทอม 1 เอง

ที่ประชุม กพฐ. เห็นชอบให้ ผอ.โรงเรียน ตัดสินใจสอบ-ไม่สอบปลายภาคเทอม 1 พร้อมปรับวิธีประเมินผล แล้วสอบปลายภาคในเทอม 2 แทน เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุม กพฐ.ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ว่า สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เสนอการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 โดยที่ประชุมให้ความเห็นว่าการเรียนการสอนในสถานการณ์นี้ ควรให้อิสระกับโรงเรียนในการนับเวลาเรียน จัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลนักเรียน…

รักษาการประธาน กพฐ. ค้าน! นักวิชาการเสนอหยุดเรียน 1 ปี 

จากกรณีที่มีนักวิชาการเสนอให้หยุดการเรียนการสอน 1 ปี เนื่องจากถ้าต้องเรียนออนไลน์ต่อการเรียนจะไม่มีประสิทธิภาพ และไม่มีคุณภาพ นั้น รักษาการประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการหยุดเรียนทั่วประเทศ เราควรใช้โอกาสนี้สร้างลักษณะนิสัยเกี่ยวกับการนำตนเองไปสู่การเรียนรู้ของเด็ก (SDL) สำหรับเด็กกลุ่มหนึ่งที่สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างดีในยุค Digital และครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาจะต้องเรียนรู้การปรับตัวทำงานในยุค New normal ของการจัดการศึกษา ถ้าคิดจะหยุดอยู่กับที่แล้วรอเปิดสอนแบบเดิมอาจจะหมดยุคไม่ทันสถานการณ์ ส่วนวิชาที่เป็นทักษะปฏิบัติ ตนยอมรับว่าอาจจะมีปัญหาบ้างแต่ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้ ซึ่งต้องปรับลำดับเนื้อหาให้เรียน Online ส่วนที่เป็นทฤษฎีไปก่อน แล้วเมื่อสามารถเรียน Onsite ได้ก็มาปฏิบัติอย่างเดียว หรือถ้าจำเป็นก็ให้มาปฏิบัติครั้งละ…

เลขาธิการกพฐ.เผย รอมติรับนร.ม.1 และ ม.4  ออนไลน์ 17 เม.ย. นี้

เลขาธิการกพฐ. เผยรอบอร์ดกพฐ.เคาะมติ รับนักเรียนม.1 และม.4 ทางออนไลน์ 17 เม.ย. นี้ ส่วนการรับนักเรียนในระดับอนุบาล-ประถมศึกษา และโรงเรียนกลุ่มวัตถุประสงค์พิเศษ ที่ดำเนินการไปแล้วให้ใช้วิธีการรับสมัครและรายงานตัวแบบออนไลน์แทน       เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2563 ทางเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมรับเข้านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 4 ประจำปี 2563 ว่าขณะนี้อยู่ในช่วงการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ (COVID-19) โดยในวันที่ 17 เมษายนนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน…

เตรียมปรับการรับนักเรียนปี 63 ใหม่ผ่านระบบออนไลน์ ชี้ 1 เม.ย.ได้ข้อสรุป

เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ตนได้ประชุมคณะทำงานรับนักเรียนประจำปีการศึกษา 2563 หลังจากที่มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ปิดสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อเป็นมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มีหนังสือถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตให้เลื่อนการรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างวันที่ 21-25 มี.ค 2563 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างวันที่ 21-22 มี.ค. 2563 ส่วนการสอบคัดเลือกชั้นม.1 และ ม.4 ระหว่างวันที่…

บอร์ด กพฐ.ยกเครื่องหลักสูตรใหญ่ ผุด กก.วิเคราะห์เนื้อหา-มุ่งสมรรถนะเด็ก เล็งทดลองปี’63 ก่อนใช้จริงทั่ว ปท.

นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กพฐ.เมื่อเร็วๆ นี้ มีมติตั้งคณะกรรมการวิเคราะห์พัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น เนื่องจากเห็นว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2550 มีปัญหา เพราะถูกใช้มากว่า 10 ปีแล้ว บางหลักสูตรมีเนื้อหามากเกินไป และเนื้อหาบางอย่าง ไม่ได้เป็นเนื้อหาที่เน้นการพัฒนาเด็กในเชิงสมรรถนะ อีกทั้ง ปัญหาที่พบในขณะนี้คือ ครูยังทำการสอน และออกข้อสอบที่เน้นเนื้อหามากเกินไป ซึ่งเรื่องเหล่านี้ต้องค่อยๆ เปลี่ยนทัศนคติของสถานศึกษา และครูผู้สอน ว่าครูต้องเน้นสอนเชิงสมรรถนะมากขึ้น ทั้งนี้ ยังพบตัวอย่างจากประเทศที่ปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอน เช่น มาเลเซีย ที่ประกาศว่าจะไม่มีการสอบกลางภาค และปลายภาค เป็นต้น…

รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ เผย “สพฐ.ชะลอคูปองอบรมครูปี 62 เหตุขาดงบประมาณ”

เมื่อวานนี้ (15 ส.ค.) รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่าได้หารือกับ ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการ กพฐ.เกี่ยวกับโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร หรือ คูปองครู โดยปี 2562 นี้ มีแนวโน้มว่า อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากติดปัญหาเรื่องงบประมาณที่ยังไม่สามารถเปิดจ่ายได้ ต่อเนื่องติดขั้นตอนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรขณะเดียวกันสพฐ.ยังกันเงินส่วนหนึ่งไปจ้างครูธุรการเพิ่ม เพื่อลดภาระงานให้ครูมีเวลาสอนมากขึ้น เป็นประโยชน์กับเด็กและโรงเรียน ส่วนการอบรมครูก็อาจปรับให้ศึกษานิเทศก์ เป็นผู้ดำเนินการเอง เพราะเป็นงานหลักของศึกษานิเทศก์อยู่แล้ว สำหรับปีงบฯ 2563  นั้น สพฐ. ได้ตั้งงบฯสำหรับโครงการพัฒนาครู ไว้แล้ว…